นักประวัติศาสตร์พม่าชี้ กองทัพก่อรัฐประหารบนแรงจูงใจของอำนาจมากกว่าความร่ำรวย

วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 ตั้น เมี่ยน-อู นักประวัติศาสตร์ชาวพม่าเจ้าของผลงาน The Hidden History of Burma (หรือในชื่อภาษาไทย – “ผ่าพม่า” เปิดประวัติศาสตร์ปกปิด) ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นต่อการรัฐประหารของกองทัพพม่าเพื่อโค่นรัฐบาลพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยหรือเอ็นแอลดี เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ผ่านทวิตเตอร์และเทรดเดอร์ว่า

“บรรดานายพลพม่าต่างมีแรงจูงใจ(ทำรัฐประหาร) ในเรื่องอำนาจ ไม่ใช่ความมั่งคั่ง บรรดามิตรและศัตรูทั้งหมดต่างอยู่ในประเทศนี้ ส่วนที่เหลือของโลกไม่ใช่เรื่องสำคัญสำหรับพวกเขา หลักคิดพวกเขาคือชาตินิยมและความฝันคือการยุติสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อกว่า 75 ปีบนเงื่อนไขที่พวกเขากำหนด การเปลี่ยนผ่านการเมืองในปี 2554 เป็นไปตามรัฐธรรมนูญที่พวกเขาต้องการตั้งแต่ต้นปี 1990 (และเป็นสิ่งที่สหรัฐฯและพรรคเอ็นแอลดีคัดค้าน) ไม่ได้เป็นผลจากการคว่ำบาตร”

สิ่งที่พวกเขาไม่นับรวมไปด้วยคือความนิยมที่เพิ่มต่อเนื่องของออง ซาน ซูจี เรื่องราวจึงออกนอกบทที่พวกเขาเขียนไว้

การแซงก์ชั่นเศรษฐกิจเป็นวงกว้างจะนำไปสู่ความเสี่ยงให้เศรษฐกิจล่มสลาย ตกไปอยู่ในภาวะค้นแค้น ทำลายชีวิตคนเปราะบางหลายล้านคน เพิ่มเชื้อไฟความไม่สงบและทำให้ประเทศบริหารไม่ได้ แต่แทบไม่ส่งผลทางการเมืองแต่อย่างใดกับผู้มีอำนาจที่ตกเป็นเป้าหมายในมาตรการคว่ำบาตร

กระบวนทัศน์ระหว่างประเทศต่อวิกฤตปัจจุบัน ในการสร้างความหวังเพื่อปูทางไปสู่ประชาธิปไตย จะต้องคิดใหม่ทั้งหมด ออกไปจากวิธีศึกษาเดิมที่ครอบงำเกือบทุกการถกเถียงเกี่ยวกับพม่า เช่นเดียวกับการลงทุนจริงจังในการเข้าใจประวัติศาสตร์และเศรษฐกิจการเมืองของประเทศนี้ และกระบวนทัศน์ระหว่างประเทศใดที่มีประสิทธิภาพจะต้องจำเป็นเข้าใจจิตวิทยาอันไม่เหมือนใครของบรรดาชนชั้นนำทางการเมืองในพม่า ที่หล่อหลอมมาตลอดหลายทศวรรษผ่านความรุนแรง การแยกตัว ความยากจนและการกดขี่ข่มเห่ง เช่นเดียวกับความเป็นอนุรักษ์นิยมและธรรมชาติของระบบลำดับชั้นบนลงล่างแบบสังคมพุทธที่ฝังรากมานาน

ทั้งนี้ ตั้นกล่าวอีกว่า ในช่วงต้นทศวรรษ 2010 เมื่อสิ่งต่างๆดูเหมือนกำลังดำเนินไปในทิศทางที่ดีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงไม่มีใครรู้สึกว่าจำเป็นต้องทำการบ้านมากนัก (รวมถึงประสิทธิภาพในการคว่ำบาตรที่ผ่านมา) หากกล่าวสรุปอย่างดีที่สุด ดูเหมือนตอนนี้ได้เวลาที่ต้องทำการบ้านหนักขึ้นแล้ว