ปี 2567 : ความท้าทายทั้งรัฐไทยและ BRN ต่อกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้

(Photo by Madaree TOHLALA / AFP)

เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา ณ หอประชุมชูเกีรติ ปีติเจิรญกิจ (ตึก สนอ.หลังเก่า) มีเสวนาซึ่งจัดขึ้นโดย Peace Resource Collaborative – PRC ในหัวข้อ “เหลียวหลัง แลหน้า : ทิศทาง อนาคตกระบวนการสันติภาพปาตานี/จังหวัดชายแดนภาคใต้”

มีผู้ร่วมเสวนาในครั้งนี้ คือ

1. คุณพลเทพ ธนโกเศศ ตัวแทนจากคณะพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนใต้

2. ตัวแทนคณะพูดคุยสันติภาพขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติ (BRN)

3. ผศ.ดร. ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Watch)

4. คุณ Saifulnizam Bin Muhamad รองหัวหน้าขบวนการยุวชนมุสลิมมาเลเซียประจำรัฐกลันตัน

5. Dr. Muhammad Bin Ahmad ผู้แทนเครือข่ายผู้นำศาสนา นักวิชาการ ภาคประชาสังคมในพื้นที่ปาตานี/จังหวัดชายแดนภาคใต้

ดำเนินรายการโดย รอมซี ดอฆอ ประธานสมัชชาประชาสังคมเพื่อสันติภาพ (CAP) และตัวแทนจากคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาและเสนอแนวทางการส่งเสริมกระบวนการสร้างสันติภาพเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ สภาผู้แทนราษฎร

(ชมย้อนหลังฉบับเต็มใน https://fb.watch/p7mMdSbHy8/?)

 

ระหว่างการเสวนา Dr. Muhammad Bin Ahmad ผู้แทนเครือข่ายผู้นำศาสนา นักวิชาการ ภาคประชาสังคมในพื้นที่ปาตานี/จังหวัดชายแดนภาคใต้ (Jaringan Pimpinan Islam Ahli Akaderik Organisasi Masyarakat dan Antara Bangsa) ได้มอบข้อเสนอกระบวนการสันติภาพของเครือข่ายฯ ต่อนายพลเทพ ธนโกเศศ ตัวแทนจากคณะได้พูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนใต้ และส่งต่อไปยังแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติ (BRN)

ข้อเสนอสำหรับรัฐไทย (Thai State)

1. กระบวนการสันติภาพควรเป็นไปตามมาตรฐานสากลในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง ตามหลักการ 8 ข้อใน UN Guidance for Effective Mediation

2. ข้อตกลงในเวทีเจรจาสันติภาพควรมีการแถลงต่อสาธารณะร่วมกันโดยทั้งสองฝ่ายในทันที่ภายหลังจบการเจรจาในแต่ละครั้ง

3. เมื่อมีข้อตกลงหยุดปฏิบัติการทางทหารทั้งสองฝ่าย (Ceasefire) ฝ่ายรัฐไทย ควรงดบังคับใช้กฎหมายพิเศษทุกฉบับ ตลอดช่วงเวลาตามที่ตกลงเพื่อสร้างบรรยากาศความปลอดภัยให้กับประชาชน

4. ควรมีการลงนามเป็นลายลักษณ์อักษร

5. ควรกำหนดตัวแทนกลไกผู้ประสานงานที่เป็นทางการระหว่างคณะเจรจาทั้งสองฝ่ายกับประชาชนและประชาสังคมในพื้นที่

6. ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสันติภพต้องได้รับการคุ้มครองความปลอดภัยในทุกมิติ

7. ต้องมีการรับประกันความปลอดภัยสำหรับประชาชนในการแสดงความเห็นหรือการมีส่วนร่วมในกระบวนการสันติภาพ

8. กระบวนการพูดคุยสันติภาพควรกำหนดกลไกที่เป็นทางการเปิดโอกาสให้ประชาชนและภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมกับกระบวนการโดยตรง เช่น กลไกผู้ประสานงาน กลไกการติดตามประเมินผล กลไกการรับฟังความคิดเห็น กลไกการติดต่อกับผู้อำนวยความสะดวก ผู้เชี่ยวชาญและผู้สังเกตการณ์ ฯลฯ

9. ให้มีช่องทางการพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการ (Back Channel) ในต่างประเทศ นอกเหนือจากประเทศมาเลเซีย เพื่อหนุนเสริมกระบวนการพูดคุยสันติภาพ

10. แนวคิดการมีการทำงานร่วมกันควรให้ความสำคัญในลำดับแรกๆ ของทุกๆ กิจกรรมในกระบวนการสร้างสันติภาพ ทั้งในเวทีการพูดคุยและเวทีระดับพื้นที่

11. ให้การสร้างสันติภาพในปาตานี/จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นวาระแห่งชาติ ที่ทุกภาคส่วนในสังคมเข้าไปมีส่วนร่วมนอกจากฝ่ายบริหาร ด้วยการตราพระราชบัญญัติสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้

12. หน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะหน่วยงานด้านปฏิบัติ ควรทำงานเพื่อสร้างบรรยากาศที่เอื้อและสนับสนุนการพูดคุยสันติภาพ เช่น การเคารพสิทธิเสรีภาพในการ แสดงออก ไม่คำเนินการตรวจดีเอ็นเอ การไม่ใช้นโยบายปิดล้อมตรวจค้น

13. รัฐสภาควรจัดตั้งคณะกรรมาธิการสามัญด้านการสร้างสันติภาพจังหวัดชายแคนภาคใต้/ปาตานี

14. หัวหน้าคณะพูดคุยควรเป็นตัวแทนจากพลเรือน

15. นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีควรให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยครอบคลุมทุกมิติ ทั้งการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ความปลอดภัย

16. คณะรัฐมนตรีควรรักษาความต่อเนื่องของกระบวนการพูดคุยสันติภาพจากรัฐบาลที่ผ่านมา โดยยืนยันตามเอกสารหลักการทั่วไป 3 ข้อ (reduction of violence, public consultation, political solution)

17. คณะรัฐมนตรีควรยกระดับหลักการลดความรุนแรง เป็นการหยุดชิงและยุติปฏิบัติการทางทหารทั้งสองฝ่าย (ceasefire)

18. ชื่อของกระบวนการสันติภาพควรกำหนดเป็น “การพูดคุยสันติภาพ” ตามรายละเอียดใน General Consensus on Peace Dialogue Process (2013)

 

ข้อเสนอสำหรับขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานี (BRN)

1. กระบวนการสันติภาพควรเป็นไปตามมาตรฐานการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ตามหลักการ 8 ข้อใน UN Guidance for Effective Mediation

2. BRN ควรประกาศให้กระบวนการพูดคุยสันติภาพเป็นวาระแห่งประชาคมปาตานี เพื่อแสดงความจริงจังและจริงใจในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง

3. BRN ควรสนับสนุนแนวทางทางการเมืองในการแก้ปัญหาความขัดแย้งมากกว่าการใช้ความรุนแรง

4. BRN ควรเปิดกว้างให้ขบวนการอื่นๆ เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพูดคุยสันติภาพปาตานี

5. ข้อตกลงในเวทีเจรจาสันติภาพควรมีการแถลงต่อสาธารณะร่วมกันโดยทั้งสองฝ่ายในทันทีภายหลังจบการเจรจาในแต่ละครั้ง

6. BRN ควรกำหนดตัวแทนกลไกผู้ประสานงานที่เป็นทางการโดยกำหนดตัวบุคคลและช่องทางการติดต่อที่ชัดเจน กับประชาชนและประชาสังคมในพื้นที่

7. BRN ต้องรับประกันความปลอดภัยในทุกมิติกับสำหรับประชาชนทุกฝ่ายในการแสดงความเห็นหรือการมีส่วนร่วมในกระบวนการสันติภาพ

8. กระบวนการพูดคุยสันติภาพควรกำหนดกลไกที่เป็นทางการเปิดโอกาสให้ประชาชนและภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมกับกระบวนการโดยตรง เช่น กลไกผู้ประสานงาน กลไกการติดตามประเมินผล กลไกการรับฟังความคิดเห็น กลไกการติดต่อกับผู้อำนวยความสะดวก ผู้เชี่ยวชาญและผู้สังเกตการณ์ ฯลฯ

9. ให้มีช่องทางการพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการ (Back Channel) ในต่างประเทศ นอกเหนือจากประเทศมาเลเซีย เพื่อหนุนเสริมกระบวนการพูดคุยสันติภาพ

10. แนวคิดการมีการทำงานร่วมกันควรให้ความสำคัญในลำดับแรกๆ ของทุกๆ กิจกรรมในกระบวนการสร้างสันติภาพ ทั้งในเวทีการพูดคุยและเวทีระดับพื้นที่

 

ข้อเสนอต่อประชาชนและภาคประชาสังคมในพื้นที่ปาตานี/จังหวัดชายแดนภาคใต้

1. ประชาชนทุกภาคส่วนในสังคมควรตื่นรู้ ติดตามและให้ความสำคัญกับกระบวนการสันติภาพ

2. ประชาชนทุกภาคส่วนในสังคมควรแสดงออกถึงเจตจำนงที่แท้จริงของตน

3. ประชาชนทุกภาคส่วนในสังคมควรสนับสนุน มีส่วนร่วมในกระบวนการสันติภาพ

4. ประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้/ปาตานีควรเข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอแนะความคิดเห็นและความต้องการเกี่ยวกับการสร้างสันติภาพในพื้นที่

จากข้อเสนอแนะดังกล่าวน่าจะเป็นความท้าทายต่อทุกภาคส่วนโดยเฉพาะทั้งรัฐไทยภายใต้รัฐบาลพลเรือนอย่างนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน และ BRN ต่อกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้ในปี 2567 นี้