รีวิวหนัง : “BEIRUT เบรุตนรกแตก” / “ANON” แหกกฎล่า ฆ่าล้ำอนาคต

เริ่มกันที่ Anon อานอน แหกกฎล่า ฆ่าล้ำอนาคต 

ผู้กำกับ / เขียนบท / อำนวยการสร้าง แอนดรูว์ นิโคล

นักแสดงนำ อะแมนดา ไซเฟร็ด — เดอะเกิร์ล  / ไคลฟ์ โอเวน — ซัล ฟรีแลนด์

“ANON” บอกเล่าเรื่องราวของ ซัล ฟรีแลนด์ (ไคลฟ์ โอเวน) ตำรวจผู้เผชิญกับคดีฆาตกรรมต่อเนื่องที่ดูเหมือนว่าทุกคดีมีส่วนเกี่ยวข้องกัน ซัลได้ออกตามหาตัวคนร้ายเหมือนดั่งที่นักสืบทั่วไปทำ แต่ในสถานที่ราวกับโลกอนาคตแห่งนั้น ซัลมีข้อได้เปรียบข้อหนึ่งที่สามารถช่วยในการไขคดีเหล่านั้น นั่นคือระบบที่บันทึกกิจกรรมทุกอย่างของทุกๆ คนด้วยความถี่ระดับเสี้ยววินาที ข้อมูลเหล่านั้นจะถูกบันทึกลงบนฐานข้อมูลที่มีชื่อว่า The Ether ซึ่งเหล่าผู้รักษากฎหมายสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลนีี้ได้

มนุษย์ทุกคนจะต้องได้รับการฝังคอมพิวเตอร์ชีวภาพ (biosyn computer) ที่จะบันทึกทุกกิจกรรมในชีวิตของพวกเขา ซึ่งมันทำให้ทุกคนไม่มีความเป็นส่วนตัวอีกต่อไป เพียงแค่คุณเดินไปตามท้องถนน คุณก็สามารถเห็นข้อมูลของทุกคนที่ปรากฏต่อสายตาของคุณ คุณจะเห็นว่าพวกเขาใส่นาฬิกายี่ห้ออะไร พวกเขาซื้อรถที่ไหน ใช้จ่ายอย่างไร พบปะใครบ้าง ข้อมูลเหล่านั้นจะปรากฏในสายตาของคุณความเป็นส่วนตัวทั้งหมดที่คุณรู้จักจะสูญหายไปจากโลกนี้ และมันดูเหมือนว่าโลกนี้คือจุดสิ้นสุดของการก่ออาชญากรรม ถึงแม้ว่าจะมีการก่อคดี ผู้ต้องหาก็จะถูกมัดด้วยหลักฐานอย่างง่ายดาย การดำเนินกระบวนการทางกฎหมายอันยืดยาวเหลือเพียงแค่ขั้นตอนสั้นๆ ดั่งดาวน์โหลดจากทางอินเทอร์เน็ต 

ในขณะที่ตัวเอกจะทำการสืบสวนคดีหนึ่งซึ่งมีปริศนาคือไม่สามารถเห็นโฉมหรือบันทึกหลักฐานได้ว่าใครฆ่าจะต้อง “คลี่คลาย”และ เขาได้พบกับเรื่องที่ทำให้เขาประหลาดใจ ซึ่งในตอนแรกเขาคิดว่ามันเป็นเพียงสิ่งที่ไม่สำคัญ ในขณะที่เขากำลังเดินอยู่บนท้องถนน เขาได้พบกับหญิงสาวคนหนึ่ง (อะแมนดา ไซเฟร็ดที่ Mind’s Eye ของเขาไม่สามารถระบุตัวตนได้ แรกเริ่มเขาคิดว่ามันเป็นความผิดพลาดของระบบ แต่แล้วเขาก็ตระหนักได้ว่าหญิงสาวคนนั้นคือเบาะแสชิ้นแรกของเขา และนั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นของภารกิจในการตามหาหญิงสาวคนนั้นที่ไม่ควรมีตัวตนอยู่จริง 

หนังจะพาเราไปพบกับภาพเหล่านั้น ภาพโลกของโลกล้ำๆที่มีข้อมูลพรั่งพรู หลักฐานบันทึกแบบดิจิตอลต่างๆมากมาย เสมือนโลกข้างหน้าที่กำลังก้าวไปสู่สังคมเหล่านั้น และมีกลิ่นอายของการสืบสวนสอบสวนแบบล้ำๆ ซึ่งมีการล้อระหว่าง “ความเป็นส่วนตัว” และ “ความทันสมัย” ซึ่ดูเหมือนว่าจะไปด้วยกันได้ยากในยุคที่แต่ละคนก็ต้องถูกริดรอนความเป็นส่วนตัว

ผู้กำกกับ แอนดรูว์ นิโคล เล่าว่า อยากจะสร้างภาพยนตร์เกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว” ยิ่งวันนี้ทุกคนล้วนแต่มีบันทึกส่วนตัวไม่มากก็น้อย ไม่ว่าจะเป็นการใช้สมาร์ทโฟนหรือโซเชียลมีเดีย ซึ่งอะไรที่ดูเหมือนจะรุกล้ำ มีบันทึกทั้งหมดนี่เองคือความน่าสนใจของภาพยนตร์เรื่องนี้

 

ต้องบอกว่าผมเองหลังจากที่ได้ดูเรื่องนี้ สารภาพว่าตอนแรกไม่ได้คาดหวังอะไรมาก แต่พอมีปมต่างๆมีประเด็นให้ฉุกคิดเช่น การที่มีตัวเอกชอบและถวิลหาความเป็นอนาล็อกจับต้องได้ มากกว่าดิจิตอลแต่ต้องดำรงชีวิตในสังคมที่เทคโนโลยีล้ำไปไกล การออกแบบงานสร้าง พล็อตเรื่องและความลุ้นไปกับซีนต่างๆแกะรอย หรือปลอมตัวในสังคมที่ยากจะให้ปลอมนั้นต้องบอกว่าใช้ได้เลยครับ

ใครที่สนใจอยากไปลองชม หนังเข้า 10 พ.ค.นี้แล้ว

ลองชมตัวอย่างได้ที่นี่

 

////

มาต่อกันที่ “BEIRUT เบรุตนรกแตก”

ผู้กำกับ : แบรด แอนเดอร์สัน

นักแสดง : โรซามุนด์ ไพค์, จอน แฮมม์, เชีย วิคแฮม

BEIRUTจะเล่าถึงเหตุการณ์ในช่วงสงครามกลางเมืองเลบานอนในยุคต้น 80 กับเรื่องราวของ อดีตนักการฑูตสหรัฐ ที่ได้รับมอบหมายให้ทำงานเจรจากับผู้ก่อการร้ายที่จับเจ้าหน้าที่สหรัฐเป็นตัวประกัน

ความน่าสนใจของหนังเรื่องนี้น่าจะอยู่ที่การถ่ายทอดเรื่องราวระทึกใจจากมุมมองของนักการฑูต ความไว้ใจ และการใช้ประสบการณ์ของนักการทูตที่ต้องการไหวพริบ ในการแลกดีล เจรจาต่อรอง ภายใต้เงื่อนไขข้อจำกัดมากมาย ที่สำคัญยากที่จะไว้ใจใครได้ทั้งนั้น เนื่องจากฉากหลังในเหตุการณ์ดังกล่าวในเรื่องมีสงครามกลางเมืองเกิดขึ้นอยู่ตลอด แต่ใครที่หวังจะดูบู๊ล้างผลาญต้องบอกไว้ก่อนว่าไม่ใช่ทางเพราะนี่จะออกแนวใช้หัวคิด แลกตัวเจรจาต่อรอง ลุ้นแบบหน้าสิ่วหน้าขวานกันเลยทีเดียว

หนังจะเข้าฉายในวันที่ 10 พฤษภาคม นี้ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเริ่มอ่านกันได้เลยครับ