“ฮุน เซน” บนทางวิบาก สู่ ฐานะผู้นำ และครองตำแหน่งนายกฯ กัมพูชาได้นานถึง 38 ปี

ฮุน เซน และเจ้ารณฤทธิ์ (Photo by EMMANUEL DUNAND / AFP)

ฮุน เซน :
บนทางวิบากสู่ฐานะผู้นำ

สมเด็จฮุน เซน เคยผ่านเส้นทางชีวิตมายาวไกลจากลูกชาวนาจังหวัดกำปงจาม ต้องเร่ร่อนออกจากบ้านตั้งแต่อายุ 13 ปี อาศัยกินอยู่ในวัด และเรียนหนังสือด้วยความยากลำบาก

ในปี 2513 เมื่ออายุ 18 ปีเข้าร่วมกองทัพปฏิวัติ (เขมรแดง) กับเจ้านโรดมสีหนุ (อดีตนายกรัฐมนตรีกัมพูชาในขณะนั้น) แย่งชิงอำนาจจาก นายพลลอน นอล (Lon Nol) ซึ่งมีสหรัฐอเมริกาหนุนหลัง อันเป็นการร่วมขบวนการปลดแอกจากมหาอำนาจ ทำให้เขมรแดงได้ครองประเทศในปี 2518-2521

ปี 2520 หนีการไล่ล่าของเขมรแดงไปอยู่เวียดนาม ในปี 2522 เมื่อทหารเวียดนามเข้ายืดครองกัมพูชา ฮุน เซน ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศ ปี 2525 ได้เป็นรองนายกรัฐมนตรีและในปี 2528 ก็ได้เป็นนายกรัฐมนตรีด้วยวัยเพียง 33 ปี

ฮุนน เซน เป็นผู้กล้าที่มีประสบการณ์การสู้รบมาอย่างโชกโชน เป็นผู้ชาญฉลาดสามารถใช้กองกำลังเวียดนามเป็นเครื่องหนุนส่งให้ตนเองมีอำนาจปกครองกัมพูชาได้อย่างยาวนาน

ผ่านการต่อสู้ท้าทายกับกลุ่มชนชั้นศักดินาและกองกำลังทหารที่เคยแย่งชิงอำนาจหลายครั้ง เป็นผู้นำพรรคประชาชนกัมพูชา หรือ CPP ที่ครองตำแหน่งนายกรัฐมนตรีกัมพูชามานานถึง 38 ปี และประกาศจะลงจากตำแหน่งนายกฯ พร้อมถ่ายโอนอำนาจให้ ฮุน มาเนต บุตรชายคนโต ในวัย 71 ปี

แต่ในอดีตนั้นเคยประกาศเป็นนายกฯ ไปจนถึงอายุ 90 ปี

ฮุนเซน ในปี 1984 (Photo by Georges BENDRIHEM / AFP)

ผูกขาดทางเศรษฐกิจ

ครอบครัว ฮุน เซน และผู้บริหารพรรคซีพีพีครองที่ดิน และทรัพยากรต่างๆ มากมาย เป็นนายหน้าค้าประโยชน์จากการท่องเที่ยว และการลงทุน จากนานาชาติที่หลั่งไหลสู่กัมพูชา รวมทั้งจากนักลงทุนชาวไทย

อำนาจการปกครองถูกแปลงสภาพนำมาใช้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ในเชิงธุรกิจจากคนในชาติและคนต่างชาติ เช่น การซื้อขายตำแหน่ง การเลื่อนชั้นบรรดาศักดิ์ของผู้คน การแปลงสัญชาติให้กับชาวต่างชาติ และที่สำคัญ คือ การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์จากการผูกขาดสัมปทานกิจการต่างๆ ในกัมพูชา อันเป็นช่องทางสร้างความมั่งคั่งให้กับตนเองและพรรคพวกของผู้นำคนนี้

กลยุทธ์ทางการเมืองกึ่งเชิงการรบ ถูกนำมาใช้กับผู้ใดก็ตามที่คิดหมายท้าทายอำนาจของผู้นำ เป็นที่ร่ำลือกันว่า ขบวนการเผาสถานทูตไทย และทำลายสถานประกอบการทางธุรกิจของคนไทยในกรุงพนมเปญในปี 2546 คือตัวอย่างหนึ่งในเกมอันแยบยลสำหรับการสยบนักธุรกิจต่างชาติในกัมพูชาที่เคยคิดท้าทายอำนาจของ ฮุน เซน

และเป็นวีธีการตีเมืองขึ้นทางธุรกิจที่ได้ผลชะงัดจนทุกฝ่ายต้องศิโรราบให้กับผู้นำเลือดนักรบผู้นี้

ธุรกิจที่แยกไม่ออกจากการเมือง
“แปรศัตรูเป็นมิตร”

การเลือกตั้งกัมพูชา ปี 2536 (เป็นการเลือกตั้งที่สหประชาชาติเป็นผู้สนับสนุนตามกระบวนการสันติภาพ หลังจากกัมพูชาต้องเผชิญสงครามกลางเมืองมานาน จนกระทั่งกลุ่มเขมรแดงล่มสลาย) พรรคฟุนซินเปกนำโดยเจ้ารณฤทธิ์ “นโรดม รณฤทธิ์” ชนะเลือกตั้ง

แต่ “ฮุน เซน” ไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งนี้ ต่อมามีการเจรจาต่อรองจน “ฮุน เซน” ยอมรับดำรงตำแหน่งนายกฯ ร่วมกับเจ้ารณฤทธิ์ ถือเป็นครั้งแรกในกัมพูชาที่มีนายกรัฐมนตรีถึงสองคน

จนกระทั่งภายหลังทั้ง 2 ขัดแย้งกัน จนเกิดรัฐประหารในปี 2540 เพื่อโค่นล้มเจ้ารณฤทธิ์ โดยฮุน เซนได้รวบอำนาจไว้แต่ผู้เดียว

อย่างไรก็ตาม เจ้ารณฤทธิ์พยายามกลับมามีอำนาจอีกหลายครั้ง ระหว่างที่ทั้งสองขับเขี้ยวกันอยู่

พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งมีธุรกิจหลายอย่างที่เข้าไปลงทุนในกัมพูชา โดยเฉพาะกิจการด้านการสื่อสารที่มีมูลค่าสูง เป็นผู้ทรงอิทธิพลที่เคยถูกตั้งข้อสงสัยว่าเข้าไปมีส่วนในความพยายามโค่นล้มรัฐบาล ฮุน เซน ในช่วงปี 2540

จนกระทั่งถูกลบเหลี่ยมด้วยเหตุการณ์มวลชนเขมรบุกเผาบริษัทชินวัตร เทเลคอมมูนิเคชั่น สาขาพนมเปญ ในช่วงการจลาจลเผาสถานทูตไทยในปี 2546

หลังจากนั้นก็กลับสำหันมาใช้ยุทธวิธี “แปรศัตรูเป็นมิตร” สานสร้างสัมพันธไมตรีกับผู้นำอันเป็นการยอมรับความจริงว่า ผู้ยิ่งใหญ่แห่งกรุงพนมเปญผู้นี้ได้วางรากฐานการเมืองการรวบรวมกองกำลัง การรวมกลุ่มขั้วอำนาจ และการสร้างความนิยมจากประชาชนกัมพูชาไว้อย่างแน่นหนา มั่นคงจนยากที่ใครจะต่อกรได้กัมพูชาแทน

เมื่อความสัมพันธ์ระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณกับฮุน เซน แน่นแฟ้นขึ้น มูลค่าการลงทุนของตระกูลชินวัตรในกัมพูชาก็เพิ่มพูนขึ้นอีกหลายเท่าตัว

ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 ที่สนามบินปักกิ่ง พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ทรงต้อนรับนายฮุน เซน ด้านหลังคือเจ้ารณฤทธิ์ (Photo by MIKE FIALA / AFP FILES / AFP)
เหตุการณ์รัฐประหารเมื่อ พ.ศ. 2540 (Photo by DAVID VAN DER VEEN / AFP)
ฮุน เซน และพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี แห่งกัมพูชา (Photo by AFP)
Cambodian Prime Minister Hun Sen (R) looks at the driver of Thai Prime Minister Thaksin Shinawatra during a round of golf, 14 November 2001, in Bangkok. (Photo by AFP)
การจลาจลเผาสถานทูตไทยในปี 2546