เตรียมพัฒนาโรงไฟฟ้าชีวมวล ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ?

เตรียมพัฒนาโรงไฟฟ้าชีวมวล ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

สํานักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จัดทำแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าระยะยาวของประเทศ (PDP)

ระบุ

สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงถ่านหินจะเป็นเพียงตัวเลือกในแผนฉบับใหม่เท่านั้น ไม่จำเป็นต้องมีการกำหนดสัดส่วนลงในแผนเหมือนกับแผนเมื่อปี 2558

เนื่องจากต้องการให้เกิดความยืดหยุ่นในการผลิตไฟฟ้าและไม่ต้องการกำหนดแบบตายตัวว่าจะต้องใช้เชื้อเพลิงใดในการผลิตไฟฟ้า

นอกจากนี้ การผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ปัจจุบันราคานำเข้าไม่แพงและสามารถแข่งขันกับถ่านหินได้

รวมทั้งการจัดหา LNG ยังสามารถจัดหาได้จากหลายพื้นที่ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องกลับมาทบทวนว่าจำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่ภาคใต้หรือไม่ ขณะเดียวกัน หากต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินจะต้องสร้างในพื้นที่ใด

จากการศึกษาศักยภาพวัตถุดิบชีวมวลในพื้นที่ภาคใต้สามารถพัฒนาโรงไฟฟ้าชีวมวลใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้รวม 300 เมกะวัตต์ จากปัจจุบันมีกำลังการผลิตจากโรงไฟฟ้าชีวมวลรวม 50 เมกะวัตต์ โดยจะส่งเสริมให้โครงการเป็นของชุมชน

สำหรับการสร้างสายส่งเชื่อมจากโรงไฟฟ้า 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มาป้อนแก่ภาคใต้ด้านบนนั้น ทางรัฐบาลจะเป็นผู้ลงทุน ไม่ใช่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ลงทุน การก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลจะเป็นโรงไฟฟ้าที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการขายไฟฟ้า

ภาคประชาชน ภาระค่าไฟฟ้าจะได้ประโยชน์ทั้งการขายเชื้อเพลิงและการจ้างงาน โดยภาครัฐจะดูแลเรื่องความมั่นคงในการก่อสร้างควบคู่กันไป คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 2-3 ปี