พระบรมราชชนก ผู้วางโครงสร้าง เรือ ส. แห่งราชนาวีไทย และ”องค์บิดาแห่งการแพทย์ไทย”

พ.ศ. 2450 (ค.ศ.1907) ได้เสด็จไปทรงศึกษาวิชาทหารบกที่เมืองปอตสดัม ประเทศเยอรมัน ทรงศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยชั้น ต้น พระเจ้าไกเซอร์วิลเฮล์ม ได้จัดนายร้อยเอกเอ็กเป็นพระอภิบาล เมื่อทรงจบหลักสูตรโรงเรียนนายร้อยชั้นต้นแล้ว เสด็จเข้าโรงเรียนนายร้อยชั้นสูงที่ โกรสลิชเตอร์เฟลเด้ (Gross Lichterfelde) ทรงศึกษาโรงเรียนนี้ 2 ปี ในปีสุดท้ายทรงมีพระประสงค์จะเปลี่ยนเหล่าทัพ ไปศึกษาวิชาทหารเรือแทนที่จะเป็น ทหารบก พระเจ้าไกเซอร์ทรงอนุญาตด้วยเงื่อนไขว่า ต้องทรงสอบวิชาทหารบกได้ก่อน ซึ่งก็ทรงทำได้อย่างดี สมเด็จพระบรมราชชนกได้เสด็จไปทรงศึกษาในโรงเรียนนายเรือที่ Imperial German Naval College ระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่ ทรงสอบได้เป็นที่ 1 และในปีสุดท้ายของการศึกษา ทรงชนะการประกวดการออกแบบเรือดำน้ำ

พ.ศ. 2454 (ค.ศ.1911) ทรงสำเร็จการศึกษาเป็นนายเรือตรีในกองทัพเรือเยอรมัน และได้รับพระ ราชทานยศจากเมืองไทย เป็นนายเรือตรีแห่งราชนาวีไทย เมื่อพระชนมายุได้ 21 พรรษา ทรงรับราชการในกองทัพเรือเยอรมันเป็นเวลา 3 ปี

พ.ศ. 2457 (ค.ศ.1914) เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 อุบัติขึ้น สมเด็จพระบรมราชชนกทรง ลาออกจากกองทัพเรือเยอรมัน เสด็จนิวัติประเทศไทย และเข้ารับราชการในกระทรวงทหารเรือ ในตำแหน่งสำรองราชการ กรมเสนาธิการทหารเรือได้รับพระราชทานยศเป็นนายเรือโท ตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2458 หลังจากทรง ศึกษาระเบียบราชการทหารเรือ และวิธีบริหารราชการจาก กรมเสนาธิการทหารเรือ ประมาณ 4 เดือน ทรงย้ายไปรับตำแหน่งในกองอาจารย์นายเรือ แผนกตำรากรมยุทธศึกษาทหารเรือ เพื่อจะได้ทรงมีเวลาศึกษาเกี่ยวกับหลักสูตรของวิชา และวิธีการสอนในโรงเรียนนายเรือ ทรงสนพระทัยในการสอนนักเรียนนายเรือเป็นอย่างยิ่ง สมเด็จพระบรมราชชนก ทรงสนพระทัยและเชี่ยวชาญทางเรือดำน้ำและเรือตอร์บิโดรักษาฝั่งซึ่งทรงศึกษามาจากประเทศเยอรมัน

พ.ศ. 2458 (ค.ศ.1915) เป็นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์จะบูรณะกองทัพเรือซึ่งขณะนั้นเล็กมาก จึงได้จัดให้มีการประชุมนายทหารเรือ สมเด็จพระบรมราชชนกถวายความเห็นว่าเมืองไทยเป็นประเทศเล็ก ไม่มีฐานทัพเรือและอู่ใหญ่ๆ จึงไม่มีประโยชน์ที่จะมีเรือรบใหญ่ ควรใช้เรือเล็กๆ เช่น เรือดำน้ำและเรือตอร์ปิโด ซึ่งเข้าแม่น้ำได้สะดวกจะมีประโยชน์กว่า แต่ในสมัยนั้นผู้ใหญ่ส่วนมาก ได้ศึกษามาจากประเทศอังกฤษ มีความเห็นว่าควรมีเรือใหญ่ เพื่อจะได้ฝึกทหารไปในตัว และคิดว่าจะใช้เรือขนาดครูเซอร์ สมเด็จพระบรมราชชนก ขณะ นั้นดำรงพระยศสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ ก็มิได้ทรงถืออำนาจ ทรงยอม รับฟัง แต่น้อยพระทัยว่าอุตส่าห์ไปทรงศึกษาวิชานี้โดยตรงจากประเทศเยอรมัน ครั้นถึงเวลาปฏิบัติงานจริง กลับไม่ได้ดังพระประสงค์ ต่อมาทรงลาออกจากประจำการเมื่อ

วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2459 (ค.ศ.1916) รวมเวลาที่ทรงรับราชการในกระทรวงทหารเรือ 9 เดือน 18 วัน ภายหลังได้พบเอกสารลายพระหัตถ์เป็นภาษา เยอรมันและ มีภาพร่างเรือรบแบบต่าง ๆ หลังจากดำเนินการแปลแล้ว ทำให้ทราบว่า ขณะที่สมเด็จพระบรมราชชนกยังทรงรับราชการทหารเรือนั้น ทรงจัดทำโครงการเกี่ยวกับเรือดำน้ำ และทรงร่างโครงการสร้างกำลังทางเรือทั้งกองทัพไว้อีกด้วย
บันทึกเรื่องเรือ ส. ทรงบันทึกแผนโครงการเกี่ยวกับเรือดำน้ำ จากที่ได้ร่ำเรียนมาจากโรงเรียนนายเรือที่ Imperial German Naval College ประเทศเยอรมันนี

ที่มาของจุดประสงค์ในเจตนารมรณ์ของท่านที่มีต่อของเรือดำน้ำไทย

—- จุดเปลี่ยนมาจาก ร.ศ. 112 ที่ถูกฝรั่งเศสรุกรานจนเสียดินแดนไป จึงมีความจำเป็นที่ต้องวางแผนป้องกันการรุกรานของชาติมหาอำนาจ —-

โดยแผนการสร้างถูกบันทึกเป็นภาษาเยอรมันพร้อมภาพประกอบโครงสร้างรูปเรือ มีความหน้า 26 หน้า โดยเป็นความชอบส่วนพระองค์ โดยมีแผนสร้างเรือดำน้ำมี 2 แนวทางการป้องกัน

แนวทางที่ 1

ขั้นที่ 1 ใช้เรือดำน้ำปกป้องกันอ่าวไทย(เกาะสีชัง) และแนวแม่น้ำเจ้าพระยา โดยจะใช้เรือดำน้ำ 2 ลำ 200 ตัน

ขั้นที่ 2 ใช้เรือดำน้ำปกป้องกัน สัตกูด – เกาะจวง – เขาสามร้อยยอด โดยจะใช้เรือดำน้ำ 2 ลำ 200 ตัน

แนวทางที่ 2

ขั้นที่ 1 ใช้เรือดำน้ำปกป้องกันฐานปฏิบัติการกรุงเทพฯ และสัตหีบ – เกาะสมุย โดยจะใช้เรือดำน้ำ 3 ลำ 250 ตัน

ขั้นที่ 2 ใช้เรือดำน้ำปกป้องกันฐานปฏิบัติการสงขลา -นอกอ่าวไทย โดยจะใช้เรือดำน้ำ 2 ลำ 800-1,000 ตัน

แต่ภายหลังทรงลาออกจากกระทรวงทหารเรือในสมัยนั้นเสียก่อน ในปี พ.ศ. 2459 (ค.ศ.1916) โดยทรงหันไปศึกษาวิชาทางการแพทย์จนทรงได้เป็น องค์บิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบัน และการสาธารณสุขไทย ในเวลาต่อมา

อ้างอิง

http://www.navychannel.tv/

เรือดำนํ้า เขี้ยวเล็บแห่งราชนาวีไทย ที่เคยเฝ้าระวังท้องทะเล

ยุทธศาสตร์ป้องกันอ่าว … บันทึกเรื่องเรือ ส.