นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ชี้ช่องฟ้อง ช่วยเหลือประชาชนกรณีลิงสร้างผลกระทบชีวิตทรัพย์สิน

26 มีนาคม 2567 นรินท์พงศ์ จินาภักดิ์ นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ระบุตามที่ปรากฏข่าวทางสื่อมวลชนว่าลิงที่จังหวัดลพบุรี ซึ่งกรมอุทยาน สัตว์ป่า และพันธ์พืช ได้ขึ้นทะเบียนเป็นสัตว์ป่าสงวนฯ ได้ออกมาทําร้ายประชาชน เพื่อแย่งอาหาร สร้างความเดือดร้อน ซึ่งเดิมกรมอุทยานฯ ได้กําหนดหลักเกณฑ์การช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบไว้เฉพาะช้างป่ากับกระทิงเท่านั้น ซึ่งลิงยังไม่ได้ถูกบรรจุอยู่ในหลักเกณฑ์การช่วยเหลือดังกล่าว ต่อมาเมื่อมีเหตุเกิดขึ้น กรมอุทยานฯ ได้ออกหลักเกณฑ์เพิ่มเติม กําหนดให้จ่ายเงินช่วยเหลือเยียวยา กรณีเสียชีวิต ทุพพลภาพ จํานวน 100,000 บาท และบาดเจ็บให้ จ่ายตามความจริงไม่เกิน 30,000 บาท

รัฐธรรมนูญมาตรา 58 เป็นหน้าที่ของรัฐบัญญัติ ว่าการดําเนินการของรัฐ ถ้าการนั้นมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิตของประชาชน รัฐต้องระมัดระวังเพื่อให้ เกิดผลกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด และต้องดําเนินการให้มีการเยียวยาความเดือดร้อนหรือ ความเสียหายให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบอย่างเป็นธรรมและโดยไม่ชักช้า

ดังนั้น การที่รัฐโดยกรมอุทยาน สัตว์ป่าและพรรณพืช ขึ้นทะเบียนลิงลพบุรีเป็นสัตว์ป่าสงวน แต่กลับปล่อยให้อยู่กับประชาชน รัฐจึงมีหน้าที่จะต้องดูแลไม่ให้การดำเนินการของรัฐกระทบต่อ สุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตของประชาชน อันเป็นหน้าที่ของรัฐตามรัฐธรรมนูญ การที่เจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้รับผิดชอบกลับปล่อยปละละเลยไม่ดูแล ทําให้ลิงไปทําร้ายและแย่งอาหารจากประชาชน จนทําให้ได้รับบาดเจ็บตามที่เป็นข่าวนั้น จึงเป็นการปล่อยปละละเลยต่อหน้าที่ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ทําให้ประชาชนได้รับความเสียหายอันเป็นการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420

ด้วยเหตุดังกล่าว หากประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากการกระทําของลิง และได้รับการเยียวยาจากรัฐไม่เพียงพอต่อความเสียหายที่ได้รับ ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ กลุ่มนี้จึงยังมีสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมาย ที่จะฟ้องคดีปกครองเรียกร้องให้กรมอุทยาน สัตว์ป่า พรรณพืช และหรือ หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติมให้รับ มูลค่าความเสียหายจริงจากเจ้าหน้าที่ของรัฐฯ ที่ละเลยการปฏิบัติหน้าที่ไม่ดูแล ปล่อยให้ลิงทําร้ายประชาชน ตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9(2) ประกอบพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง