“จุฬาลงกรณ์” ประตูสายน้ำ สู่สายชีวิต ประชากรทุ่งหลวงรังสิตจากอดีตสู่ปัจจุบัน

คลองรังสิตประยูรศักดิ์ เมื่อขุดจวนจะทะลุตอนออกลำแม่น้ำเมืองนครนายก บริษัทได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตสร้างทำนบเป็นประตูน้ำขึ้น 2 ตำบล คือ ตำบลใกล้คลองเปรมประชากร ทางออกแม่น้ำเจ้าพระยาแห่ง 1 ตำบลใกล้คลองศีรษะกระบือทางออกแม่น้ำเมือนครนายกแห่ง 1 ครั้นทำนบประตูทั้ง 2 แห่ง สำเร็จแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ทำพิธีเปิด ลำคลองนี้ เป็นทางการเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2439 (รัตนโกสิทร์ศก 115) และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์แลข้าทูลละอองธุลีพระบาทโดยรถไฟพิเศษ โดยมีการชุมนุมพร้อมด้วยผู้แทนรัฐบาลแลกงสุลต่างประเทศ กับทั้งพวกพ่อค้านายห้างเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทที่ชุมนุมนั้น ครั้นได้เวลาพระฤกษ์เสด็จพระราชดำเนิน จึงทรงเปิดแพรที่กั้นประตูน้ำเปิดทำนบเป็นพระฤกษ์ และทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เรียกนามประตูน้ำ ในพระบรมนามาภิธัยว่า “ประตูจุฬาลงกรณ์”

บริษัทได้จัดทำประตูปิด เปิดได้ทั้งทางตะวันตก และตะวันออก สำหรับจะได้กั้นกำบังน้ำไว้ให้ราษฎรอาศัยใช้เรือและทำการเพาะปลูกได้บริบูรณ์ตลอดปี เป็นเครื่องที่ทำให้เกิดและรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดินและ มหาชนทั่วไปยิ่งใหญ่กว่าพาหนะอื่น ประตูนั้นสำเร็จบริบูรณ์แล้ว และที่นาตามสองฝั่งคลองรังสิตประยูรศักดิ์ ที่สำเร็จบริบูรณ์แล้วนี้…” กำเนิดคลอง รังสิตประยูรศักดิ์ คลองสายน้ำที่มาของ ประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ ประตูปิด เปิดสายน้ำ สู่สายชีวิต ประชากรทุ่งหลวงรังสิตจากอดีตสู่ปัจจุบัน

อ้างอิง และ เรียบเรียงจาก http://www.rangsit.org/rangsit_travel/joomla.php