นักวิชาการรัฐศาสตร์ มองชนชั้นนำไม่เคยถอดบทเรียน! คาดการณ์ขั้นต่อไปคือ “ยุบพรรค” ถ้าไม่ยุบคือปาฏิหาริย์

นักวิชาการรัฐศาสตร์ คาดการณ์ขั้นต่อไปคือ “ยุบพรรค” ถ้าไม่ยุบคือปปาฏิหาริย์

หลังศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเอกฉันท์ วินิจฉัยกรณีการหาเสียงแก้มาตรา 112 ของพรรคก้าวไกล เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง พร้อมสั่งให้หยุดการกระทำเป็นการกระทำที่ล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทำให้เกิดกระแสในสังคมรวมถึงการตั้งคำถาม

ทีมมติชนสุดสัปดาห์ มีโอกาสสนทนากับ ดร.ศิวพล ชมภูพันธุ์ ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีความเห็นต่อกรณีนี้ว่า ศาลรัฐธรรมนูญตามหลักวิชาการก็มีไว้เพื่อวินิจฉัย และตรวจสอบสิ่งที่ขัดต่อกฎหมาย ถือว่าเป็นกลไกลหนึ่งที่รับรองระบอบการเมืองใดการเมืองหนึ่ง โดยใช้เรื่องกฎหมายเป็นตัวการ เคลื่อนปฏิบัติการทางการเมืองที่ชอบธรรมแห่งหนึ่ง แต่จากคำวินิจฉัยของศาล ผมเห็นด้วยกับสิ่งที่หัวหน้าพรรคก้าวไกล คุณชัยธวัช ตุลาธน ที่มองว่าคำวินิจฉัยของศาลจะทำให้เกิดการกำหนดมาตรฐานขึ้นใหม่ (set standard) ซึ่งใครก็ตามที่พูดเรื่องมาตรา 112 เป็นการสะท้อนว่าเท่ากับล้มล้างการปกครองเลยหรือไม่

หลายๆอย่างที่พรรคก้าวไกลเสนอไปเอาเข้าจริงแล้ว ถ้าไปดูแนวนโยบายหาเสียงของพรรคบางพรรคในการพูดถึงมาตรา112 ใช้คำว่า “แก้ไข” พรรคที่เคยร่วมหัวจมท้ายกันก่อนที่จะเกิดการตั้งรัฐบาล ทำให้เกิดการตั้งคำถามว่าถ้าพรรคอื่นที่มีแนวนโยบายใกล้เคียงกันจะมีชะตากรรมเดียวกันหรือเปล่า แต่อีกหนึ่งสิ่งที่สามารถเห็นได้จากคำวินิจฉัยของศาล คือว่าถ้าใช้คำว่า เซาะกร่อนบ่อนทำลาย โดยการที่มีการพูดถึงการแก้ไขกฎหมายฉบับหนึ่งซึ่งไม่ได้โยงไปถึงเรื่องของสถาบันพระมหากษัตริย์โดยตรง เท่ากับคำว่าล้มล้างการปกครอง ถ้ามองในอีกมุมหนึ่ง ถ้ามีการใช้ถอยคำ เพื่ออ้างถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ในการหาเสียงที่ไม่ได้เป็นการพูดให้ร้ายดูหมิ่น เช่นการที่คุณบอกว่า พรรคนี้จะยึดโยงกับสถาบันกษัตริย์ พรรคนี้จะแสดงความจงรักภักดี แสดงว่าคุณก็ดึงสถาบันพระมหากษัตริย์เข้ามาด้วยหรือไม่ เราสามารถตีความแบบได้ไหม ทำให้เกิดการมองการเมืองไทยในอนาคตถูกเปลี่ยนมาตราฐาน เพื่อให้เรารู้สึกว่าของกฎหมายชิ้นนี้เป็นเรื่องที่เราไม่สามารถพูดถึงได้อีกต่อไปในแบบฉบับของก้าวไกล

การที่ศาลไปหยิบโยงประเด็นจากเหตุการณ์ในอดีต เช่น การประกันตัว การลงชื่อกฎหมายในปี 2564 หรือว่าพฤติการณ์หลายๆ เหตุการณ์มันสะท้อนถึงความหวาดกลัว คือความหวาดกลัวใดๆที่เกิดขึ้นถ้าหากมีการแตะต้องสถาบันพระมหากษัตริย์ มีการพูดถึงมาตรา112 เหมือนกำลังปลุกผีอะไรบางอย่างเพื่อสร้างความหวาดกลัว ถ้ามีการแตะมาตรา112 จะทำให้ชนชั้นนำที่อาจจะมีความยึดโยงหรืออาจจะมีผลประโยชน์บางอย่าง ซึ่งไม่อาจปฎิเสธได้ เพราะว่าเครือข่ายชนชั้นนำที่อิงกับสถาบันพระมหากษัตริย์มีมานานดังนั้นใครก็ตามที่เข้าไปแตะหรืออาจจะแตะโดยอ้อม เช่น การประกันตัว จะถูกเหมารวมเป็นกลุ่มเดียวกันและความหวาดกลัวที่มี ทำให้ชนชั้นนำต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อจัดการฝ่ายที่เข้าไปแตะต้องโดยปริยาย ซึ่งผมไม่แปลกใจ ต่อให้วันนี้ไม่มีกฎหมายมารองรับแต่พวกเขาเหล่านั้นก็หาทางที่บิดเบี้ยว พิสดารให้ถึงจุดที่เขาต้องการให้ได้ คือการจัดการใครก็ตามที่เข้าไปเข้าสู่พื้นที่แห่งผลประโยชน์และอำนาจของชนชั้นนำ

ดังนั้นผมเห็นว่าพรรคก้าวไกลตกอยู่ในที่นั่งลำบากมาโดยตลอด ตั้งแต่เข้ามาสู่สนามการเมือง เพราะพรรคอนาคตใหม่ก็ดีหรือมาสู่พรรคก้าวไกล คือสิ่งแปลกปลอมที่โผล่เข้ามาโดยไม่มีใครตั้งตัว ต้องยอมรับว่า รัฐธรรมนูญปี 2560 ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันพรรคหนึ่ง แต่พอเกิดพรรคอนาคตใหม่ที่เกิดและเติบโต เติบโตแล้วตาย ตายแล้วเกิดใหม่ แล้วที่สำคัญแข็งแรงกว่าเดิม วันนี้พรรคก้าวไกลกลายเป็นผีตัวใหม่ในทางการเมืองหรือบนกระดานอำนาจของกลุ่มอำนนาจเก่ายังไงก็ตามต้องถูกสกัดกั้น ผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ ทุกท่านก็เห็นได้จากการตั้งรัฐบาล จากคนที่คุณเคยคิดว่าเป็นว่าที่นายกรัฐมนตรีตามระบบประชาธิปไตย ระบบรัฐสภาปกติ แต่คุณไม่มีโอกาสนั้นด้วยซ้ำ ในการส่งไม้ต่อเราเห็นได้ว่าความต่อเนื่องที่เกิดขึ้นคือการรวมกลุ่มอำนาจเก่ากับกลุ่มอำนาจใหม่ แล้วมีความพยายามทำให้พรรคก้าวไกลตกที่นั่งลำบากทั้งในสภา ผมว่ายังไงก็ความตกที่นั่งลำบากมายาวๆ แน่นอนการรับลูกต่อจากศาลคงก็ขึ้นแน่นอน โดยเป้าหมายปลายทางคือการยุบพรรค เพราะวางแผนกันมาขนาดนี้ ถ้าไม่ยุบผมว่าปาฏิหาริย์ ถ้าไม่ยุบก็เป็นเรื่องดี จะทำให้ระบบพรรคการเมืองเป็นไปได้และมีความแข็งแรงขึ้น แต่ในเมื่อวันนี้ชนชั้นนำไม่ถูกใจมาตั้งแต่แรก ถ้าสังเกตจะเห็นสัญญาณมาตั้งแต่ตอนเลือกนายก ผมมองว่าชั้นชนนำยังไงก็มองพรรคก้าวไกลเป็นสิ่งที่เขาไม่พึงประสงค์ ยิ่งต้องเอาออกจากพื้นที่ทางการเมืองซึ่งในมุมมองของกลุ่มชนชั้นนำเดิมมองว่าเป็นอัตราย

ตอนนี้เหมือนการเล่นกับใจมวลชนตกลงแล้วมวลชนบ้านเราจะไปทางไหนต่อ ถ้าประชาชนรู้สึกว่าพรรคนี้เป็นความหวังให้ได้ในอนาคต และคนที่ยังมีความหวังอยู่พวกเขาเหล่านั้นอาจจะลุกขึ้นมาสู้ต่อ เพราะอย่างน้อยคำตัดสินไม่ถูกใจคนจำนวนมาก ถ้าการยุบพรรครอบนี้เป็นปราฎการณ์ที่แปลกเพราะเป็นพรรคฝ่ายค้านและมีฐานเสียงของมวลชนจำนวนมาก ถ้าหากมีการยุบพรรคเกิดขึ้นเราอาจจะไม่ได้เห็นกระแสม็อบอย่างในปี2562-2563 เพราะตอนนั้นมีความเป็นเอกภาพ ที่มีเป้าหมายคือคุณประยุทธ์ แต่ตอนนี้ส่วนหนึ่ง คนที่เลือกเพื่อไทยกับก้าวไกลก็เริ่มแตกกัน ปฎิเสธไม่ได้ว่าสองกลุ่มนี้โดยพื้นฐานคือคนที่ออกมาเคลื่อนไหวในตอนนั้น ถึงแม้การออกมาในอนาคตจะออกมาเพื่อการเปลี่ยนแปลงแต่จะมีมวลชนจำนวนหนึ่งหายไป

เพราะฉะนั้นหากต้องการเอาชนะก้าวไกล กลุ่มอำนาจเก่าหรือพรรคอื่น ๆ ต้องผนึกกำลังกันแน่นอย่างที่เห็น เราเคยเห็นภาพพรรคเพื่อไทย พรรคร่วมอีกหลายพรรค ซึ่งเคยหัวจมท้ายกับพรรคก้าวไกลมาโดยตลอดในวันที่คุณต้องการจะสกัดอำนาจเก่า แต่วันนี้การส่งไม้ต่อไปยังเพื่อไทย เรากจะเห็นได้ว่าการสลายขั้วอำนาจเดิมและนำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาล เดินหน้าประเทศไทย ซึ่งคือการสานต่อระบบเก่าที่เป็นรูปธรรมใช้การเลือกตั้งเป็นตัวชุบ ผมไม่ปฏิเสธที่มาของคุณเศรษฐาเป็นที่มาโดยชอบธรรม แต่ถ้ามองจากเนื้อในแล้วหน้าตาไม่มีความแตกต่าง แม้แต่คำว่านายแบก นางแบก ถ้ามองด้วยตาเนื้อเราก็เห็นว่ามันมีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไป เพราะฉะนั้นการที่กลุ่มอำนาจอื่นๆจะเอาชนะก้าวไกลได้จะต้องผลึกกำลังกันแน่นๆ และผมเชื่อสิ่งนี้ตลอดนะ แต่ถ้าวันนี้คุณสามารถผนึกกำลังกันแน่นแบบลงตัวกันได้ทุกอย่างมันเดินไปได้หมดเลยแล้วพร้อมที่จะสกัดผีตัวใหมที่เกิดขึ้นรื่อยๆด้วย หากยุบพรรคก้าวไกลก็จะมีสิ่งใหม่ๆมาต่อ สมมุติวันนี้ทำให้พรรคก้าวไกลสูญพันธุ์ไปจริงๆ ก็จะมีอะไรใหม่ๆที่รัฐธรรมนูญหรือกติกาที่ชนชั้นนำเดิมเขียนไว้ เข้ามาสู่พื้นที่ทางการเมืองโดยที่ชนชั้นนำคาดไม่ถึงอยู่เรื่อยๆ

ชนชั้นนำไม่เคยถอดบทเรียน ไม่เคยถอดบทเรียนตั้งแต่พรรคพลังประชาชน ตอนคุณทักษิณไปตอนปี2549 รัฐธรรมนูญถูกออกแบบมาเพื่อเป็นบันได ตั้งแต่ตอน คมช. แต่คุณสมัคร คุณยิ่งลักษณ์ ก็ยังได้เป็นนายก เอาเข้าจริงเพื่อไทยตอนปี 2562 ชนะ ก็เป็นสัญญาณแล้วว่ายังไง คุณก็สู้พลังของประชาชนไม่ได้ แต่ในเมื่อคุณเป็นคนร่างกติกายังไงคุณก็สามารถใช้สิ่งที่มีความชอบธรรมทางกฎหมาย อำนาจที่มีอยู่ในการสกัดกลุ่มเดิมก็ได้ แต่สุดท้ายการวางกลไกลในรัฐธรรมนูญ2560 ด้วยการมีสว. ไม่มีทางที่จะต้านพลังของประชาชนจริงๆ 14 ล้านเสียงซึ่งเป็นสิ่งที่มีความหมายสำหรับประชาชนแต่กลับเป็นสิ่งที่ถูกมองว่า 14 ล้านแล้วยังไง ถ้าจะไม่ให้เข้าสู่อำนาจจึงกลายมาเป็นการสู้กลับสว. 250 เสียง ซึ่งถือว่าเป็นบทเรียนที่ไม่ได้แปลกใหม่ๆ มียาวๆ มาตั้งแต่ 2549

การกลับมาของคุณทักษิณไม่น่าสนใจเท่าคุณอุ๊งอิ๊งเนื่องจากคุณทักษิณอายุมากแล้ว คุณทักษิณเป็นสัญลักษณ์บางอย่างที่ทำให้คนยึดโยงทั้งคนที่เป็นเสื้อแดง คนรักประชาธิปไตย แต่วันนี้ทักษิณกลับมาบนแผ่นดินไทยแล้ว ผมคิดว่าไม่มีอะไรเปลี่ยน แต่ถ้าคุณอุ๊งอิ๊งขึ้นมามีบทบาทนำผมว่าน่าสนใจ เพราะถ้าหวังว่าคุณทักษิณกลับเป็นผู้นำคงเป็นไปไม่ได้ แต่ถ้ามองการส่งไม้ต่อให้กับลูกสาว ซึ่งก็คือคนในตระกูลเอง  สัญลักษณ์นี้จะทำให้ตระกูลชินวัตรกลับมาได้(หรือไม่) ทุกวันนี้ทุกคนจับตาไปที่คุณอุ๊งอิ๊ง เพราะผู้หญิงคนนี้น่าสนใจและเป็นคนเก่งคนหนึ่ง ที่เป็นนัการเมืองรุ่นใหม่ที่เติบโตภายใต้เงาของคุณพ่อ แต่ถ้ามาโฟกัสที่คุณอุ๊งอิ๊ง ผีกลัวทักษิณจะกลับมาไหม เพราะทุกวันนี้หลายๆอย่างก็เริ่มเกิดขึ้น คนที่เคยด่าคุณทักษิณก็เริ่มเงียบ แต่ถ้าวันใดชนชนนำกลุ่มนี้ไม่สามารถผนึกกำลังไว้ได้หรือมีปัญหา อาจจะกลับไปสู่โจทย์เดิมก็ได้

ในส่วนเรื่องของนโยบาย Soft power ที่รัฐบาลกำลังจะใช้เป็นตกลงแล้วเป็น creative economy หรือเป็น product ที่เราพยายามจะส่งเสริมวัฒนธรรม เพราะถ้าจากความหมายเดิม Soft power มันต้องอยู่นิ่งๆ ที่ง่ายทีสุด คือซีรีส์แดจังกึม ไม่ได้ถูกผลิตออกมาพื่อวัตถูประสงค์หนึ่งๆ แต่เมื่อ 20 ปีที่แล้วเมื่อออกอากาศ มันทำให้คนที่ดูอยากไปเกาหลี คนที่กินมาม่า ต้องไปหารามยอน ซึ่งเขาไม่ได้ทำอะไรเลย แต่มันสามารถโน้มนำ ชักจูง แสดงว่ามันต้องมีพลังบางอย่างในการดึงดูด ผมว่าเราหาสิ่งที่มันสร้างสรรค์และพยายามชักจูงประเทศ ไม่ใช่จะเอาทุกอย่างที่เป็นวัฒนธรมมทั้งข้าวเหนียวมะม่วง ส้มตำ ผัดไทย มันดูจงใจเกินไป คุณอาจจะทำอะไรบางอย่างขึ้นมาก็ได้แต่ต้องดูแนบเนียนให้สามารถทำงานและฟังก์ชั่น และทำให้คนรู้สึกชื่นชอบดีกว่า

แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย และรองประธานคณะกรรมการซอฟท์พาวเวอร์

สุดท้ายผมเชื่อว่าจะไม่มีการเปลี่ยนม้ากลางศึก แต่ก็อย่าลืมสว.ชุดนี้กำลังจะหมดอายุ ต้องรอดูว่าสว.ชุดใหม่จะเป็นใครเป็นกลุ่มอำนาจใด ถ้าเปลี่ยนม้ากลางศึกอาจจะเป็นการยุบสภามากกว่า แต่มองว่ายากเพราะตอนี้กำลังผนึกกำลังกันแน่น