เปิดคำสั่งกลาโหม 360/2541 แต่งตั้ง “ร.อ.ธรรมนัส” ข้อมูล “ธรรมนัส” จาก เม.ย. 2536 สู่เก้าอี้ รมต. 2562

คณะทำงานของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า เผยแพร่คำสั่งกระทรวงกลาโหม ลงชื่อโดยพล.อ.วัฒนชัย วุฒิศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ทำการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (นายชวน หลีกภัย) ตั้ง ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า (ร.ท.พชร พรหมเผ่า) เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2541

เปิดข้อมูล “ธรรมนัส” จาก เม.ย. 2536 สู่เก้าอี้ รมต. 2562

  • เปิดข้อมูล ‘ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า’ จาก ‘ออสซี่’ สู่เก้าอี้ รมช.เกษตรฯ

ทีมงานของ ร.อ.ธรรมนัส เผยแพร่เอกสารความเป็นไปเป็นมาก่อนที่จะมาเป็นรัฐมนตรี หลังจากถูกวิพากษ์วิจารณ์ถึงคุณสมบัติความเป็นรัฐมนตรี ในกรณีที่เกี่ยวพันกับคดีที่ออสเตรเลีย เมื่อปี 2536 ดังนี้

1.ร้อยโท พชร พรหมเผ่า เดินทางออกจากประเทศไทย ไปประเทศออสเตรเลียเมื่อเดือน เมษายน 2536

2.ร้อยโท พชร พรหมเผ่า เดินทางกลับประเทศไทย เมื่อเดือนมษายน 2539 หลังจากพันโทษตามคำพิพากษาของศาลประเทศออสเตรเลีย

3.กองบัญชาการทหารสูงสุด ได้พิจารณาให้ ร้อยโท พชร พรหมเผ่า ออกจากราชการ เนื่องจากขาดงานราชการเกิน 15 วัน

4.พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี พ.ศ.2539  โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมาย ว่าด้วยการล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอม ของรัฐสภา โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา ภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี พ.ศ. 2539”

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา3 ในพระราชบัญญัตินี้ “ผู้ต้องโทษ” หมายความว่า ผู้ต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ลงโทษหรือให้กักกัน และให้หมายความรวมถึงผู้ถูกลงโทษโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีผลเช่นเดียว กับการถูกลงโทษโดยคำพิพากษาของศาล “ผู้ถูกลงโทษทางวินัย” หมายความว่า ผู้ถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์เพราะกระทำผิดวินัยตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศหรือคำสั่งของกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ และให้หมายความรวมถึงบุคคลใดที่ถูกงโทษหรือลงทัณฑ์โดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีผลเช่นเดียวกับการถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์ทางวินัย

มาตรา 4 ให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539 และได้พันโทษไปแล้วก่อน หรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หรือซึ่งได้พันโทษไปโดยผลแห่งพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2539 โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลโทษในกรณีความผิดนั้นๆ

มาตรา 5 ให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ถูกลงโทษทางวินัยในกรณีซึ่งได้กระทำหรือในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539 และได้รับโทษหรือรับทัณฑ์ทั้งหมดหรือบางส่วนไปก่อน หรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์ทางวินัยในกรณีนั้นๆ

มาตรา 6 สำหรับบรรดาผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการอันมิใช่เป็นการลงโทษทางวินัยก่อนหรือในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2539 และบรรดาผู้ดำเนินการการทางวินัยในกรณีกระทำผิดวินัยซึ่งผู้บังคับบัญชาได้พิจารณาสั่งยุติเรื่องหรืองดโทษก่อนหรือในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2539 ให้ผู้นั้นไม่ต้องถูกพิจาณาเพิ่มโทษหรือถูกดำเนินการทางวินัยในกรณีนั้น ๆ ต่อไป

มาตรา 7 การล้างมลทินตามมาตรา 4 และมาตรา 5 ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้ได้รับการล้างมลทินในอันที่จะเรียกร้องสิทธิหรือประโยชน์ใด ๆ ทั้งสิ้น

มาตรา 8 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

5.หลังวันที่ 11 กันยายน 2539 ร้อยโท พชร พรหมเผ่า ได้ยื่นเรื่องขอกลับเข้ารับราชการทหาร และกองบัญชาการทหารสูงสุด ได้อนุมัติรับ ร้อยโท พชร พรหมเผ่า กลับเช้ารับราชการทหารตามระเบียบ

6.กระทรวงกลาโหมมีคำสั่งที่ 360/2541 ลง 1 มิถุนายน 2541 เรื่อง เลื่อนยศนายทหารสัญญาบัตร เลื่อนยศ ร้อยโทพชร พรหมเผ่า เป็น “ว่าที่ร้อยเอก” ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2541

7.ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานพระบรมราชานุญาตถอดยศทหาร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ถอด ร้อยโท พชร พรหมผ่า สังกัดกองบัญชาการทหารสูงสุด ออกเสียจากยศ ตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน พ.ศ.2541 เนื่องจากประพฤติตนไม่สมควรตามพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทางทหาร พ.ศ.2476 ประกาศ ณ วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ.2541

8.พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระชนมพรษ 80 พรรษา พ.ศ.2550 ขึ้นมา โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยการล้างมลทินในวรโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระชนมพรษ 80 พรรษา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติล้างมลทินในวรโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระชนมพรษ 80 พรรษา พ.ศ.2550”

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป

มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้ “ผู้ต้องโทษ” หมายความว่า ผู้ต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ลงโทษหรือให้กักกันและให้หมายความรวมถึงผู้ถูกลงโทษหรือกักกันและให้หมายความรวมถึงผู้ถูกลงโทษโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีผลเช่นเดียวกับการลงโทษโดยคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล “ผู้ถูกลงโทษทางวินัย” หมายความว่า ผู้ถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์เพราะกระทำผิดวินัยตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศหรือคำสั่งของกระทรง ทบวง กรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ และให้หมายความรวมถึงผู้ถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์โดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีผลเช่นเดียวกับการถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์ทางวินัย พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ. 2550″

มาตรา 4 ให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พันโทษไปแล้วก่อน โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ

มาตรา 5 ให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ถูกลงโทษทางวินัยในกรณีซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้รับโทษหรือรับทัณฑ์ทั้งหมดหรือบางส่วนไปก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์ทางวินัยในกรณีนั้น ๆ

มาตรา 6 สำหรับบรรดาผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการอันมิใช่เป็นการลงโทษทางวินัยก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และบรรดาผู้ถูกดำเนินการทางวินัยในกรณีกระทำผิดวินัยซึ่งผู้บังคับบัญชาได้พิจารณสั่งยุติเรื่องหรืองโทษก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 ให้ผู้นั้นไม่ต้องถูกพิจารณาเพิ่มโทษหรือถูกตำเนินการทางวินัยในกรณีนั้น ๆ ต่อไป

มาตรา 7 การล้างมนทินตามมาตรา 4 และมาตรา 5 ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้ได้รับการล้างมลทินในอันที่จะเรียกร้องสิทธิหรือประโยชนีใด ๆ ทั้งสิ้น

มาตรา8 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

9. นายธรรมนัส พรหมเผ่า จึงสามารถใช้ยศ ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า ได้ตาม พ.ร.บ.ล้างมลทินฯ พ.ศ.2550 ดังกล่าว

  1. ด้วยผลของกฎหมายพ.ร.บ.ล้างมลทินฯ ทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว มีผลให้

10.1 ร้อยโท พชร พรหมเผ่า ไม่เคยต้องโทษตามคำพิพากษาของหาลออสเตรเลียและ ไม่เคยถูกลงทัณฑ์ทางวินัยคดีขาดราชการ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 9 มิถุนายน 2539 (ตามข้อ 2,3)

10.2 ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า ไม่คยถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์ทางวินัยในกรณีนั้น ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 (ตามข้อ 7)

10.3 ร้อยเอก ธรรมนัส เป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทย และไม่เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดตามคำพิพากษาศาล และไม่เคยถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์ทางวินัย ทำให้ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า มีคุณสมบัติถูกต้องครบถ้วนนการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี

10.4 เมื่อปี พ.ศ.2557 พรรคเพื่อไทย ได้พิจารณาส่งร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในสังกัดพรรคเพื่อไทย

10.5 ในปี พ.ศ.2562 ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทน ในสังกัดพรรคพลังประชารัฐ และได้รับความไว้วางใจจากประชาชนเลือก ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมผ่า เป็นผู้แทนราษฎของประชาชนในเขต 1 จังหวัดพะเยาด้วยคะแนนเสียงจำนวน 52,417 คะแนน ซึ่งเป็นคะแนนที่สูงมาก เมื่อเทียบกับเขตการเลือกตั้งทั่วประเทศไทย ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า จึงเป็นผู้มีคุณสมบัติถูกต้องครบถ้วน ในการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญในปัจจุบันด้วย