E-DUANG : รูปการ การชุมนุม ยุค ”ตะวัน” เป็นชุมนุม ”ย่อย” มิใช่ “ใหญ่”

หากนับจากรุ่นของ รุ้ง ปภัสยา แห่งแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมมายังรุ่นของ “ทานตะวัน” และ”เมนู”ที่ต้องคดีเนื่องจากมาตรา 112

ก็ต้องยอมรับว่า ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมากในเรื่อง ของรุ่น ในเรื่องของอายุ

มองในเชิงเปรียบเทียบ การปรากฏขึ้นของ ทนายอานนท์ นำภา ประสานเข้ากับ ไมค์ภาณุพงศ์ จาดนอก แม้จะสอดแซมมาด้วย พริษฐ์ เพนกวิ้น และ ไผ่ ดาวดิน

ก็ต้องยอมรับว่าสีสันและบรรยากาศละม้ายแม้นกับ”กลุ่มเรียก ร้องรัฐธรรมนูญ”เมื่อเดือนตุลาคม 2516 ที่นอกจากจะมี วิสา คัญทัพ แล้วก็ยังมี ประพันธ์ศักดิ์ กมลเพชร

นอกจากจะมี ก้องเกียรติ คงคา ก็ยังมี นพพร สุวรรณพานิช

และเมื่อบรรดาคณาจารย์ทั้งหลายเดินทางไปเยี่ยม 13 กบฏที่

ถูกจับกุมก็เห็นภาพของ  ดร.ปราโมทย์ นาครทรรพ ประสานเข้ากับภาพของ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ

แต่เมื่อนับจากรุ่นของ รุ้ง ปภัสยา มายังรุ่นของ”ตะวัน”และ”เมนู” ก็ถือว่าเป็น”เยาวรุ่น”อายุน้อยลงเป็นลำดับ

 

ยิ่งกว่านั้น พลันที่ปรากฏปรากฎการณ์อย่างที่เรียกว่า “ทะลุแก๊ส”ขึ้นในพื้นที่สามเหลี่ยมดินแดง และค่อยๆขยายแนวไปยังอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิและย่านราชปรารภ

ต้องยอมรับว่าบรรดา”ทะลุแก๊ส”ที่ถูกจับกุม ก็เยาวเรศรุ่นเจริญ ศรีลงกระทั่งมีเยาวชนอายุ 12 และ 13 ปีด้วยซ้ำไป

บรรดานักข่าวที่ติดตามบทบาทการเคลื่อนไหวทางการเมืองตั้งแต่ยุคพฤษภาคม 2535 กระทั่งพฤษภาคม 2553 และมาถึงเยาวชนปลดแอกในเดือนกรกฎาคม 2563

มีบทสรุปตรงกันว่า บรรดา”นักเคลื่อนไหว”ทั้งชายหญิงมีคน

อายุน้อยลงและน้อยลงเข้าร่วมหนาตาและหนาตาเป็นอย่างมาก

 

ขณะเดียวกัน ลักษณะของการเคลื่อนไหวก็แตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากยุคเดือนตุลาคม 2516 จากยุคเดือนพฤษภาคม 2535 และแม้กระทั่งเดือนตุลาคม 2563 เป็นการชุมนุม”ย่อย”มิใช่”ใหญ่”

การเคลื่อนไหวในย่านการค้าตลอดเดือนเมษายน 2565 เป็นการเคลื่อนไหวของเยาวรุ่นเพียง 3 หรืออย่างมากก็ 5

ทั้งหมดนี้ล้วนเป็น”โจทย์”ล้วนเป็น”สาร”ใหม่ในทางการเมือง