ภาพชุดบันทึกเหตุ 19 กันยา 49 ปฏิวัติปิดฉาก “ทักษิณ” สยบขัดแย้ง-รุนแรง-แบ่งฝ่าย

 

และแล้วข่าวลือก็เป็นจริง

หลังจากก่อนหน้าที่จะมีการปฏิวัติรัฐประหารในคืนวันที่ 19 กันยายนนั้น มีข่าวออกมาอย่างต่อเนื่องว่า มีความพยายามจากทหารบางกลุ่มที่จะทำการ “ปฏิวัติ”

แต่ก็ไม่ใช่ว่า รัฐบาล โดยเฉพาะ “พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร” นายกรัฐมนตรี จะไม่ระแวงถึงกระแสข่าวการปฏิวัตินี้

จะเห็นได้ว่า ในช่วงการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ “พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร” ตั้งแต่ปี 2544 นั้น

มีความพยายามในการที่จะนำนายทหารที่เป็นพรรคพวกของตัวเอง โดยเฉพาะนายทหารร่วมรุ่นเตรียมทหาร 10 หรือ ตท.10 มานั่งในตำแหน่งสำคัญๆ

โดยเฉพาะในตำแหน่งที่คุมกำลังใน กทม. และปริมณฑล ซึ่งเป็นหน่วยกำลังหลักที่มักถูกใช้ในการปฏิวัติ-รัฐประหารมาแล้วในอดีต

เป็นการโยกย้ายภายใต้สมมติฐานว่า พ.ต.ท.ทักษิณต้องการจัดระเบียบกองทัพ เพื่อป้องกันการปฏิวัติจากฝ่ายทหาร

การแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารในช่วงปีแรกๆ ของรัฐบาลทักษิณนั้น ยังไม่เกิดปฏิกิริยาต่อต้านรุนแรงมากนัก

เนื่องจากรัฐบาลทักษิณยังได้รับคะแนนนิยมอย่างมากจากประชาชน

แต่เมื่อความพึงพอใจของประชาชนต่อ พ.ต.ท.ทักษิณเริ่มลดลง เกิดการแบ่งฝ่ายของคนที่ชอบและไม่ชอบ พ.ต.ท.ทักษิณอย่างเห็นได้ชัด

การโยกย้ายเพื่อนร่วมรุ่นในช่วงหลังนี้จึงเริ่มเห็นกระแสความไม่พอใจของทหารหลายคนในกองทัพออกมาให้เห็น

ที่รุนแรงมากที่สุดคือ การแต่งตั้งโยกย้ายทหารประจำปี ที่จะมีในเดือนตุลาคม 2549

รุนแรงและสร้างความไม่พอใจจนกระทั่งมีนายทหารยื่นหนังสือร้องเรียนต่อ “พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์” ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ

และรุนแรงจนมีนายทหารออกมาวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลผ่านสื่อมวลชน

รวมทั้ง มีนายทหารระดับแม่ทัพภาคอย่าง พล.ท.สพรั่ง กัลยาณมิตร แม่ทัพภาคที่ 3 ออกมาต่อว่า นายทหาร ตท.10 อย่างรุนแรง

กระทั่งวันที่ 19 กันยายน ก็มีกระแสข่าวลือออกมาอย่างมากว่า ทหารจะก่อการปฏิวัติ

มีข่าวลือของการเคลื่อนกำลังหลายแห่ง ทั้งจากหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ จ.ลพบุรี

จากกองทัพภาคที่ 3 จำนวน 4 กองพัน

จากกรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ กองทัพภาคที่ 1 จำนวน 5 กองพัน

จากกองพันทหารม้าที่ 23 และกองพันทหารม้าที่ 24 จากกองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์

และจากกองพลทหารราบที่ 9 จ.กาญจนบุรี

ท่ามกลางกระแสข่าวลือ “พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์” รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้เรียกประชุมผู้บัญชาการเหล่าทัพ เพื่อหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้

แต่ก็ไม่มีผู้บัญชาการเหล่าทัพคนใดเข้าร่วมประชุมแม้แต่คนเดียว

และมีการปฏิเสธกระแสข่าวปฏิวัตินี้กันตลอดวัน

แต่แล้ว ในเวลาประมาณ 22.00 น. รอบทำเนียบรัฐบาลก็ปรากฏกำลังทหารและรถถังกระจายกำลังคุมจุดต่างๆ ไว้ทั่ว และที่สุดก็เข้าคุมภายในทำเนียบรัฐบาล สถานีโทรทัศน์ สถานที่ราชการที่สำคัญต่างๆ รวมไปถึงบ้านพักของ พ.ต.ท.ทักษิณในซอยจรัญสนิทวงศ์ 69

และในเวลา 23.00 น. สถานีวิทยุโทรทัศน์ทุกช่องได้ออกประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ว่า คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งประกอบด้วย ผู้บัญชาการเหล่าทัพและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้เข้าควบคุมสถานการณ์ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลไว้ได้แล้ว

เหตุผลแรกๆ ที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขได้ใช้ในการยึดอำนาจในครั้งนี้ก็คือ

“เป็นที่ปรากฏการณ์แน่ชัดว่า การบริหารราชการแผ่นดินโดยรัฐบาลรักษาการปัจจุบัน ได้ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งแบ่งฝ่าย สลายความรู้รักสามัคคีของชนในชาติอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ชาติไทย ต่างฝ่ายต่างมุ่งหวังเอาชนะด้วยวิธีการหลากหลายรูปแบบ และมีแนวโน้มนับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น”

หากย้อนดูถึงความขัดแย้งตามที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขกล่าวอ้างนั้น

ก็จะเห็นเป็นที่ประจักษ์ชัดอยู่เหตุการณ์หนึ่ง

นั่นคือ เหตุการณ์ที่มีทั้งผู้ที่สนับสนุนและผู้ที่ไม่สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณออกมาเคลื่อนไหวอย่างชัดเจน

และยังรุนแรงถึงขั้นมีการปะทะกันให้เห็นเกิดขึ้น

กระบวนการขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณนั้น เด่นชัดและเห็นเป็นรูปธรรมตั้งแต่ปลายปี 2548 เมื่อมีการถอดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ที่มี “นายสนธิ ลิ้มทองกุล” เป็นผู้ดำเนินรายการ ออกจากผังรายการของสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ (ช่อง 9 อ.ส.ม.ท.)

จนทำให้เกิดการจัดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรตามสถานที่ต่างๆ นำมาสู่การชุมนุมขับไล่ครั้งใหญ่ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2549 ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า

และขยายไปเป็นการชุมนุมในนาม “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย”

ทั้งที่ลานพระรูปทรงม้าในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ และชุมนุมยืดเยื้อที่ท้องสนามหลวง ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ และอีกครั้งที่ท้องสนามหลวงในวันที่ 5 มีนาคม

นอกจากการชุมนุมใน กทม. แล้ว ในต่างจังหวัดทั่วประเทศ มีการชุมนุมกันในนามพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยอีกหลายแห่ง

และนอกจากจะมีการชุมนุมขับไล่แล้ว ก็ยังมีการเคลื่อนไหวจากกลุ่มอื่นๆ อีกด้วย

อาทิ การตั้งโต๊ะล่า 50,000 ชื่อเพื่อถอดถอน พ.ต.ท.ทักษิณของเครือข่ายนักศึกษารักประชาชน กลุ่มนักวิชาการ กลุ่มนักเรียนเพื่อประชาธิปไตย ชมรมแพทย์ชนบท เครือข่ายแพทย์อาวุโส

การเคลื่อนไหวของกลุ่มที่ไม่สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณนั้น ต่อเนื่องและขยายตัวออกไป จนมีแม่ค้ากลุ่มหนึ่งตะโกนขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณในระหว่างที่รับประทานอาหารอยู่ในย่านซอยละลายทรัพย์ เมื่อวันที่ 37 มีนาคม

แต่ก็ไม่แต่เพียงกลุ่มขับไล่เท่านั้น หากแต่ในช่วงหลัง กลับปรากฏกลุ่มสนับสนุน คอยติดตามให้กำลังใจ พ.ต.ท.ทักษิณ จน 2 กลุ่มเกิดการปะทะกันทั้งทางวาจา รุนแรงไปถึงการปะทะกันทางร่างกาย

ครั้งแรกในวันที่ 22 กรกฎาคม เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณเดินทางไปเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่โรงพยาบาลศิริราช เกิดมีกลุ่มสนับสนุนและกลุ่มต่อต้านตะโกนใส่กันจนเกิดความโกลาหล

และหลังจากนั้น เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณเดินทางไปตรวจราชการที่ จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม มีทั้งกลุ่มสนับสนุนและต่อต้านมารอที่ท่าอากาศยานทหารกองบิน 41 จนหวิดวางมวยใส่กัน

วันที่ 16 สิงหาคม พ.ต.ท.ทักษิณเดินทางจาก จ.เชียงใหม่ ไปยัง จ.ตาก ก็มีข่าวว่า มีกลุ่มต่อต้านมาชุมนุมที่ศาลากลาง แต่ไม่มีการปะทะกัน

เหตุการณ์รุนแรงมากขึ้นจนถึงขั้นทำร้ายร่างกายกัน

วันที่ 19 สิงหาคม เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณเดินทางเป็นประธานเปิดตัวหนังสือและซีดีที่ระลึกนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ห้างสรรพสินค้าพารากอน

มีประชาชนตะโกนไล่ จนทำให้ผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณเข้าไปรุมทำร้าย และมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของนายกรัฐมนตรีผลักผู้หญิงที่ตะโกนขับไล่จนล้ม

ต่อเนื่องอีกในวันที่ 20 สิงหาคม ระหว่างการประชุมเครือข่ายประชาสังคม หยุดระบอบทักษิณ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มีกลุ่มตัวแทนองค์กรประชาชนรักความสงบมาตะโกนต่อต้าน นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ตัวแทนเครือข่าย จนเกิดการโต้เถียงกันระหว่าง 2 ฝ่าย

และอีกครั้ง เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม ภายหลังจากที่ พ.ต.ท.ทักษิณเดินทางกลับจากการเป็นประธานเปิดงานดิจิทัล ทีเค พาร์ค ที่อุทยานการเรียนรู้ส่วนบริการ ชั้น 8 อาคารเซ็นทรัล เวิลด์ โดยมีการปะทะกันระหว่างกลุ่มผู้สนับสนุนและกลุ่มต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ จนมีผู้ได้รับบาดเจ็บ และมีการวิจารณ์ว่ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบทำร้ายกลุ่มต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณด้วย

สถานการณ์บานปลายมากยิ่งขึ้นจนหลายฝ่ายเป็นห่วงว่า จะรุนแรงเหมือนกับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ที่มีการแบ่งแยกมวลชน จนทำให้เกิดความรุนแรงถึงขั้นมีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ครั้งนั้นตรึงเครียดมากขึ้น เมื่อพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยประกาศชุมนุมยืดเยื้ออีกครั้งในวันที่ 20 กันยายน ประกาศไม่ให้ พ.ต.ท.ทักษิณที่อยู่ระหว่างปฏิบัติภารกิจที่สหรัฐอเมริกากลับประเทศไทย ท่ามกลางกระแสข่าวลือว่า จะมีการระดมมวลชนจากต่างจังหวัดมาต่อต้านการชุมนุมครั้งนี้

แต่แล้ว การชุมนุมทั้งหลายก็ต้องยุติลง เมื่อเกิดการยึดอำนาจในคืนวันที่ 19 กันยายน

ที่มีข้อสัญญาในท้ายของแถลงการณ์ว่า เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งความสงบสุขและความมั่นคงของชาติ รวมทั้งเทิดทูนไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่เคารพยิ่งของคนไทยทุกคน

ADDITION - In this TV grab taken off Thai TV Channel 5, senior Thai military officer Major General Prapass Sakuntanat announces on television that Thai armed forces have seized power from Prime Minister Thaksin Shinawatra, in Bangkok 20 September 2006. Thailand's military imposed martial law in Bangkok and revoked an emergency decree declared by Prime Minister Thaksin Shinawatra after staging a coup against the premier, a top general said. Thailand's military commander Lieutenant General Sonthi Boonyaratglin said the armed forces had taken control of the country. AFP PHOTO/Channel 5 / AFP PHOTO / CHANNEL 5 / STR
พล.ต.ประพาส สกุนตนารถ ที่ปรึกษาททบ.๕ อ่านแถลงการประกาศกฎอัยการศึกบังคบใช้ทั่วประเทศตั้งแต่ ๒๑.๐๕ น.ของวันที่ ๑๙ กันยายน ๔๙ โดยมีพลเอก สนธิบุญรัตนกลิน เป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปฯ (AFP PHOTO / CHANNEL 5 / STR)
TV grab from Chanel 5 shows Thailand's coup leader, General Sonthi Boonyaratglin (C) speaking during the annoucement of military coup at the army headquarters in Bangkok, 20 September 2006. Thailand's armed forces have seized power from Prime Minister Thaksin Shinawatra in a late-night bloodless coup, revoking the constitution and imposing martial law after months of political turmoil. AFP PHOTO / AFP PHOTO / chanel five / STR
สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 มีประกาศคณะปฎิรูป การปกครองฯ สั่งห้ามเคลื่อนย้ายกำลังทหาร โดยไม่ได้รับคำสั่งจากคณะปฏิรูป (AFP PHOTO / chanel five / STR)
A column of tanks guard a highway in suburban Bangkok, 21 September 2006.Thailand's ruling generals were set to impose tough new curbs on the media 21 September including a ban on expressions of public opinion, as they tightened their grip on power two days after a bloodless coup. AFP PHOTO/PORNCHAI KITTIWONGSAKUL / AFP PHOTO / PORNCHAI KITTIWONGSAKUL
AFP PHOTO / PORNCHAI KITTIWONGSAKUL
Thai soldiers stand guard on a military tank in front of the Royal Plaza in Bangkok, 20 September 2006. Thailand's armed forces seized 19 September power from Prime Minister Thaksin Shinawatra in a late-night bloodless coup, revoking the constitution and imposing martial law after months of political turmoil. AFP PHOTO/PORNCHAI KITTIWONGSAKUL / AFP PHOTO / PORNCHAI KITTIWONGSAKUL
AFP PHOTO / PORNCHAI KITTIWONGSAKUL
Thai soldiers stand guard on military tanks in front of the Government House in Bangkok, late 19 September 2006. Heavily-armed troops backed by tanks took control of the Thai premier's office in Bangkok while Prime Minister Thaksin Shinawatra was out of the kingdom, witnesses said. Witnesses outside government house in central Bangkok said forces loyal to sacked military commander Lieutenant General Sonthi Boonyaratglin had taken took control of the building in what appeared to be a coup. AFP PHOTO/PORNCHAI KITTIWONGSAKUL / AFP PHOTO / PORNCHAI KITTIWONGSAKUL
AFP PHOTO / PORNCHAI KITTIWONGSAKUL
Thai soldiers stand guard on a military tank at Royal Plaza in Bangkok, 20 September 2006. Thailand's armed forces seized 19 September power from Prime Minister Thaksin Shinawatra in a late-night bloodless coup, revoking the constitution and imposing martial law after months of political turmoil. AFP PHOTO/PORNCHAI KITTIWONGSAKUL / AFP PHOTO / PORNCHAI KITTIWONGSAKUL
AFP PHOTO / PORNCHAI KITTIWONGSAKUL
A group of Thai women shout slogana against ousted Prime Minister Thaksin Shinawtra in front of Thai military headquarters in Bangkok, 20 September 2006. Thailand's new military ruler General Sonthi Boonyaratglin pledged to resign from power in two weeks and restore democracy in a year, after sweeping aside Thaksin in a bloodless coup. AFP PHOTO/STR / AFP PHOTO / STR
AFP PHOTO / STR
A Thai soldier stands in front of a tank decorated with roses given by the supporters of the military coup, at Royal Plaza in Bangkok, 23 September 2006. Thailand's new military rulers were meeting to consider a new civilian premier after a bloodless coup deposed prime minister Thaksin Shinawatra. So far the junta has imposed martial law, banned political activities and public gatherings, annulled the constitution and slapped restrictions on the media. It has also assumed legislative powers after dismissing parliament. AFP PHOTO/ Saeed KHAN / AFP PHOTO / SAEED KHAN
AFP PHOTO / SAEED KHAN
A Thai student (L) poses for a picture while holding a magazine with the pictures of Thai coup leader General Sonthi Boonyaratglin (L) and ousted premier Thaksin Shinawatra (2nd L) in front of tanks at the Royal Plaza in Bangkok, 01 October 2006. Former Thai army chief General Surayud Chulanont has agreed to become the new prime minister in a military-backed government, the leader of last week's coup said 01 October. AFP PHOTO/ Saeed KHAN / AFP PHOTO / SAEED KHAN
AFP PHOTO / SAEED KHAN
Dancers perform in front of military tanks at the Royal Plazza in Bangkok, 25 September 2006. Nine tanks rolled back into Bangkok's Royal Plaza on 25 September, one day after they had pulled out, as the military said it was redeploying forces around the city after last week's coup. AFP PHOTO/PORNCHAI KITTIWONGSAKUL / AFP PHOTO / PORNCHAI KITTIWONGSAKUL
AFP PHOTO / PORNCHAI KITTIWONGSAKUL
Thai men and women walk in front of Royal Plaza in central Bangkok 24 September 2006. Thailand's new military rulers rolled their tanks out of central Bangkok less than five days after a bloodless coup was greeted calmly in the capital. Tanks posted outside an area of royal and government buildings moved out as the military continued to consolidate control after the ouster of ex-premier Thaksin Shinawatra in last week's coup. AFP PHOTO/Indranil MUKHERJEE. / AFP PHOTO / INDRANIL MUKHERJEE
AFP PHOTO / INDRANIL MUKHERJEE
Thai families gather round to take photos with a military tank stationed along a highway suburb of Bangkok, 24 September 2006. Thailand's new military leaders were readying to install a new prime minister this week and step up a corruption probe against the premier they deposed in last week's coup. AFP PHOTO/PORNCHAI KITTIWONGSAKUL / AFP PHOTO / PORNCHAI KITTIWONGSAKUL
AFP PHOTO / PORNCHAI KITTIWONGSAKUL
A Malaysian man reads newspaper reporting on the coup d'etat in Thailand at a shop in downtown Kuala Lumpur, 20 September 2006. Thailand's new military rulers tightened their grip 20 September after an overnight coup, imposing strict controls on the media and banning public gatherings in what they said was a bid to restore order. AFP PHOTO/TEH ENG KOON / AFP PHOTO / TEH ENG KOON
ชายคนหนึ่งกำลังอ่านหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับเหตุรัฐประหารในประเทศไทย ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย (AFP PHOTO / TEH ENG KOON)
A Malaysian man reads newspaper reporting the coup d'et in Thailand at a shop in downtown Kuala Lumpur, 20 September 2006. Thailand's new military rulers tightened their grip 20 September after an overnight coup, imposing strict controls on the media and banning public gatherings in what they said was a bid to restore order. AFP PHOTO/TEH ENG KOON / AFP PHOTO / TEH ENG KOON
พาดหัวข่าวเหตุรัฐประหารในไทย บนหน้าหนังสือพิมพ์ประเทศมาเลเซีย เช้าวันที่ 20 กันยายน 2549 (AFP PHOTO / TEH ENG KOON)
Foreign tourists pose for photo with Thai soldiers standing guard outside a shopping centre in Bangkok, 21 September 2006. Thailand's ruling generals were set to impose tough new curbs on the press, including a ban on expressions of public opinion, as they tightened their grip on power two days after a bloodless coup. AFP PHOTO/PORNCHAI KITTIWONGSAKUL / AFP PHOTO / PORNCHAI KITTIWONGSAKUL
นักท่องเที่ยวร่วมถ่ายรูปกับทหารย่านแหล่งช็อปปิ้งใจกลางเมือง (AFP PHOTO/PORNCHAI KITTIWONGSAKUL)
Visitors to the Royal Plaza hold a copy of a newspaper next to soldiers in Bangkok 23 September 2006. Thailand's new military rulers were meeting to consider a new civilian premier after a bloodless coup deposed prime minister Thaksin Shinawatra. AFP PHOTO/MIKE CLARKE / AFP PHOTO / MIKE CLARKE
AFP PHOTO / MIKE CLARKE
Thai traders monitor share rates on an electronic screen on the first day of trade after a bloodless coup at a stock securities house in Bangkok, 21 September 2006. Thai share prices dropped on the first day of trading after the military coup but analysts said they expected little economic fallout from the ouster of prime minister Thaksin Shinawatra. Thai share prices were some 0.74 percent lower in mid-morning trade, recovering from sharp early losses, dealers said. AFP PHOTO/ Saeed KHAN / AFP PHOTO / SAEED KHAN
ภาพตลาดหุ้นวันแรกหลังจากเกิดเหตุรัฐประหาร (AFP PHOTO / SAEED KHAN)
A Thai student shouts slogans for democracy during a protest against the country's coup leaders in front of a shopping mall in Bangkok, 22 September 2006. The group of Thai students and democracy activists protested against the late 19 September military's bloodless coup against prime minister Thaksin Shinawatra, defying the junta's ban on political rallies. AFP PHOTO / MIKE CLARKE / AFP PHOTO / MIKE CLARKE
“เครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร” ชุมนุมและกล่าวแถลงการณ์ที่หน้าศูนย์การค้าสยามพารากอน เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2549 (AFP PHOTO / MIKE CLARKE)
Thai student wearing a mask reading "Freedom" takes part in a protest against the country's military coup leaders in front of a shopping mall in Bangkok, 22 September 2006. A group of Thai students and democracy activists protested against the late 19 September military's bloodless coup against prime minister Thaksin Shinawatra, defying the junta's ban on political rallies. AFP PHOTO / MIKE CLARKE / AFP PHOTO / MIKE CLARKE
AFP PHOTO / MIKE CLARKE
Thailand's newly appointed Prime Minister and former Thai army chief General Surayud Chulanont (L) arrives along with his wife Khunying Chitravadee Chulanout to speak with the media after his swearing in ceremony for the prime minister office at the Government House building in Bangkok, 01 October 2006. Thailand's new, military-appointed prime minister said that he wasn't sure if he deserved the job, but he had to "take the responsibility" after receiving a mandate from the king. AFP PHOTO/ Saeed KHAN / AFP PHOTO / SAEED KHAN
วันที่ 1 ตุลาคม 2549 โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ถ่ายทอดพิธีรับสนองพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ที่ห้องสีงาช้าง ภายในตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล ( AFP PHOTO / SAEED KHAN)
This handout photo released from the Thai Goverment House, new Thai Interim Prime Minister Surayud Chulanont (R) listens to Thai coup leader General Sondhi Boonyaratkalin (L) at the Government House in Bangkok, 01 October 2006. Thailand's new military-appointed premier got down to work 02 October, tasked with healing deep political divisions and assuring the world the country is on the path back to democracy. RESTRICTED TO EDITORIAL USE NO GETTY AFP PHOTO/GOVERNMENT HOUSE/HO / AFP PHOTO / GOVERNMENT HOUSE / AFP
วันที่ 1 ตุลาคม 2549 โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ถ่ายทอดพิธีรับสนองพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ที่ห้องสีงาช้าง ภายในตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล (AFP PHOTO / GOVERNMENT HOUSE)
Ousted Thai Prime Minister Thaksin Shinawatra (back R) peers past a body guard from the back seat of a limousine taking him to London from Gatwich airport, 20 September 2006. Shinawatra arrived in London Wednesday for a "private" visit after the military coup in his homeland, amid deep uncertainty about the country's next step. He flew into Gatwick airport south of London from New York, where he had been attending the UN General Assembly when the military coup unfolded in Bangkok. AFP Photo/Max Nash / AFP PHOTO / MAX NASH
นายทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ขณะเดินทางออกจากนครนิวยอร์กไปกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อเวลา 16.00 น. วันที่ 20 กันยายน ตามเวลาในประเทศไทย (AFP PHOTO / MAX NASH)
The limousine carrying ousted Thai Prime Minister Thaksin Shinawatra (back R) leaves Gatwich airport, near London, 20 September 2006. Shinawatra arrived in London Wednesday for a "private" visit after the military coup in his homeland, amid deep uncertainty about the country's next step. He flew into Gatwick airport south of London from New York, where he had been attending the UN General Assembly when the military coup unfolded in Bangkok. AFP Photo/Max Nash / AFP PHOTO / MAX NASH
นายทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ปรับกำหนดการที่จะขึ้นแถลงต่อสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ แต่แล้วก็ยกเลิกการขึ้นแถลง จากนั้นจึงขึ้นเครื่องบินเที่ยวพิเศษ เดินทางออกจากนครนิวยอร์กไปกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อเวลา 16.00 น. วันที่ 20 กันยายน ตามเวลาในประเทศไทย (AFP Photo/Max Nash)
Ousted Thai Prime Minister Thaksin Shinawatra (R) and his daughter Pinthongta leave an appartment block in central London, 21 September 2006 to go shopping for groceries he told media waiting outside. AFP PHOTO / ODD ANDERSEN / AFP PHOTO / ODD ANDERSEN
นายทักษิณ ชินวัตร ขณะช็อปปิ้งที่นิวยอร์ก กับบุตรสาวในวันที่ 21 กันยายน 2549 (AFP PHOTO / ODD ANDERSEN)