E-DUANG : ยุทธศาสตร์ “ทักษิณ” กลับบ้าน เป้าหมาย หนึ่งเดียว เลี้ยงหลาน

แท้จริงแล้ว ความอยาก”กลับบ้าน”ของ นายทักษิณ ชินวัตร สะท้อน ออกอย่างจริงใจเป็นอย่างยิ่ง

จริงใจถึงระดับที่บ่งบอกออกมาว่าอยากจะกลับมาดู”หลาน”

จริงใจถึงระดับที่บ่งบอกออกมาว่าอยากจะกลับมาตีกอล์ฟร่วม วงกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ความหมายของการร่วมออกรอบย่อมมิได้หมายเพียงแต่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เท่านั้น หากครอบคลุมไปถึง พล.อ.ประ วิตร วงษ์สุวรรณ และ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา อย่างแน่นอน

เป็นความหมายที่เด่นชัดว่าทั้งหมดนี้อยู่นอกวงจรแห่งอำนาจวงนอกของการเมืองแล้วอย่างสิ้นเชิง อย่างเก่งที่สุดก็คือแสดงบทบาทในฐานะของ”ที่ปรึกษา”

และความหมายอย่างตรงเป้าที่สุดก็คือ หากไม่มีใครต้องการคำปรึกษา ก็มิอาจแสดงบทบาท”ที่ปรึกษา”ได้

หากสรุปตามสำนวนกำลังภายในซึ่งมีรากฐานมาจากแนวคิดในแบบมหายานที่ว่า “เมื่อวางดาบก็บรรลุอรหันต์” นั่นก็คือ สามารถ ข้ามไปอีกฝั่งฟากได้อย่างสมบูรณ์

 

ยิ่งเมื่อหยั่งลึกลงไปภายในกระบวนการที่สำแดงผ่านช่องทางของคลับเฮาส์ หรือที่สื่อสารต่อสาธารณะก็ยืนยันอย่างเด่นชัดว่า แนวนิยมของ นายทักษิณ ชินวัตร แทบไม่แปรเปลี่ยน

คิดยึดมั่นในตอนที่จัดตั้งพรรคไทยรักไทยเมื่อเดือนกรกฎาคม 2542 อย่างไรก็มิได้ออกไปนอกเส้นทางแม้แต่น้อย

นั่นก็คือ หากถือว่าเป็นการต่อสู้ก็ต่อสู้ภายใต้ข้อกฎหมาย

ไม่ว่าจะเป็นกฎหมาย “รัฐธรรมนูญ” ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายประ กอบรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะอย่างยิ่งพรรคการเมือง การเลือกตั้งแม้จะอยุ่ในสถานะเสียเปรียบก็ตาม

เข้าทางตรอก ออกทางประตู นั่นก็คือ ต่อสู้เพื่อนำไปสู่การยุบ

สภาอันเป็นประตูบานแรกไปยัง”การเลือกตั้ง”อย่างเป็นการทั่วไป

 

ข้อเสนอบนพื้นฐานแห่งรัฐธรรมนูญเช่นนี้พร้อมกับการประกาศความต้องการที่จะกลับบ้านมาเพื่อเลี้ยง”หลาน”ของ นายทักษิณ ชิน วัตร เป็นข้อเสนอที่ธรรมดาปกติอย่างยิ่ง

หากมองจากมุมที่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เคยกระทำ หากมองจากมุมที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เคยกระทำ

      ต้องยอมรับว่าแนวของ นายทักษิณ ชินวัตร นุ่มนวล ชัดเจน