E-DUANG : บทบาท นปช. ผ่าน”เสื้อแดง” ถูกแทนที่ โดย”ราษฎร 2563”

สถานะของ “นปช.” ได้กลายเป็น “คำถาม” อันแหลมคมมากยิ่งขึ้นเป็นลำดับ

พลันที่เกิด”สภาพการณ์”อันเกี่ยวกับ”คนเสื้อแดง”

ไม่ว่าจะเป็นคำประกาศจากพรรคเพื่อไทยเรียกร้องให้”คน เสื้อแดง”เข้ามาอยู่ใน”ครอบครัว”พรรคเพื่อไทย เพื่อก่อให้เกิดปรา กฎการณ์”แลนด์สไลด์”ทางการเมือง

ไม่ว่าจะเป็นคำประกาศเรียกร้องให้มีการรำลึงถึงสถานการณ์เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 โดยไปรวมตัวกัน ณ แยกราชประสงค์

ขณะที่แกนนำนปช.ที่นำโดย นายจตุพร พรหมพันธุ์ จัดงานรำลึก ณ แห่งหนึ่ง ขณะที่แกนนำนปช.ที่นำโดย นายณัฐวุฒิ ไสย เกื้อ จัดงานรำลึกและทำบุญ ณ อีกแห่งหนึ่ง

คำถามจึงมิได้อยู่ที่ว่าทำไม นายจตุพร พรหมพันธุ์ ซึ่งเป็นประธานนปช. และ นายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ ซึ่งเป็นเลขาธิการนปช.จึงไม่ร่วมกันจัดงานเหมือนที่เคยจัด

และนำไปสู่คำถามว่านปช.ในฐานะแห่งความเป็น”องค์กร”ทางการเมืองยังดำรงอยู่ในทางเป็นจริงหรือไม่

หรือว่า “นปช.”ได้หมดบทบาทไปแล้วอย่างสิ้นเชิง

 

คำถามต่อการดำรงอยู่ของนปช.ในฐานะ”องค์กร” ไม่ว่าจะมาจาก นายจตุพร พรหมพันธุ์ ไม่ว่าจะมาจาก นายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ ตรงกัน

นั่นก็คือ องค์กรมิได้มีการประชุมร่วมเนื่องจากกรรมการและแกนนำต่างมีภาระของตนโดยเฉพาะการติดคุกติดตะราง

ความหมายในทางเป็นจริงก็คือ แม้ว่าโครงสร้างในทางนาม ธรรมยังดำรงอยู่เพราะยังมีประธาน เพราะยังมีเลขาธิการ แต่การ ขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบเป็นขั้นตอนไม่มี

เห็นได้จาก นายจตุพร พรหมพันธุ์ ก็ไปร่วมกับองค์กรอื่นใน การเคลื่อนไหว”ไทยไม่ทน” เห็นได้จาก นายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ ก็ไป ร่วมกับองค์กรอื่นในการเคลื่อนไหว”คาร์ม็อบ”

ยิ่งมีการป่าวมนต์เรียก”คนเสื้อแดง”ให้กลับบ้านและเข้าร่วม

ใน”ครอบครัว”เพื่อไทยยิ่งให้บทบาทของ”นปช.”ค่อยๆหมดไป

 

เส้นทางของนปช.จึงเป็นเส้นทางเดียวกับเส้นทางของ”คนเดือนตุลา”ซึ่งมีรากฐานมาจากการเคลื่อนไหวเดือนตุลาคม 2516 และ เส้นทางเดียวกันกับ”คนเดือนพฤษภา”ที่มีบทบาทเมื่อปี 2535

นั่นก็คือ ค่อยๆลดบทบาท ค่อยๆถอยห่างออกไป

ยิ่งเกิด”เยาวชนปลดแอก” เกิด”แนวร่วมธรรมศาสตร์และการ ชุมนุม”กระทั่งยกระดับเป็น”คณะราษฎร 2563”

บทบาทของ”ผู้อาวุโส”แต่ละยุค แต่ละรุ่นก็ค่อยๆหมดไป