E-DUANG : บทบาทของ”เกม” และการกำหนด

ปรมาจารย์การเมืองยุคหลังการเลือกตั้งเดือนมกราคม 2544 ท่าน หนึ่งเคยกล่าวสรุปการต่อสู้ทางการเมืองว่า

ใครกำหนด”เกม” คนนั้น “ชนะ”

มีความพยายามใช้อำนาจเข้าไปยึดครองบทบาทในการกำ หนด “เกม” ผ่านกระบวนการรัฐประหารมาแล้วอย่างน้อยที่สุดก็เมื่อเดือนกันยายน 2549

ผ่าน “รัฐธรรมนูญ” ผ่าน “การยุบพรรค”

แต่แล้วก็ไม่สามารถกำชัยได้จากสนามเลือกตั้งเดือนธันวาคม 2550 หรือแม้กระทั่งล่าสุดในสนามเลือกตั้งเมื่อเดือนกรกฎาคม 2554

จึงได้เกิดรัฐประหารอีกในเดือนพฤษภาคม 2557 เพื่อหวังจะเป็นคนกำหนด “เกม”

 

ทั้งๆที่สามารถยกร่าง “รัฐธรรมนูญ” ออกมาได้ตามความต้องการทุกประการ

ทั้งๆที่ใช้เวลา”บริหาร”มาเกือบ 4 ปี

แต่จนแล้วจนรอด “คสช.”ซึ่งอยู่ในฐานะเป็นผู้กำหนด”เกม”ก็ยังไม่มั่นใจ

เกรงว่าประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย

พ่ายแพ้เหมือนที่เคยพ่ายแพ้เมื่อเดือนมกราคม 2544 เหมือนที่เคยพ่ายแพ้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2548 เหมือนที่เคยพ่ายแพ้เมื่อเดือนธันวาคม 2550 เหมือนที่เคยพ่ายแพ้เมื่อเดือนกรกฎาคม 2554

เพราะว่าไม่แน่ใจใน”รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560” เพราะว่าไม่แน่ใจว่า “ประชารัฐ” และ”ไทยนิยม” จะสร้างความยั่งยืนให้ตามที่ต้องการหรือไม่

จึงยังละล้าละลัง จึงยังไม่สามารถกำหนด”วันเลือกตั้ง”ให้เป็นที่แน่นอน

เท่ากับ แม้จะกำหนด”เกม”ก็ยังไม่”กำชัย”ได้หรือ

 

คำตอบอยู่ที่ว่าการกำหนดเกมมิได้อยู่ที่”รัฐธรรมนูญ”หากอยู่ที่ความสามารถในการศึกษาและทำความเข้าใจต่อ”รัฐธรรมนูญ”

ปรับและกำหนด”เกม”ขึ้นมา “ใหม่”

เหมือนปรับจาก”รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540″เหมือนปรับจาก”รัฐ ธรรมนูญ พ.ศ.2550″และจำเป็นต้องปรับให้สอดรับกลมกลืนเข้ากับ “รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560”

ตรงนี้ต่างหากคือ การกำหนด”เกม”ในทางเป็นจริง