ผู้นำยูเครน ลั่นสงครามต้องจบลง ด้วยการปลดปล่อย “ไครเมีย” ที่รัสเซียยึดไป

ผู้นำยูเครน ลั่นสงครามต้องจบลง ด้วยการปลดปล่อย “ไครเมีย” ที่รัสเซียยึดไป

 

วันที่ 10 ส.ค. บีบีซี รายงานว่า ประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครน กล่าวถึงการปิดฉากสงครามในประเทศ จะต้องปิดฉากลงด้วยการปลดปล่อยแคว้นไครเมีย หลังเกิดการระเบิดที่ฐานทัพอากาศรัสเซีย แคว้นไครเมีย มีผู้เสียชีวิต 1 ราย แต่ผู้นำยูเครนไม่ได้กล่าวว่าเป็นการโจมตีของยูเครนหรือไม่ ขณะที่รัสเซียอ้างเป็นการระเบิดของคลังแสงเท่านั้น

ประธานาธิบดีเซเลนสกีกล่าวเพียงว่า ไครเมียเป็นของยูเครนและชาวยูเครนจะไม่มีวันยกไครเมียให้ใคร ขณะที่กระทรวงกลาโหมยูเครนกล่าวถึงการระเบิดที่ฐานทัพอากาศรัสเซียข้างต้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับกองทัพยูเครน แต่ระบุว่า มีผู้เสียชีวิต 13 ราย หลังกองทัพรัสเซียใช้ขีปนาวุธยิงถล่มตอนกลางของแคว้นดนีปรอแปตร็อวสก์และเมืองซาปอริซเซีย ทางใต้ของประเทศ

ผู้นำยูเครน

REUTERS

ผู้นำยูเครนระบุด้วยว่า การทำสงครามรุกรานยูเครนของรัสเซียเริ่มตั้งแต่การเข้ายึดครองแคว้นไครเมียเมื่อปี 2557 และยืนยันว่าชาวยูเครนจะไม่มีวันลืมสิ่งที่เกิดขึ้น และว่าในเมื่อทั้งหมดเริ่มต้นที่ไครเมีย สงครามนี้ต้องย่อมจบลงที่ไครเมียเช่นกัน

ผู้นำยูเครน

อย่างไรก็ตาม คำกล่าวของผู้นำยูเครนก่อให้เกิดความกังวลจากผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากนายดมีตรี เมดเวเดฟ อดีตประธานาธิบดีรัสเซีย ปัจจุบันเป็นรองประธานสภาความมั่นคงแห่งชาติรัสเซีย เคยระบุว่า หากยูเครนโจมตียูเครนจะต้องพบกับ “วันแห่งการพิพากษา” แบบฉับพลันทันใด

ทั้งนี้ แคว้นไครเมียที่อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของยูเครนมาตั้งแต่ประเทศได้รับเอกราชหลังสหภาพโซเวียตล่มสลาย แต่รัสเซียก็ได้ขอเช่าพื้นที่บางส่วนอย่างในเมืองเซวาสโตโปลในการตั้งฐานทัพเรือให้กับกองเรือรัสเซียแถบทะเลดำ จนเมื่อการปฏิวัติยูโรไมดานในเดือนกุมภาพันธ์ 2557 นำไปสู่การโค่นล่มรัฐบาลยูเครนนิยมรัสเซียของวิคตอร์ ยานูโควิช ในเวลาไม่กี่เดือนหลังจากนั้น วลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียก็ได้สั่งเคลื่อนทัพของยึดครองไครเมียแบบไม่ให้ยูเครนตั้งตัว พร้อมกับเริ่มส่งสัญญาณให้กลุ่มแบ่งแยกดินแดนนิยมรัสเซียในแคว้นโดเนสกต์และลูฮานสก์ทำสงครามกลางเมืองกับรัฐบาลยูเครน จนกลายเป็นสงครามดอนบาสที่ยืดเยื้ดนาน จนถึงอีกระดับที่รัสเซียส่งกองทัพเข้ารุกรานยูเครน โดยใช้พื้นที่ฝ่ายกบฎแบ่งแยกดินแดนเป็นการสร้างความชอบธรรมในการเข้ารุกรานยูเครน