E-DUANG : พัฒนาการ ขบวนการ เสื้อแดง พัฒนาการ แกนนำ คนเสื้อแดง

หลักการที่ว่า ยิ่งขบวนการ”คนเสื้อแดง”เติบใหญ่มากเพียงใด แกนนำ”คนเสื้อแดง”จะยิ่งเล็กลง เล็กลงเพียงนั้น อันเสนอโดย นายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ

แหลมคมและท้าทายต่อการเติบใหญ่ของขบวนการ”คนเสื้อ แดง”เป็นอย่างยิ่ง

เพราะดำเนินไปในลักษณะที่มี”ความขัดแย้ง”อยู่ในตัวเอง

เป็นความขัดแย้งซึ่งไม่เพียงแต่จะหมายความว่าท่ามกลาง พัฒนาการเติบใหญ่ของ”คนเสื้อแดง”ในลักษณะอันเป็น”ขบวน การ” การดำรงอยู่ของ “แกนนำ”ก็จะยิ่งมีความหมายน้อยลง

ไม่ว่าจะมองไปยังภาพของ นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ ไม่ว่าจะมองไปยังภาพของ นางธิดา ถาวรเศรษฐ ไม่ว่าจะมองไปยังภาพ ของ นายจตุพร พรหมพันธุ์ หรือภาพของ นายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ

หากประเมินจากที่แสงแห่งสปอตไลต์ยังคงฉายจับต่อแต่ละ ก้าวย่างของ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ต่อแต่ละก้าวย่างของ นายณัฐ วุฒิ ไสยเกื้อ แนวทางนี้ก็แสดงภาวะขัดแย้งในตัวเอง

กระนั้น หากคำนึงถึงสภาพความเป็นจริงที่พรรคเพื่อไทยได้หันมาแต่งองค์ทรงเครื่องโดยเอา”สีแดง”มาเป็นธงนำ ก็ต้องยอม รับว่าสถานะของ”คนเสื้อแดง”ไม่ธรรมดาอย่างแน่นอน

 

ความสัมพันธ์ระหว่าง 1 พรรคเพื่อไทย กับ 1 คนเสื้อแดง เป็นความสัมพันธ์ที่ประจักษ์อย่างเด่นชัด มองเห็นอย่างเป็นรูปธรรม

เพราะ”คนเสื้อแดง”เป็นผลิตผลจากรัฐประหาร 2549

เป็นความเคลื่อนไหวอย่างที่ นางธิดา ถาวรเศรษฐ สรุปอย่าง รวบรัดว่าเป็นองค์กรทางการเมืองที่ใกล้ชิดอยู่กับพรรคเพื่อไทยและคนของพรรคเพื่อไทย

บทสรุปนี้สอดรับกับที่ นายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ อธิบายในระยะต่อมาหลายครั้งว่า บทบาทของพวกเขาที่โดดเด่นก็เพราะว่าทำงานอย่างสอดรับกับเป้าหมายและความต้องการทางการเมือง

นั่นก็คือ ต่อต้าน “รัฐประหาร” และเรียกร้อง”ประชาธิปไตย”

ขบวนการ”คนเสื้อแดง”จึงเป็นขบวนการที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐประหาร และดำรงอยู่บนหลักการประชาธิปไตย การเลือกตั้ง

ใครที่ยืนหยัดอยู่กับแนวทางนี้ก็เป็น”คนเสื้อแดง”ได้

 

เมื่อติดตามบทบาทของ”แกนนำ”คนเสื้อแดงอย่างเห็นพัฒนาการก็จะสัมผัสได้ว่า ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพความเป็นจริงในแต่ละห้วงเวลาทางการเมือง

มีจำนวนมากที่ยืนหยัด มีจำนวนหนึ่งที่ละทิ้งแนวทาง

พลันที่ละทิ้งแนวทางความเป็น”คนเสื้อแดง”ก็สิ้นสุด ขณะที่ยิ่งดำรงในแนวทางความเป็น”คนเสื้อแดง”ยิ่งเข้มข้น

“ประชาธิปไตย”ต่างหากคือเครื่องทดสอบ”คนเสื้อแดง”