E-DUANG : สายตา ทอดมอง พลังประชารัฐ สายตา ทอดมอง สู่”ภูมิใจไทย”

การไหลเข้าพรรคภูมิใจไทยของ 3 ส.ส.จากพรรคพลังประชารัฐในห้วงของ”วันแห่งความรัก” ได้รับการประเมินจากแต่ละเกจิทางการ เมืองด้วยความคึกคักแหลมคม

มองเห็นเป็นความสำเร็จของพรรคภูมิใจ มองเห็นเป็นความเชี่ยวชำนาญทางการเมืองของพรรคภูมิใจไทย

ขณะเดียวกัน ก็มองเห็นเป็นความล้มเหลวของพรรคพลังประ ชารัฐ และมองเห็นเป็นความล้มเหลวของพรรคเศรษฐกิจไทยซึ่งเพิ่ง ตั้งไข่ในทางการเมือง

นิ้วโป้งที่ยกขึ้นชูจึงเป็นการชูให้กับ นายอนุทิน ชาญวีรกูล

พร้อมกันนั้น สายตาที่มองไปยัง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ สายตาที่มองไปยัง ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ย่อมเป็นสายตาแห่งสมเพชเวทนา

เท่ากับเป็นบทสรุปด้านที่”รุ่งโรจน์” เท่ากับเป็นบทสรุปด้านที่

“อับเฉา”ทางการเมืองในห้วงเวลาเดียวกัน เท่ากับสะท้อน”ค่านิยม”อันดำรงอยู่ในสังคมการเมืองปัจจุบัน

นั่นก็คือ การเมืองกระแส”หลัก” การเมือง”เก่า”ที่ดำรงอยู่

 

แท้จริงแล้ว สภาพที่พรรคพลังประชารัฐประสบก็เป็นสภาพที่มีการ คาดหมายอยู่แล้วในทางการเมือง จากยุคพรรคเสรีมนังคศิลากระ ทั่งพรรคสามัคคีธรรม

นั่นต้องย้อนกลับไปดูว่ากำเนิดแห่งพรรคพลังประชารัฐนับแต่เดือนเมษายน 2561 เกิดขึ้นและดำรงอยู่อย่างไร

นักการเมืองจากตระกูล”ช่างเหลา”มีรากฐานความเป็นมาอย่างไร นักการเมืองจากตระกูล”พันธ์เกษม”เคยผ่านพรรคการเมือง มาแล้วกี่พรรคก่อนมาอยู่พรรคพลังประชารัฐ

กระบวนการในแบบพรรคภูมิใจไทย กับ กระบวนการในแบบพรรคพลังประชารัฐ จึงแทบมิได้แตกต่างกัน และเส้นทางต่อไปก็ไม่ 

น่าจะแตกกันตราบที่แต่ละฝ่ายยังเล่นการเมืองวนเวียนอยู่เช่นนี้

 

ยอมรับเถิดว่าท่วงทีและลีลาอย่างที่พรรคภูมิใจไทยใช้ ท่วงทีและลีลาอย่างที่พรรคพลังประชารัฐใช้ คือด้านหลักที่ครอบงำตลอดทั่ว ทั้งสังคมการเมือง

เมื่อพรรคพลังประชารัฐนำมาใช้สังคมก็ชูหัวแม่โป้งให้

เมื่อพรรคประชารัฐประสบชะตากรรมในแบบเดียวกันกับพรรค สามัคคีธรรมประสบในปี 2535 สังคมก็รู้สึกเอน็จอนาถใจ

นี่คือกงกรรมอันเป็นไปตามกงเกวียนที่เวียนวนเที่ยงแท้แน่นอน