เปิดงบ ย้อนหลัง5 ปีองค์กรอิสระ ในช่วงประยุทธ์ก้าวขึ้นมาผู้นำ

ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี มีรายงานการประกาศถึงงบที่แต่ละกระทรวงที่ได้เงินสนับสนุนจากรัฐบาลทำให้มีหลายประเด็นเกี่ยวกับการเพิ่มจำนวนงบในแต่ละปี ซึ่งกระทรวงหลายหน่วยงานกำลังถูกจับตามองถึงการปฏิบัติงานหรือการวางรากฐานของความมั่นคงของชาติในการใช้งบประมาณที่ได้มาจากภาครัฐนำมาพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น หน่วยงานที่ถูกจับตามองจากประชาชนส่วนใหญ่ คือองค์กรอิสระของภาครัฐ ที่มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในช่วงการเลือกตั้งในสมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ เมื่อเดือนมีนาคม หลังจากการเลือกตั้งที่ผ่านมามีการพูดถึงหน้าที่การปฏิบัติงานของหน่วยงานอิสระที่ไม่เป็นธรรมทำให้ตรวจสอบได้ยากเพราะเป็นหน่วยงานอิสระ ทำให้มีในส่วนของงบประมาณที่สามารถตรวจสอบได้จากราชกิจจานุเบกษาของสำนักงบประมาณบนเว็บไซต์
.
หากลองย้อนหลังไป 5 ปี ช่วงที่พล.อ.ประยุทธ์ เข้ามาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี งบประมาณของหน่วยงานอิสระเพิ่มขึ้นมากน้อยเท่าไร ถ้านับสำนักงานที่เด่น ๆ และมีความสำคัญต่อการเอื้ออำนวยการเลือกตั้งครั้งล่าสุด มีด้วยกัน 5 สำนักงาน ได้แก่ 1.สํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง 2.สํานักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน 3.สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ 4.สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน 5.สํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

ในปี 2558 พระราชบัญญัติ ได้จัดตั้งงบประมาณรายจ่ายให้กับหน่วยงานอิสระของรัฐเป็นจำนวน 13,387,571,400 บาท โดยแยกย่อยออกมาแต่ละสำนักงานที่จะได้รับตามที่กล่าวไว้ข้างต้นซึ่งรัฐบาลจัดสรรงบให้ สํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งได้รับ 1,775,462,900 บาท, สํานักงานผู้ตรวจการแผ่นดินได้รับ 250,161,300 บาท, สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้รับ 1,555,105,600 บาท, สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้รับ 1,946,849,000 บาท, สํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้รับ 220,784,700 บาท รวมงบประมาณรายจ่ายทั้งหมดที่ 5 สำนักงานจะได้รับ 5,748,363,500 บาท(ข้อมูลยึดตามหลักพระราชบัญญัติ ปี 2557 : สำนักงบประมาณ )

ปี 2559 พระราชบัญญัติ ได้จัดตั้งงบประมาณรายจ่ายให้กับหน่วยงานอิสระของรัฐเป็นจำนวน 14,140,595,800 บาท ซึ่งรัฐบาลจัดสรรงบให้ สํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งได้รับ 1,798,246,600 บาท, สํานักงานผู้ตรวจการแผ่นดินได้รับ 255,085,000 บาท, สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้รับ 1,798,666,600 บาท, สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้รับ 1,977,505,900 บาท, สํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้รับ 214,219,300 บาท รวมงบประมาณรายจ่ายทั้งหมดที่ 5 สำนักงานจะได้รับ 6,043,723,400 บาท (ข้อมูลยึดตามหลักพระราชบัญญัติ ปี 2558 : สำนักงบประมาณ )

ปี 2560 พระราชบัญญัติ ได้จัดตั้งงบประมาณรายจ่ายให้กับหน่วยงานอิสระของรัฐเป็นจำนวน 14,554,664,500 บาท ซึ่งรัฐบาลจัดสรรงบให้ สํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งได้รับ 1,933,087,900 บาท, สํานักงานผู้ตรวจการแผ่นดินได้รับ 262,604,100 บาท, สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้รับ 1,821,676,200 บาท, สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้รับ 2,049,378,200 บาท, สํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้รับ 209,120,600 บาท รวมงบประมาณรายจ่ายทั้งหมดที่ 5 สำนักงานจะได้รับ 6,275,867,000 บาท (ข้อมูลยึดตามหลักพระราชบัญญัติ ปี 2559 : สำนักงบประมาณ )

ปี 2561 พระราชบัญญัติ ได้จัดตั้งงบประมาณรายจ่ายให้กับหน่วยงานอิสระของรัฐเป็นจำนวน 3,451,301,400 บาท ซึ่งรัฐบาลจัดสรรงบให้ สํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งได้รับ 525,465,100 บาท, สํานักงานผู้ตรวจการแผ่นดินได้รับ 73,302,600 บาท, สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้รับ 579,204,300 บาท, สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้รับ 431,713,400 บาท, สํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้รับ 72,128,900 บาท รวมงบประมาณรายจ่ายทั้งหมดที่ 5 สำนักงานจะได้รับ 1,681,814,300 บาท(ข้อมูลยึดตามหลักพระราชบัญญัติ ปี 2560 : สำนักงบประมาณ )

ปี 2562 พระราชบัญญัติ ได้จัดตั้งงบประมาณรายจ่ายให้กับหน่วยงานอิสระของรัฐเป็นจำนวน 9,155,532,700 บาท ซึ่งรัฐบาลจัดสรรงบให้ สํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งได้รับ 6,554,693,600 บาท, สํานักงานผู้ตรวจการแผ่นดินได้รับ 72,054,700 บาท, สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้รับ 395,667,300 บาท, สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้รับ 435,137,400 บาท, สํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้รับ 71,913,800 บาท รวมงบประมาณรายจ่ายทั้งหมดที่ 5 สำนักงานจะได้รับ 7,529,466,800 บาท(ข้อมูลยึดตามหลักพระราชบัญญัติ ปี 2561 : สำนักงบประมาณ )
.
และท้ายสุดในปี 2562 มี ได้มีร่างพระราชบัญญัติงบประมาณปี 2563 ถึงงบประมาณของหน่วยงานอิสระของรัฐ จัดตั้งให้เป็นจำนวนเงิน 4,125,548,900 บาท ซึ่งรัฐบาลจัดสรรงบให้ สํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งได้รับ 337,264,900 บาท, สํานักงานผู้ตรวจการแผ่นดินได้รับ 90,446,100 บาท, สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้รับ 555,744,100 บาท, สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้รับ 269,791,900 บาท, สํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้รับ 76,521,200 บาท รวมทั้งหมดที่ 5 สำนักงานได้รับ 1,329,768,200 บาท(ข้อมูลยึดตามหลักร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ปี 2562 : สำนักงบประมาณ )
.
อย่างไรก็ตามงบประมาณของหน่วยงานอิสระที่มีอัตราการเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้เกิดข้อสงสัยหลายประเด็น ในการตรวจสอบความโปร่งใสในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา จึงเกิดคำถามในโลกโซเชียลว่าการเลือกตั้งในครั้งนี้มีการวางแผนโกงการเลือกตั้งให้พล.อ.ประยุทธ์ได้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อหรืออย่างไร