E-DUANG : ประชามติ ชุมชน ออนไลน์ จากปั้นจั่น มาถึง ทาทา ยัง

ไม่ว่ากรณี ปั้นจั่น ปรมะ ไม่ว่ากรณี ทาทา ยัง เป้าหมายเริ่มจากจุดเดียวกัน ใกล้เคียงกัน

1 กระหน่ำไปยังพรรคอนาคตใหม่

1 กระหน่ำไปยังโฆษกพรรคอนาคตใหม่ น.ส.พรรณิการ์ วานิช

ทุกอย่างเป็นไปตามกฎพื้นฐานของ เซอร์ไอแซค นิวตัน

นั่นก็คือ เมื่อมีแรงกดก็บังเกิดแรงต้าน ต้องการกดพรรคอนาคตใหม่ ต้องการทำให้ภาพลักษณ์ของ น.ส.พรรณิการ์วานิช ด้อยค่าหมดราคา

แต่ผลกลับเป็นตรงกันข้าม

กลายเป็น ปั้นจั่น ปรมะ ต่างหากที่โดน กลายเป็น ทาทา ยัง ต่างหากที่โดน

 

อาการโดนในที่นี้วัดจากอารมณ์ความรู้สึกในทางสังคมที่ย้อนกลับไปกระหน่ำสู่ ปั่นจั่น ปรมะ ย้อนกลับไปกระหน่ำสู่ ทาทา ยัง อย่างเป็นรูปธรรม

นั่นก็คือ ไม่เพียงแต่จะมีการแสดงออกผ่านทวิตเตอร์ ผ่านอินสตาแกรม ผ่านไลน์

หากแต่หนังของ ปั่นจั่น ปรมะ เจ๊ง

กล่าวสำหรับ ทาทา ยัง บรรดาคนที่ไม่พอใจแสดงปฏิกิริยาผ่านหน้าเพจจากที่เคยมีระดับ 10 ทะยานเป็นระดับ 1,000 เป็นระดับ 10,000

ล้วนเป็นความหงุดหงิด ล้วนเป็นความไม่พอใจ

เป้าหมายเพื่อปกป้องพรรคอนาคตใหม่ เป้าหมายเพื่อปกป้อง น.ส.พรรณิการ์ วานิช

กระทั่ง ทาทา ยัง ต้องออกมาอธิบาย

กระทั่งมีความเชื่อว่าการแสดงคอนเสิร์ททาทา ยัง ในอนาคตอันใกล้อาจประสบชะตากรรมเดียวกับหนังปั่นจั่น ปรมะ

นี่คือ สงครามสั่งสอนในโลก”ออนไลน์”

 

จากกรณีของ ปั่นจั่น ปรมะ มายังกรณีของ ทาทา ยัง สะท้อนให้เห็นการเติบใหญ่อย่างคึกคักของสังคมออนไลน์ กำลังกลายเป็น การแสดงออกของ”ม็อบ”ในยุคอินเตอร์เน็ต

พวกเขาไม่ได้ออกจากบ้านมาชูป้ายบ่งบอกความรู้สึก

ตรงกันข้าม พวกเขาใช้”พื้นที่”เกิดใหม่ อันได้แก่ ทวิตเตอร์ เฟซบุ๊ค ไลน์ อินสตาแกรม

ก่อให้เกิดชุมชน ก่อให้เกิด”ประชามติ”