3 สเต็ปเต็มคาราเบล “โลกบันเทิงไทย” บุกสากล

เจาะทะลุข้อจำกัดและการเพิ่มพลังการส่งออกความบันเทิงไทยให้ไปยังต่างแดน โลกที่หมุนขับเคลื่อนว่องไวรวดเร็วการส่งออก Soft Power เป็นสิ่งที่ทุกประเทศต้องเร่งทำ โดยเฉพาะเนื้อหาบันเทิง หนัง ซีรีย์จากประเทศไทย มั่นใจได้ว่าขึ้นแท่นยืนสู้ติดอันดับแน่นอน

เป็นระยะเวลากว่าเกือบ 200 ปีตั้งแต่หนังเรื่องแรกของประเทศไทย “นางสาวสุวรรณ” ก่อเกิดเป็นอุตสาหกรรมความบันเทิงหลากหลายจากหนังใหญ่ภาพยนตร์จอเงิน มาเป็นจอแก้วละครและซีรีย์ ส่งออกทั่วโลกอย่างทุกวันนี้

แต่ทว่ามีแค่ไม่กี่ชิ้นงานที่ประสบความสำเร็จลัดฟ้าไปเมืองนอกสร้างชื่อเสียง หรือถูกหยิบไปสร้างต่อในต่างประเทศเป็นที่ภาคภูมิใจทั้งคนทำ คนชอบ และพี่น้องร่วมชาติ ขณะที่ผลงานส่วนใหญ่เกิดไม่ได้ โตไม่ไหว ใหญ่ไม่พอ สุดท้ายก็ล้มหายตายจากหลังลาจอ จนกลายเป็นผลึกหมุดความคิดที่ตอกฝัง ทำไมหนังไทยไม่ดัง ทำไมทำแล้วเจ๊ง ทำไมหนังไม่พัฒนา และเกิดคำถามสารพัด ทำไมๆ อีกมากมาย แม้เมืองไทยเราจะมีผู้คนที่มีความสามารถไม่ว่าจะด้าน CG การแสดง ล็อตเรื่อง เขียนบท ครีเอทีฟคิดสร้างสรรค์ฯลฯ

ในงานเสวนา “โลกบันเทิงไทยกับความเป็นไปในต่างประเทศ” ที่จัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2566 โดยสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้สรุปไขข้อสงสัยเหล่านี้ ว่าเส้นทางบันเทิงไทยจะเชื่อมโยงกันอย่างไร เพื่อไปสู่เป้าหมายความสำเร็จแบบน้องๆ ฮอลลีวูด อย่าง “ไทยลีวู้ด”

หลังบ้านแน่น “หน้าบ้านบันเทิง”

ไม่ต่างไปจากพื้นฐานอื่นๆ ของธุรกิจ หากฐานรากแข็งแรงย่อมส่งผลต่อลำต้นและกิ่งใบ “ความบันเทิง” ในรูปแบบต่างๆ ที่ไม่ว่าจะภาพยนตร์ ละคร หรือ ซีรีย์ ก็เช่นเดียวกันต้องมีรากฐานที่แน่นเสียก่อน ดังนั้นสาเหตุที่ก่อนจะผลิตสร้างความหรรษา ก็จำเป็นที่จะต้องรู้ข้อมูลเชิงลึกที่เจาะลงไปมากกว่า พฤติกรรมการบริโภค ช่องทางการจัดจำหน่าย การเติบโตของตลาด ฯลฯ นั้นเป็นอย่างไร?  ผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมบันเทิงไทยจึงต้องศึกษาเจาะลึกหาองค์ความรู้ย่อยลงไปอีก เช่น มองภาพรวมของธุรกิจบันเทิงโลกที่จะขยายตัวถึง 2.9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2026 แล้ววางแผนเลยว่าต้องการ Market Share เท่าไร หรือ หากมองว่าความเร็วและเสถียรภาพของอินเตอร์เน็ต 5G ทำให้คนดูหนังออนไลน์ผ่านมือถือมากขึ้น แม้ตอนเดินทาง เราจะทำหนังประเภทไหน ที่ดูแล้วจบได้ไว ไม่ยืดเยื้อ เหมาะกับการดูระหว่างช่วงเวลาเดินทางสั้นๆ  หรืออาจจะเจาะลึกไปสร้างหนังภาพยนตร์แนวเผยแพร่ Soft Power ที่ทั่วโลกกำลังใจ แถมช่วยเชื่อมสัมพันธ์ผู้คนระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาประเทศไปด้วยกัน

ตอนนี้ทิศทางของความบันเทิงเปิดโอกาสเปิดทางให้สื่อบันเทิงที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน จนสื่อบันเทิงเปรียบเสมือนเป็นปัจจัยที่ 5 ของทุกคน ทำหน้าที่เป็นทูตทางวัฒนธรรม ซึ่งปัจจัยที่สำคัญมากคือการขยายตัวของ 5Gเพราะด้วยความเร็วในการดาวน์โหลดและเสพ ทำให้สื่อบันเทิงแพร่ขยายตัวแบบไปทั่วโลกมากขึ้น นั้นทำให้ในยุคนี้เราได้เห็นสื่อบันเทิงที่หลากหลาย ได้รับความสนุกจากภาพยนตร์และซีรีย์หลากหลายเชื้อชาติ ฉะนั้นความต้องการความบันทิงของผู้คน จะมีความหลากหลายในเชิงของเนื้อหา เราจะไม่จำกัดไว้ว่าหนังที่จะดูเป็เฉพาะหนังฮ่องกง  ซีรีย์เกาหลี หรือ ซีรีย์อเมริกัน แต่เราพร้อมจะดูงานของอินเดีย เมริกาใต้  ตุรกี ทั้งหมดมันเริ่มเป็นกระแสเติบโตขึ้นมาบ้างแล้วในบรรดาผู้ชมบางกลุ่มดร.ฐณยศ โล่ห์พัฒนานนท์ สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขยายภาพปริมาณความต้องการในความบันเทิงที่มีแนวโน้มผสมผสาน หลายหลายมากขึ้น

ขณะที่ประเทศจีน เดิมจะมีการเปิดรับสื่อใหม่ๆ ในเมืองฝั่งตะวันออกอย่างนครเซี่ยงไฮ้ ตอนนี้วัฒนธรรมการรับสื่อแบบนี้ ก็แพร่ไปทางทิศตะวันตก เมืองที่ลึกเข้าไปในแผ่นดินมากขึ้น ทำให้ ณ วันนี้จีนกลายเป็นแหล่งบริโภคความบันเทิงที่เข้าถึงผู้คนจำนวนมากที่สุดในโลก  อย่างไรก็ตามนอกจากประเทศจีน ประเทศโซนยุโรป และ สหรัฐอเมริกา ที่บริโภคสื่อบันเทิงข้ามชาติแบบนี้แล้ว เราในฐานะผู้ผลิตสื่อบันเทิง ก็ควรจะมองประเทศใหม่ๆ  อย่าง อินเดีย  ซาอุดิอาระเบีย กลุ่มประเทศอเมริกาใต้ อาเจนติน่า บราซิล อีกด้วย เพราะประเทศพวกนี้จะมีปริมาณความต้องการความบันเทิงในสไตล์ที่ไม่ต่างจากบานเรามากนัก

อีกสิ่งที่สำคัญคือเรื่อง ‘วาระร่วมของโลก’ เราต้องรู้ว่าอะไรคือกระแสร่วมของประชาคมโลก เพราะคนทั่วโลกแม้จะมีความต่างกันในเชิงของภูมิหลังทางวัฒนธรรม แต่เขาจะมีสิ่งเดียวกันที่เขาพูดภาษาเดียกัเช่น เรื่อง SDGs การพัฒนาอย่างยั่งยืน เรื่อง LGBTQ ความเท่าเทียมทางเพศ พอละครซีรีย์วายของเราจับเรื่องนี้ จึงประสบความสำเร็จอย่างมากในต่างประเทศ เพราะมันไปตอบสนองต่อวาระเหล่านี้ ดังนั้นเราควรมีหน่วยงานที่จับตากระแสเหล่านี้ แล้ววิเคราะห์ส่งข้อมูลมาให้ผู้ลิตด้วย เช่น คนจีนชอบดูอะไร กางเกงช้างทำไมกำลังมาแรง”

เราต้องผลักดันตั้งแต่ระดับภาคประชาชน ภาคการศึกษา เพื่อกระตุ้นให้เกิดชุมชนคนสร้างสรรค์ แบบที่ต่างประเทศจัดพื้นที่ให้ เกิดการพูดคุย วาดภาพ แต่งเรื่องราวต่างๆ ในพื้นที่สาธารณะ อันไหนเป็นที่นิยมก็จะมีนายทุนมาซื้อไปต่อยอดผลิต มังงะ อานิเมะ ซีรีย์ ละคร หนัง ซึ่งจะเป็นทรัพยากรสำคัญสำหรับภาคอุตสาหกรรมทั้งบันเทิงเองและท่องเที่ยวที่ได้รับอิทธิพลดร.ฐณยศ กล่าวสรุป

 

รัฐและคนบันเทิงต้องร่วมมือกันปรับเข้าหา’

 

อีกหนึ่งปัจจัยต่อมาที่จะผลักดันโลกบันเทิงไทยเข้าสู่ยุคทองได้ต้องถามไปที่ “วรรณสิริ โมรากุล” ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งท่านบอกว่าจะสำเร็จได้ด้วย “การมีพฤติกรรมคิดแบบองค์รวม และ “รู้จักผสมผสาน” ให้มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ เพราะทุนเดิมคนไทยเป็นคนที่ไอเดียเก่งและคิดเขียนบทเก่งอยู่แล้ว

รัฐกับคนบันเทิงตอนนี้ต้องช่วยกัน เริ่มจากรัฐไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญแต่รัฐก็พร้อมสนับสนุนในเรื่องของงบประมาณหรือเรื่องอื่นๆ ที่ช่วยผลักดัน แต่บางครั้งการจัดอบรมก็ไม่ค่อยมีคนให้ความสำคัญ ารขอการสนับสนุนโครงการก็อาจจะไม่เรียบร้อย เช่น บทที่ส่งมาก็มักจะเป็นคล้ายเรื่องย่อมากกว่า Final Script ก็ไม่ค่อยจะเห็น เราต้องช่วยกันคิดให้เป็นระบบ ทำงานไปด้วยกัน  จะมีแต่ฝีมือแต่การเชื่อมโยงหรือผสมผสานไม่มี นั้นไม่ได้ พฤติกรรมการคิดที่เป็นระบบเป็นองค์รวมนี้ไม่เพียงจะสร้างความเข้าใจให้เห็นภาพตรงกัน แต่ยังส่งผลต่อใน ผลงานอีกด้วย ความบันเทิงที่ประสบความสำเร็จมีหลายส่วนประกอบเข้าด้วยกันที่ต้องล้อกันไปไม่ใช่บทดี กำกับไม่ดี แสดงดี ภาพไม่ดี ก็ไม่ได้

 

อย่างบ้านเรา เวลาพระเอกเป็นหมอ แต่เราไม่เคยบอกว่า อาชีพหมอต้องมีงานอะไร ทำอะไร รู้แต่ว่าเป็นหมอ เราไม่ให้เวลากับการค้นคว้าหาข้อมูลและศึกษาลงไป แต่ทางเกาหลีหรือจีน เวลาเขาปูเรื่องว่าคนนี้เรียนจบหมอ เขาจะประกอบอาชีพให้เราเห็นว่าเขามีอาชีพนี้ การคิดแยกส่วนทำให้เกิดเรื่องที่ไม่เป็นธรรมชาติ เหมือนยัดเยียดบทหรือคำพูด บางครั้งบทประพันธ์อาจจะเหมาะกับการอ่านแต่ไม่เหมาะกับการพูด เราก็ต้องดูให้ดี มองในภาพรวม”  

 

Growth mindset’ บันเทิงไทยลัดฟ้าบันเทิงโลก

สำหรับในแง่ของทางสถาบันการศึกษาเองก็มีหน้าที่และมีส่วนร่วมในการที่ผลักดันความสำเร็จของอุตสาหกรรมบันเทิงไทยให้เกิดขึ้น ซึ่งในเรื่องนี้ “ผศ.ศิวนารถ หงษ์ประยูร” คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เจ้าภาพร่วมจัดงานได้แสดงความคิดเห็นถึงการพัฒนาศักยภาพนักศึกษนิเทศฯ เพื่อเป็นกำลังคนที่จะขับเคลื่อนบันเทิงไทยให้ไประดับอินเตอร์ได้ ว่าต้องอาศัยGrowth mindset” เป็นบันไดขั้นพื้นฐาน  

ทัศนคติแนวคิดแบบยืดหยุ่น ไม่ติดกรอบ พร้อมเติบโตพัฒนาไปข้างหน้า และมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง คือหัวใจสำคัญ ยิ่งมีเทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานออกมาใหม่ ไม่ว่าจะเป็น AI อย่าง ChatGPTMidjourney DALLE หรือจะเป็นโปรแกรม แอปพลิเคชั่นใหม่ๆ ของแต่ละค่ายในด้านงานทำ Storyboard งานผลิต งานตัดต่อ งานปรับสีแสง อันนี้ถ้าเด็กนิเทศฯ ใช้คล่อง มันจะขยับต่อยอดไป 1-2-3-4-5 ถือเป็นขั้นบันไดเบสิค ต้องขยัน ต้องความรับผิดชอบ ต้องใฝ่รู้สิ่งใหม่ๆ พออยากเรียนรู้ก็จะศึกษาข้อมูลเพิ่ม เจอปัญหาก็จะมุ่งเข้าแก้ไข ไม่จำกัดตัวเอง ไม่บอกว่าทำได้แค่นี้ อะไรที่ร่วมกันแล้วดี อะไรที่ต่างแล้วดี พอรู้แล้วเราจะทำของที่แตกต่าง เอาไปขายได้ ในอนาคตอาจจะต่อยอดไปถึงขั้นเป็น Prompt Engineering ด้าน AI เพื่อใช้กับงานด้านนิเทศศาสตร์

 

ขณะที่ฝั่งสถาบันการศึกษาเอง ผศ.ศิวนารถ มองว่า “อาจารย์เป็นเรือจ้างผู้มีประสบการณ์ เราเองก็ต้องไม่ติดประสบการณ์เก่าๆ สถาบันการศึกษาเองก็ต้องเตรียมความพร้อมใหม่ๆ รู้สึกยุค Multiskill ถ่ายทอดความพร้อมที่หลากหลายให้เขาเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพในทางของตัวเอง ไม่ใช่ว่าจะสอนให้เหมือนอาจารย์เรียนในสมัยก่อน ตอนนี้เราต้องเข้าใจคนรุ่นใหม่ว่าเป็น Digital Nomad ใช้ชีวิตกับเทคโนโลยี ค้าขายออนไลน์ เป็นฟรีแลนซ์ ทำสื่อของตัวเอง ไม่ได้อยากเป็นอาชีพแบบที่อาจารย์อยากเป็น  ดังนั้นเราต้องสอนทักษะผู้ประกอบการให้เขาไว้ด้วย

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์เราทำ MOU ร่วมกับหน่วยงานกว่า 10 องค์กร เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ และให้เขาตระหนักเข้าใจเวลาไปทำงาน หรือถ้าจะสร้างธุรกิจบันเทิงของตัวเองก็มี Multiskill เพราะยุคนี้สามารถสร้างตัวตนได้ด้วยตัวเองและสามารถทำได้ในอุปกรณ์ไม่กี่อย่างหรืออย่างการจัดงานสัมมนาอย่างในครั้งนี้ เราจะจัดแต่ในห้องจริงไม่ได้แล้ว เราต้องถ่ายทอดออนไลน์ ต้องมีทีมงานดูแลการถ่ายทอดออนไลน์ มีการทำอีเว้นท์ในโลกออนไลน์ ซึ่งองค์ประกอบต่างๆ ของความสำเร็จในการทำ บันเทิงไทย อาจจะไม่มีสูตรสำเร็จแต่เราเชื่อว่าหากพื้นฐานแน่น เข้าใจเรื่องการสร้างคนก่อนเรื่องอื่น ความสำเร็จของอุตสาหกรรมบันเทิงไทยเกิดขึ้นได้แน่นอน”ผศ.ศิวนารถ กล่าวทิ้งท้าย