“อรุณี” กางกม.จริยธรรม จี้ถาม ขรก.-นักการเมือง เปิดเผยไทม์ไลน์ ยากตรงไหน?

“ไม่เปิดเผยไทม์ไลน์ ผิดหรือไม่ใครตอบได้”
.
.
หญิงสงสัยอย่างนี้ค่ะว่า การที่เราเป็นข้าราชการ เป็นผู้แทนราษฎร เป็นตัวแทนของพี่น้องประชาชนที่เลือกเราเข้ามาปฏิบัติหน้าที่แทนนั้นเป็นเกียรติและเป็นศักดิ์ศรีของเราใช่หรือไหม?
.
และการกระทำใดๆ ของเราในฐานะตัวแทนของประชาชนก็ควรค่าแก่การถูกตรวจสอบและถูกตั้งคำถามกับบทบาทหน้าที่ของเราในฐานะตัวแทนตัวประชาชนด้วยใช่หรือไหม?
.
ดังนั้นวันนี้หญิงขอตั้งข้อสงสัยว่า “…การไม่ยอมเปิดเผยไทม์ไลน์ในตอนแรก และแม้จะยอมเปิดก็ยังโกหกไทม์ไลน์ซ้ำอีก เป็นการกระทำที่ผิด หรือ ชอบธรรมแล้วหรือไม่?…” หญิงจะไม่ตัดสินหรือด่วนสรุปนะว่าผิดหรือไม่อย่างไร แต่จะให้พี่น้องประชาชนลองพิจารณาดูจากข้อมูลเหล่านี้ค่ะ
.
ใน พ.ร.บ.มาตรฐานจริยธรรม ที่บัญญัติขึ้นใน พ.ศ. 2562 โดยระบุการบัญญัติขึ้นมาว่า เพื่อเป็นหลักเกณฑ์การประพฤติปฏิบัติอย่างมี “คุณธรรม” ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งหมายรวมถึงข้าราชการ พนักงานราชการ คณะรัฐมนตรี สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ฯลฯ
.
โดย พ.ร.บ.มาตรฐานจริยธรรมฉบับนี้ มีบัญญัติขึ้นมาเป็นหลักเกณฑ์ทั้งหมด 7 ข้อสำคัญซึ่งปรากฎในมาตรา 5 หมวดที่ 1 แต่วันนี้หญิงจะยกเพียงข้อที่คิดว่ามีความสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในตอนนี้ค่ะ
.
ข้อที่ 2 ระบุว่า ต้องซื่อสัตย์สุจริต มี “จิตสำนึกที่ดี” และรับผิดชอบต่อหน้าที่
ข้อที่ 3 ระบุว่า ต้องกล้าตัดสินใจและ “กระทำในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม”
ข้อที่ 4 ระบุว่า ต้อง “คิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว” และมีจิตสาธารณะ
ข้อสุดท้ายที่หญิงคิดว่าสำคัญคือข้อ 7 ที่ระบุว่า
ต้อง “ดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดีและรักษาภาพลักษณ์ของทางราชการ”
.
มาตรฐานเหล่านี้ถูกระบุไว้ชัดเจนว่า ให้ใช้เป็นหลักสำคัญที่จะกำหนดหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติตนของเจ้าหน้าที่ของรัฐเกี่ยวกับสภาพคุณงามความดีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องยึดถือสำหรับการปฏิบัติงาน
.
ไม่เพียงเท่านั้นนะคะ ยังมี พ.ร.บ.อีกฉบับหนึ่งที่ถูกระบุชัดเจนว่ามาตรฐานทางจริยธรรมที่ระบุนี้ให้ “ใช้บังคับ” แก่ “สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร” สมาชิกวุฒิสภา และ “คณะรัฐมนตรี” ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ซึ่งไทย คือ “พ.ร.บ.มาตรฐานจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ พ.ศ. 2561” โดยระบุความในข้อ 3 วรรค 4 (2)
.
พ.ร.บ.ฉบับนี้ระบุถึงมาตรฐานจริยธรรมที่น่าสนใจหลายหมวดค่ะ อย่างหมวด 1 ข้อ 7 ระบุว่าต้องถือผลประโยชน์ของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตน หมวด 2 ข้อ 17 ระบุว่า ต้องไม่กระทำการใดที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อเกียรติศักดิ์ของการดำรงตำแหน่ง และสำคัญคือ หมวด 3 ข้อ 21 ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างเต็มกำลังความสามารถ และยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรม โปร่งใสและตรวจสอบได้ และปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติและความผาสุกของประชาชนโดยรวม
.
ข้อย้ำคีย์เวิร์ดอีกทีนะคะ
1.ยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรม
2.โปร่งใส
3.ตรวจสอบได้
4.ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ
5.คำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติ
6.คำนึงถึงความผาสุกของประชาชน
.
ถ้าเราคิดตามไปพร้อมกับพระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับนี้ กับกรณีการปิดบัง หรือ พยายามจะปกปิดข้อมูลไทม์ไลน์การติดเชื้อโควิด-19 ของเหล่าผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองนี้ที่มีหลายคนที่อยู่ในกลุ่มของสมาชิกผู้แทนราษฎร สมาชิกคณะรัฐมนตรี ข้าราชการหลายคนที่เกิดขึ้น ถือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับนี้หรือไม่
.
หากเรามาพิจารณากรณีการปิดบัง หรือ พยายามจะปกปิดข้อมูลไทม์ไลน์การติดเชื้อตาม พ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉินและ พ.ร.บ.ควบคุมโรคติดต่อ ที่รัฐบาลบังคับใช้กฎหมาย 2 ฉบับนี้อย่างเข้มข้นกับประชาชนและผู้ชุมนุมอย่างสงบนั้น
.
จริงๆ แล้วในกฎหมายระบุไว้ว่ากรณีที่บุคคลให้ข้อมูลไม่สอดคล้องกัน หรือมีการปฏิเสธหรือปกปิดข้อมูลซึ่งควรต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ อาจเข้าข่ายเป็นความผิดฐานขัดขวาง หรือ ไม่อำนวยความสะดวกแก่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ตามมาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ซึ่งต้องถูกปรับไม่เกิน 20,000 บาท และอาจมีความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ตามมาตรา 137 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
.
ไม่เพียงเท่านั้น กรุงเทพมหานครยังถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดตามคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด- 19) ที่ 1/2564 ลงวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2564 โดยพื้นที่ควบคุมสูงสุดจำเป็นต้องมีมาตรการที่เข้มงวด เพื่อป้องกันและควบคุมเพื่อมิให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ถ้าฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 18 ใน พ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉิน
.
ถ้าเราพิจารณากรณีของเหล่า VVIP ทั้งหลายกับความพยายามจะไม่เปิดเผยข้อมูลไทม์ไลน์ที่ตรงกับข้อเท็จจริงหรือไทม์ไลน์ที่เป็นประโยชน์ต่อการป้องกันการระบาดของโรค ถือว่ามีความผิดทั้ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 พ.ร.บ.ควบคุมโรคติดต่อ ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 รวมถึงผิดตาม พ.ร.บ.มาตรฐานจริยธรรม พ.ศ. 2562 และ พ.ร.บ.มาตรฐานจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ พ.ศ. 2561 ที่ครอบคุมถึงสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และ คณะรัฐมนตรี หรือไม่
.
หรือกฎหมายพวกนี้ มีไว้ใช้กับประชาชนผู้อยู่ใต้สุดของอำนาจ
ทั้งหมดหญิงมีคำตอบแล้ว
และเชื่อว่าทุกคนที่อ่านถึงตรงนี้ ก็มีคำตอบในใจแล้วเช่นกัน