ประกาศ “ฝีดาษลิง” เป็นภาวะฉุกเฉินสาธารณสุขระหว่างประเทศแล้ว ‘อนุทิน’ สั่งประชุมด่วน!

องค์การอนามัยโลก แถลงประกาศให้โรคฝีดาษลิง เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (PHEIC) แล้ว อนุทิน สั่งประชุมด่วน! วันนี้  

 

วันที่ 23 ก.ค.2565 ที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวรายงาน นายเท็ดรอส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก แถลงหลังหารือกับคณะกรรมาธิการผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิง เมื่อวันที่ 23 ก.ค.ที่ผ่านมา ประกาศให้โรคฝีดาษลิง เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (PHEIC) แล้ว

นายกีบรีเยซุส ระบุว่า คณะกรรมาธิการไม่สามารถมีฉันทามติว่าจะประกาศให้การแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิงเป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศหรือไม่ อย่างไรก็ตามจากการพิจารณาเงื่อนไขทั้งหมด เราพบการแพร่ระบาดที่แพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ผ่านการแพร่ระบาดแบบใหม่ที่เรายังเข้าใจน้อยมากซึ่งเข้าเงื่อนไขการกำกับดูแลสาธารณสุขระดับนานาชาติ ด้วยเหตุผลทั้งหมด ตนจึงตัดสินใจให้การแพร่ระบาดของฝีดาษลิงนั้นเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ

WHO ประกาศให้ ฝีดาษลิง เป็นภาวะฉุกเฉิน

ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ให้คำแนะนำสำหรับประเทศที่พบผู้ติดเชื้อเข้าสู่ประเทศว่าให้มีมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดและป้องกันกลุ่มเสี่ยง มีส่วนร่วมและปกป้องชุมชนที่ได้รับผลกระทบ เพิ่มการเฝ้าระวังและมาตรการด้านสาธารณสุข เพิ่มความเข้มงวดในการบริหารจัดการในทางคลินิก ป้องกันการและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลและคลินิกต่างๆ เพิ่มการวิจัยเพื่อการใช้วัคซีนการรักษาและเครื่องมืออื่นๆเป็นต้น

นายกีบรีเยซุส ยังระบุด้วยว่า การแพร่ระบาดนั้นส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย โดยเฉพาะคนที่มีคู่นอนหลายคน ดังนั้นจึงจำเป็นที่ทุกประเทศต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ในการให้บริการและข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ และออกมาตรการที่ปกป้องทั้งสุขภาพ สิทธิมนุษยชนและเกียรติของชุมชนที่ได้รับผลกระทบ

ฉุกเฉิน

การประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ จะทำให้องค์การอนามัยโลกสามารถระดมทุนเพื่อแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิงได้มากขึ้น และทำให้เกิดความร่วมมือระดับนานาชาติในการรักษา แบ่งปันวัคซีน เช่นเดียวกับการออกมาตรการด้านการค้าและการเดินทางโดยเฉพาะการคัดกรองผู้ติดเชื้อที่สนามบินได้

นอกจากฝีดาษลิงแล้ว องค์การอนามัยโลกเคยประกาศประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมถึงโรคโปลิโอ ที่ยังคงมีผลจนถึงทุกวันนี้

นอกจากนี้ยังเคยประกาศภาวะฉุกเฉินระดับเดียวกันนี้กับไข้หวัดใหญ่ H1N1 เมื่อปี 2552, การระบาดของอีโลบาในแอฟริกาตะวันตกในปี 2557-2559, ไวรัสซิกาในปี 2559 รวมถึงโรคอีโบลาในคองโก เมื่อปี 2562 ด้วย ก่อนที่จะลดระดับในเวลาต่อมา

ทั้งนี้ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมาผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขเริ่มกดดันให้องค์การอนามัยโลก และรัฐบาลชาติต่างๆออกมาตรการต่างๆเพิ่มขึ้นเพื่อจัดการกับการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิง ล่าสุดพบผู้ติดเชื้อมากกว่า 16,000 ราย มีผู้เสียชีวิตแล้ว 5 รายจาก 75 ประเทศที่เป็นสมาชิกองค์การอนามัยโลกทั่วโลก ขณะที่สหรัฐอเมริกามีรายงานพบผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงในเด็ก 2 รายแรกแล้ว

ต่อมาไม่นาน นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ได้สั่งการด่วนถึงผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขทุกท่าน เข้าประชุมเพื่อตอบสนองการประกาศขององค์การอนามัยโลก ในเวลา 10.00 น. ที่ กระทรวงสาธารณสุข ทั้งนี้ จะมีการหารือร่วมกับอธิบดีกรมควบคุมโรค กรมการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ(สบส.) และผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ เพื่อเตรียมแผนรับมือและแผนเชิญเหตุโรคฝีดาษลิง อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยได้ตอบสนองการพบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงตั้งแต่ช่วงเดือน พ.ค.65 เป็นต้นมา โดยให้สถานพยาบาลทุกแห่งคัดกรองผู้ป่วยที่เข้าข่ายสงสัยโรคฝีดาษลิงตามนิยาม ส่งตัวอย่างเชื้อตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ(แล็บ)

ทั้งนี้ ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขเริ่มกดดันให้องค์การอนามัยโลก และรัฐบาลชาติต่างๆออกมาตรการต่างๆเพิ่มขึ้นเพื่อจัดการกับการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิง ที่ล่าสุดพบผู้ติดเชื้อแล้วมากกว่า 16,000 รายและมีผู้เสียชีวิตแล้ว 5 รายจาก 75 ประเทศที่เป็นสมาชิกองค์การอนามัยโลกทั่วโลก ขณะที่สหรัฐอเมริกาก็เพิ่งมีรายงานพบผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงในเด็ก 2 รายแรกด้วย

โดยหลังจากที่มีประกาศให้โรคฝีดาษลิงเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (PHEIC) ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลกให้คำแนะนำสำหรับประเทศที่พบผู้ติดเชื้อเข้าสู่ประเทศว่าให้มีมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดและป้องกันกลุ่มเสี่ยง มีส่วนร่วมและปกป้องชุมชนที่ได้รับผลกระทบ เพิ่มการเฝ้าระวังและมาตรการด้านสาธารณสุข เพิ่มความเข้มงวดในการบริหารจัดการในทางคลินิก ป้องกันการและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลและคลินิกต่างๆ เพิ่มการวิจัยเพื่อการใช้วัคซีนการรักษาและเครื่องมืออื่นๆ เป็นต้น