ดร.สุรเกียรติ์ -ดร.สันติธาร เสถียรไทย ชี้หนทางรอดประเทศไทย ภายใต้โลกในสมรภูมิสงครามภูมิรัฐศาสตร์ที่ท้าทาย-เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว

ดร.สุรเกียรติ์ดร.สันติธาร เสถียรไทย ชี้หนทางไทยรอดภายโลกสงครามภูมิรัฐศาสตร์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

เมื่อวันที่ 20 ีนาคม 2567 เวลา 13.30 น. งาน “PRACHACHAT BUSINESS FORUM ฝ่าพายุความเปลี่ยนแปลง” การเสวนาพิเศษในหัวข้อGeopolitics Outlook” โดย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สุรเกียรติ์เสถียรไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรีและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และ ดร.สันติธาร เสถียรไทย Future Economy Advisor สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) และกรรมการในคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)

ภายใต้ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ระหว่าง ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย
ชี้ประเด็นให้เห็นถึงสงครามแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ สงครามแบบดั้งเดิมหรือ convention welfare กับสงครามรูปแบบใหม่หรือสงครามด้านเศรษฐกิจ การาค้า เทคโนโลยี มักจะมีปฎิสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันและส่งผลกระทบโดยตรง มีการแบ่งขั้วอย่างชัดเจนโดยประเทศมหาอำนาจอย่าง สหรัฐอเมริกา และจีน กลุ่มความขัดแย้งที่เกิดขึ้นทั่วโลกมีปัจจัยสำคัญด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โลกกำลังปั่นปวน ไม่มีระบบเศรษฐกิจและการเมือง

การวางตัวจุยืนของประเทศไทย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สุรเกียรติ กล่าวว่า เราต้องเข้าใจโลกก่อนว่าโลกมันปั่นป่วนอย่างไร ดิสรัปต์อย่างไร เราจะอยู่เฉย ๆ ท่ามกลางความปั่นป่วนได้ไหม ในเมื่อทุกคนเขาก็มาชวนเราเป็นพวกหมด”

เราชอบพูดว่าเราเป็นกลาง เพื่อความสบายใจ แต่บางเรื่องมันเป็นกลางไม่ได้ ต้องเข้าข้างความถูกต้อง เวลาเราพูดว่าเป็นกลาง เราหมายความว่าเราไม่ได้เป็นคู่ขัดแย้ง เวลาเราพูดคำว่าเป็นกลาง ภาษาไทยฟังดูดี แต่ภาษาอังกฤษถ้าหากแปลขึ้นพาดหัวว่า ‘Thailand take neutral stance.’ บางเรื่องมัน neutral ไม่ได้ ต้องเข้าข้างความถูกต้อบง อย่างกรณีรัสเซียบุกยูเครน ถึงแม้เราสนิทกับรัสเซีย เราก็ต้องบอกว่ารัสเซียทำไม่ถูก ถ้าเราบอกว่าเป็นกลาง เราเสียทันที

เพราะฉะนั้น ประการแรก เราต้องเข้าใจความอ่อนไหวของโลกจุดยืนของเรา ในความขัดแย้งที่เกิด ถ้าพูดพลาดไปนิดเดียว เสียหายเรื่องความมั่นคงทันที พูดพลาดไปนิดเดียว เสียเพื่อนทันที อยู่เฉย ๆ ก็ไม่ได้ พูดผลีผลามถลำถลากไป ประเทศชาติก็เสียหาย ที่มันแย่คือความเสียหายด้านต่างประเทศเราไม่ค่อยรู้ตัว กว่าเราจะรู้ตัวว่ามันเสียหาย เวลามันเลยไปนานแล้ว เราก็จะสงสัยว่าทำไมคนนี้เขาไม่เป็นเพื่อนกับเรา ทำไมคนนี้เขาไม่มาลงทุนกับเรา ทำไมคนนี้เขาแกล้งเรา กว่าจะรู้ว่ามันเป็นเพราะเราไม่พูดอะไร หรือพูดอะไรที่ไม่ถูกต้อง

ประการที่สอง เวลาที่ใครมาชวนเราเป็นพวก เช่น จีนกับอเมริกา เราต้องกล้าแสดงจุดยืน อยู่เฉย ๆ ไม่ได้  ยกตัวอย่างสิงคโปร์ว่า เป็นประเทศที่กล้าแสดงจุดยืน ในบางเรื่องสิงคโปร์แสดงจุดยืนชัดเจนว่าเข้ากับจีน เพราะได้ประโยชน์จากจีนมากกว่า และในบางเรื่องสิงคโปร์แสดงจุดยืนชัดเจนว่าเข้าสหรัฐอเมริกา เพราะได้ประโยชน์มากกว่า

เพราะฉะนั้นผมคิดว่าเราเป็นเพื่อนกับทุกคน แต่เราต้องเข้าใจความเปลี่ยนแปลง เข้าใจความอ่อนไหวของสถานการณ์ เพราะสถานการ์ในปัจจุบันซับซ้อนมากกว่าเมื่อก่อน เราจะอยู่เฉยไม่ได้ หลายเรื่องต้องตัดสินใจ-ต้องเลือกข้าง บนพื้นฐานของข้อมูลที่มากพอไม่งั้นเราก็พัง

ประการที่สาม หลายเรื่อง ไทยต้องปรับจุดยืน (recalibrate) ยกตัวอย่างเรื่องเมียนมา ในเรื่องของประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน ซึ่งไทยเกรงใจรัฐบาลทหารเมียนมา แต่ก็ถึงเวลามานานแล้วที่ไทยจะต้องแสดงจุดยืนว่ารัฐบาลทหารเมียนมาจะใช้อาวุธสงครามเข่นฆ่าประชาชนอย่างนี้ไม่ได้ ถาเพื่อนเราทำไม่ถูก เราก็ต้องบอกเพื่อนเรา ถ้าเราไม่แสดงจุดยืนในโลกเห็นว่า เราสามารถช่วยผลักดันให้เมียรมามีสันติภาพอย่างไร เราก็เสียหาย

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สุรเกียรติ ตั้งคำถามในการแก้ปัญหาในปัจจุบันว่า เรายังสามารถจบปัญหาด้วยการคุยกับรัฐบาลทหารเมียนมาเพียงกลุ่มเดียวได้อยู่หรือไม่ ภายใต้สถานการณ์กลุ่มที่มีกลุ่มต่อต้านรัฐบาลทหารเมียนมา 40 กลุ่ม  

สุดท้ายศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สุรเกียรติ กล่าวว่าเรื่องนโยบายเศรษฐกิจไม่น่าห่วงเท่าเรื่องนโยบายการศึกษา คุณภาพของคนไทยไม่ได้มารตฐานอย่างที่ควรจะเป็น เมื่อเทียบกับหลาย ๆ ประเทศการบริหาการศึกษาแบบนี้เราอาจจะไปไม่รองในสงครามต่างๆ จะเห็นได้ว่าโครงการ upskill reskill ของคนไทยล้มเหลว เนื่องจากคนไทยที่ไปทำงานในต่างประเทศหลายส่วนพูดตรงว่า คนไทยสามารถฝึกได้ เป็นประเด็นที่สำคัญมากที่ต้องมาขบคิด ถ้าเกิดว่าประเทศไหนสังคมไหนไม่มีDigitization, Digitalization และ Digital Transformation กับGreen Economics จะไม่มีที่อยู่ในโลกนี้

พร้อมฝากถึงรัฐบาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม , กระทรวงศึกษาฯ, กระทรวงดีอีเอส และกระทรวงอุดมศึกษาฯ  4 กระทรวงนี้ต้องเป็นกระทรวง A+ ไม่ใช่กระทรวงเกรด B

ด้าน ดร.สันติธาร เสถียรไทย กล่าวว่า โลกที่ไร้ระเบียบ โลกในปัจจุบันกำลังเข้าสู่ยุคที่ไม่ใช่แค่ผันผวน แต่โลกกำลังอยู่ในจุดที่หักมุม เป็น Twists And Turns จุดเปลี่ยน 3 ด้านที่กระทบเศรษฐกิจและธุรกิจไทยอย่างมาก คือ “สงครามดุดัน แข่งขันดุเดือด และอาเซียนโดดเด่น”

สงครามดุดันขึ้น สงครามีหลายมิติ แบบแรก convention welfareเราไม่ค่อยรู้ว่าสงครามจะเกิดที่ไหน แบบที่สองคือสงครามเศรษฐกิจ ซึ่งรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ

แข่งขันดุเดือด จะกระทบต่อไทยมาก เศรษฐกิจจีนมีความสามารถในการผลิตมาก แต่ด้านกำลังซื้อในประเทศไม่ดี จึงต้องส่งออกนอกประเทศ หากส่งไปตะวันตกเกิดความไม่แน่นอน ธุรกิจจีนจึงส่งมาตลาดอาเซียน และธุรกิจไทยได้รับผลกระทบเต็ม ๆ

อาเซียนโดดเด่น อาเซียนถูกมองว่าไม่เป็นศัตรูกับใครมากนัก ธุรกิจต่าง ๆ จึงลดความเสี่ยง เข้ามาลงทุนในอาเซียนมากขึ้น แต่ถ้าดูในอาเซียน ไทยยังเป็นรอง เวียดนาม อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และมาเลเซีย

ดร.สันติธาร กล่าวถึง สงครามการแข่งขัน ใน Future Economy หรือเศรษฐกิจแห่งอนาคต ว่ามีการเกิดหลายมิติ โดยเฉพาะ สงครามเทคโนโลยี (tech war) สงครามเศรษฐกิจสีเขียว (green war) และสงครามแย่งชิงคนเก่ง (talent war)

สงครามเทคโนโลยี (tech war) ในปัจจุบันที่แข่งขันก็คือปัญญาประดิษฐ์ (AI ) เกิดหลายระดับ Hardware , Software สงครามที่มหาอำนาจแข่งกัน ทั้งการกีดกัน การพัฒนา  เราอาจจะไม่ต้องเลือกข้าง แต่เราเลือกข้างที่ให้ประโยชน์เราในแต่ละประเด็น และเราก็มีสงครามที่พวกระดับรองลงมาอย่างเราแข่งกันเอง

สงครามเศรษฐกิจสีเขียว (green war) ความยั่งยืน สิ่งแวดล้อม พลังงานสะอาด ในภาคอุตสาหกรรม ที่จีนเป็นฝ่ายนำสหรัฐอเมริกา

สงครามแย่งชิงคนเก่ง (talent war) เมื่อโลกเราเข้าสู่สังคมสูงวัยการขาดแคลนบุคลากรเป็นเรื่องใหญ่ เพราะสงครามทั้งสองข้างต้นต้องการบุคลากรในพัฒนาวัตกรรม เพราะฉะนั้นเราจะเห็น เทรนด์ การ แย่งชิงบุคลากร การยื่นข้อเสนอด้านวีซ่าในการแย่งชิง

อย่างไรก็ตอยากให้เห็นทั้งสามสงครามเป็นทั้งโอกาสและความเสี่ยง ในไทยจะเห็นว่าเราขาดคนการสร้าง AI อาจจะตอบโจทย์มากกว่า สงครามเศรษฐกิจสีเขียว เราก็มีโอกาสถ้าหากเราปรับตัวได้เร็ว
ด้านสุดท้าย สงครามแย่งชิงคนเก่ง ผมเสนอว่า Thailand Got Talent ในการดึงดูด Talenประเทศไทยมีพรสวรรค์ในการดึงดูดคนเก่ง

ทางออกเรื่องบุคคลาการเพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขันมากพอ ดร.สันติธาร กล่าวว่า สงคราม-การแข่งขันเหล่าเปรียบเสมือนเป็นคลื่นยักษ์ ซึ่งถ้าไทยสามารถโต้คลื่นได้ทัน ก็มีโอกาสที่ไทยจะแซงหน้าคนอื่น โลกปัจจุบันเปลี่ยนเร็วจนเป็นดิสรัปชั่น แต่ถ้าเราจับคลื่นทัน เราจะเป็นคนดิสรัปต์คนอื่น ถ้าโลกไม่มีคลื่นใหญ่ เราแซงคนอื่นไม่ได้ พอโลกมันมีคลื่นใหญ่เราเลยแซงได้

นโยบายเรื่องคนจึงเป็นนโยบายเศรฐกิจ จะเห็นได้ว่าขณะที่ประชาการเราหดตัวเราก็ใช้คนอย่างไม่มีประสิทธิภาพ เช่น เรามีประชากรในภาคการเกษตร 11-12 ล้านคน ขณะเดียวกันภาคการท่องเที่ยวเติบโตได้ดีแต่กลับขาดคน ทำไมเราไม่ Reskill จากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง การ Reskill เป็นเรื่องที่อยากให้ความสำคัญมากขึ้น

สุดท้าย ดร.สันติธาร แน3s สำหรับภาคเอกชนเพื่อเตรียมพร้อมกับอนาคต( future ready transformation) 1.) Scan คือการกวาดสัญญาณในอนาคตที่เกิดขึ้นพร้อมกัน ต้องมีทั้งความกว้างเพื่อลดจุดบอดและความลึกเพื่อเข้ากระแสที่เกิดขึ้นในการเปลี่ยนแปลง   2.) Strategize คือการคิดยุทธ์ศาสตร์ จุดแข็งจุดอ่อนขององค์ จะต้องมีความไกลและใกล้ที่สมดุลเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่จับต้องได้
และ3.) Sequence จัดลำดับความสำคัญพร้อมปรับเปลี่ยนให้ทันกระแส