E-DUANG : ผลสะเทือน ทางความคิด การเมือง ต่อ19 กันยา ทวงอำนาจ คืนราษฎร

ปรากฎการณ์ “19 กันยา ทวงอำนาจ คืนราษฎร” กำลังให้บทเรียนในทางความคิด ในทางการเมือง อย่างกว้างขวาง ลึกซึ้ง

บทเรียนจากกลุ่มที่เรียกตนเองว่า “ประชาคมธรรมศาสตร์”

มองผ่านชื่อ มองผ่านบทบาทของพวกเขาก็จะเข้าใจ

เข้าใจว่าเหตุใดคนที่เคยมีบทบาทในเหตุการณ์เมื่อเดือนตุลาคม 2516 แต่เมือ่ถึงระยะกาลหนึ่งกลับผนึกพลังร่วมเป็นพันธ มิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

ปูทาง สร้างเงื่อนไขและเพรียกหาอำนาจดิบเถื่อนจากกระบวน การรัฐประหาร

หากมองอย่างเข้าใจต่อกระบวนการของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ก็จะเข้าใจมากยิ่งขึ้นต่อกระบวนการของมวลมหาประชาชนกปปส.

คนเหล่านี้ล้วนแต่สมาทานกับรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 ต่อเนื่องถึงรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557

 

การแปรเปลี่ยนจากคนที่เคยเพรียกหารัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิป ไตยจาก จอมพลถนอม กิตติขจร เมื่อเดือนตุลาคม 2516 แปรเปลี่ยนเป็นผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ได้อย่างไร

รู้ๆทั้งรู้ว่ารากฐานที่มาของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 สัมพันธ์กับรัฐประหารอย่างไรและมีเป้าหมายอย่างใดในทางการเมือง

แต่เมื่อถลำลงไปในปลักตมแห่งการเพรียกหารัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 ก็ต่อเนื่องมายังการพิทักษ์รัฐประหารในเดือน พฤษภาคม 2557

ปลักโคลนแห่งลัทธิฉวยโอกาสนั้นไม่ว่าใครก็ตามที่ถลำลงไปแล้วก็ยากที่จะถอนตัวขึ้นมาได้อย่างง่ายดาย ยิ่งเป็นการฉวยโอกาส ภายใต้วิธีวิทยาแห่งปัญญาชนยิ่งตกไปอย่างลึกซึ้ง

กระทั่งออกมาสวดภาวนาแม้กระทั่งอนุสาสน์ที่ตนเองไม่เคยเชื่อ

 

กว่าสถานการณ์”19 กันยา ทวงอำนาจ คืนราษฎร”จะเดินทางมาถึงในทางเป็นจริง สังคมจะได้รับรู้ในความวิปริตแปรปรวนระลอกแล้วระลอกเล่าในทางความคิด

ที่สำคัญล้วนมาจากคนที่ปากพร่ำบ่นถึง”ประชาธิปไตย”

เป็นประชาธิปไตยจากรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 เป็น ประชาธิปไตยจากรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557

เมื่อสมาทานผ่านตำแหน่งที่ได้รับ เกียรติยศที่เสพเสวย

ก็บังเกิดอาการลุ่มหลังกระทั่งคลุ้มคลั่งต่อประชาธิปไตยจอมปลอมอัน”เผด็จการ”หยิบยื่นให้