มองไทยใหม่ : ความเป็นมาของ วรรณยุต (วรรณยุกต์)

สองสมเด็จฯ “คุยกัน” เรื่องวรรณยุกต์ (๒)

ย้อนอ่าตอนแรก (คลิก)

เมื่อมีการตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นใน พ.ศ.๒๔๑๔ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ได้เขียน แบบเรียนหลวง ขึ้นมาใช้แทนแบบเรียนในสมัยเดิม

ในตำราเล่มนี้กล่าวว่า “วรรณยุต” แปลว่า ของสำหรับประกอบกับตัวอักษร มี ๑๓ อย่าง คือ

๑. ไม้เอก

๒. ไม้โท

๓. ไม้ตรี

๔. ไม้จัตวา, กากบาท, ตีนกา

๕. ฝนทอง (“)

๖. ฟองมัน, ตาไก่ (๏)

๗. วิสัญชนี, นมนางทั้งคู่ (ะ)

๘. ทัณฑฆาฏ, หางกระแต

๙. ไม้ไต่คู้, เลข ๘

๑๐. นิคหิต, นฤคหิต, หยาดน้ำค้าง

๑๑. โคมูตร (๛)

๑๒. มุสิกทันต์

ฟันหนู (“)

๑๓. หางกังหัน, หันอากาศ, ไม้ผัด (?)

ขอให้สังเกตว่า รูปฝนทองเปลี่ยนจาก มาเป็น (“) ฟองดันเรียกว่าฟองมันหรือตาไก่ รูปเป็นวงกลมมีจุดกลาง ส่วนมุสิกทันต์หรือฟันหนูมี ๒ รูป คือ มีขีดเดียวหรือ ๒ ขีด รูปที่มี ๒ ขีดนั้น เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ฝนทอง ก็ได้ พินอิ + มุสิกทันต์ คือสระอี ส่วน พินอิ + ฟันหนูหรือฝนทองก็คือสระอือ

จะเห็นได้ว่า ความหมายของ “วรรณยุกต์” ในสมัยปัจจุบันไม่เหมือนกับ “วรรณยุต” ในสมัยก่อน

นั่นคือ ในสมัยปัจจุบันเรียกวรรณยุต ๔ เครื่องหมาย (เอก โท ตรี จัตวา) ว่าวรรณยุกต์

ส่วนวรรณยุตอื่นๆ กลายเป็นเครื่องหมายกำกับเสียงสั้น เครื่องหมายฆ่าเสียง สระ ฯลฯ

ใน “สาส์น” ฉบับวันที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕ นี้ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสรุปว่า

“มูลเหตุที่พระเจ้ารามคำแหงตั้งวรรณยุกตเอก โท ขึ้นนั้น ไม่ใช่สำหรับให้อ่านเป็นเสียงสูงต่ำ เป็นแต่เครื่องหมายให้รู้ว่าคำมีวรรณยุตผิดกับคำที่ไม่มี ใครจะอ่านออกเสียงอย่างไรก็ตามใจ หรือตามสำเนียงของชาวอาณาเขตนั้นๆ ยกตัวอย่าง เช่น คำว่า มา ใส่โทลง (เป็น ม้า … ผู้เขียน) เป็นเครื่องหมายว่าสัตว์พาหนะที่สำหรับขับขี่ เอา ห นำ (เป็น หมา…ผู้เขียน) หมายให้รู้ว่าเป็นสัตว์ที่เห่าหอน แต่ใครจะอ่านว่า ม่า หรือว่า หม่า แปรไปตามสำนวนไม่ถือเป็นสำคัญ เพราะฉะนั้น ที่มาถือเอาเป็นเครื่องหมายเสียงเป็นของเกิดชั้นหลัง”