E-DUANG : ​​บทบาท จาก เยาวชนปลดแอก กระดานหก เข้าสู่วาระ ตุลาคม

เหตุใดการเคลื่อนไหว”19 กันยา ทวงอำนาจ คืนราษฎร”จึงทรงบท บาทและมีความหมายมากยิ่งขึ้นเป็นลำดับ

แม้ว่า”อำนาจ”ยังมิได้เป็นของ”ราษฎร”อย่างสมบูรณ์

คำตอบ 1 คือการสร้าง”ธรรมศาสตร์”ให้กลายเป็นพื้นที่ที่สำคัญในทางประวัติศาสตร์

คำตอบ 1 คือการคืนความหมายให้กับ”สนามหลวง”

เมื่อนำเอาบทบาทและความหมายไม่ว่าสนามหลวง ไม่ว่าธรรม ศาสตร์ ประสานเข้ากับการจัดงานรำลึก 44 ปี วีรชน 6 ตุลาคม ก็จะก่อรูปแห่งความเข้าใจขึ้นโดยอัตโนมัติ

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อกรรมการผู้จัดงาน 44 ปี วีรชน 6 ตุลาคมอย่างหนักแน่นและจริงจังว่า ผู้เสียสละในสถานการณ์เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 เมื่อ 44 ปีก่อนคือ “วีรชน”

สถานะของผู้เสียสละในวันที่ 6 ตุลาคมจึงอยู่ในระนาบเดียวกัน กับผู้เสียสละในวันที่ 14 ตุลาคม

เดือนตุลาคม 2563 จึงทรงความหมายในทางประวัติศาสตร์

 

สภาพการณ์ทั้งหมดนี้เริ่มต้นตั้งแต่การเคลื่อนไหวของ”เยาวชนปลด แอก”เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และตามมาด้วยการเคลื่อนไหวอย่างคึกคัก

ไม่ว่าจะเป็นที่เชียงใหม่ ไม่ว่าจะเป็นที่อุบลราชธานี ไม่ว่าจะเป็นที่ปัตตานี ไม่ว่าจะเป็นที่ราชบุรี

ที่สำคัญเป็นอย่างมากก็คือ การเคลื่อนไหวของ”แนวร่วมธรรม ศาสตร์และการชุมนุม” ณ ลานพญานาค มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม

นั่นคือการยกระดับในเชิงปริมาณจาก”เรือนพัน”เป็น”เรือนหมื่น”

และพลันที่มีการเคลื่อนไหวโดย”เยาวชน/ประชาชนปลดแอก” ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ในวันที่ 16 สิงหาคม ก็มีนักเรียน นิสิตนักศึกษา ประชาชนเข้าร่วมเป็นเรือน”หลายหมื่น”

และเมื่อถึง”19 กันยา ทวงอำนาจ คืนราษฎร” ปริมาณก็ทะยานไปถึง”เรือนแสน”

 

จึงเด่นชัดว่าจาก”อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย”ไปยัง”19 กันยา ทวงอำ นาจ คืนราษฎร” คือกระดานหกอันทรงความหมายให้กับการเคลื่อน ไหวในเดือนตุลาคมที่จะถึง

ไม่ว่าจะในวันที่ 6 ตุลาคม ไม่ว่าจะในวันที่ 14 ตุลาคม

บนพื้นที่อันสำคัญตั้งแต่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สนามหลวง อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย พร้อมรอรับประชาชนเรือนแสนเข้าร่วม

นี่ย่อมเป็นอีกบาทก้าวหนึ่งของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย