E-DUANG : ท่าที ท่วงทำนอง ต่อโซเชียล ประชาธิปัตย์ ชาติไทยพัฒนา

ไม่จำเป็นต้องนำท่าทีต่อ “โซเชียล มีเดีย”ของ พล.อ.ประวิตร วงษ์ สุวรรณ ไปวางเรียงเคียงกับ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ แห่งพรรค

อนาคตใหม่

เพียงนำเอาท่าทีของ นายจุติ ไกรฤกษ์ นายวิรัตน์ กัลยาศิริ จากพรรคประชาธิปัตย์

ไปวางเรียงเคียงกับท่าทีของ นายวราวุธ ศิลปอาชา นายภราดร ปริศนานันทกุล จากพรรคชาติไทยพัฒนา

ก็สัมผัสได้ใน “ความต่าง”

2 หนุ่มใหญ่จากพรรคชาติไทยพัฒนามีความคุ้นเคยกับ”โซเชียล มีเดีย” เหนือกว่า “ผู้อาวุโส”จากพรรคประชาธิปัตย์อย่างเห็นได้ชัด

“โซเชียล มีเดีย” จะกลายเป็น”เส้นแบ่ง”อย่างสำคัญ

 

สังคมไทยในปัจจุบันอาจสรุปได้ว่าไม่มีใครจะรอดพ้นไปจากอิทธิพลของ “โซเชียล มีเดีย”

เพียงแต่ว่าเมื่อกระทบแล้วมี”ท่าที”อย่างไร

ท่าทีในแบบ นายจุติ ไกรฤกษ์ นายวิรัตน์ กัลยาศิริ เป็นท่าทีที่หวาดระแวง ไม่แน่ใจ

ต้องการเป็นการกำกับ การควบคุม

ท่าทีในแบบ นายวราวุธ ศิลปอาชา นายภราดร ปริศนานันทกุล เป็นท่าทีเป็นมิตร พร้อมไต่ไปบนยอดคลื่นอย่างร่าเริง หฤหรรษ์

จึงไม่แปลกที่พวกเขาในส่วนหลังเรียกร้องให้เปิ ดกว้าง อย่าไปควบคุม

ประเด็นอยู่ที่ว่า ควบคุมได้หรือไม่ในทางเป็นจริง

ประเด็นอยู่ที่ว่า แต่ละกลุ่มแต่ละพรรคการเมืองจะทำความเข้าใจกับกระแสของ”โซเชียล มีเดีย”อย่างไร

คำตอบวางรออยู่ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า

 

ไม่ว่าการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ไม่ว่าการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันที่ 5 พฤษภาคม 2562

แต่ยากอย่างยิ่งที่จะปฏิเสธ “โซเชียล มีเดีย”

กลุ่มและพรรคการเมืองใดออกตัวได้ก่อนเท่ากับช่วงชิงความได้เปรียบได้ก่อน กลุ่มและพรรคการเมืองใดออกตัวได้ช้าเท่ากับล้าหลัง

โซเชียล มีเดีย” คือ โจทย์สำคัญในทางการเมือง