ผ่าจริตเขมรด้วยงานวิจัย : คณิตศาสตร์-เถรวาท-วรรณกรรม/อัญเจียแขฺมร์ อภิญญา ตะวันออก

อภิญญา ตะวันออก

อัญเจียแขฺมร์

อภิญญา ตะวันออก

 

ผ่าจริตเขมรด้วยงานวิจัย

: คณิตศาสตร์-เถรวาท-วรรณกรรม

 

ฉันคิด เผื่อไทยไปด้วยนะ อย่างแรกล่ะ คือ ‘ปรเนีย’ ภาพสมัย ความรุ่งเรืองอำนาจรองอันวิไล วัฒนธรรมแปลกใหม่ในแขมร์ฯ

แรกเลยคือ เรื่องสมัยราชสำนัก แต่ยุคกรุงอุดงค์ของพระองค์ด้วง จนมาถึงพระบาทบริรักษ์นโรดมยิ่งทบทวน เพราะเสมือนเข้ากันดีกับองกอร์ฯ

นครวัด-นครทมที่เป็นหลัก แต่แค่อ่านจารึกซากปรักพังคงมิได้ ราชสำนักพนมเปญที่ฟื้นไป จากสมัยเปรียะองค์ด้วง-นโรดม เพื่อสร้างความมั่นใจในบริบาล ลงทุนสร้างวังเสียใหม่ให้พระองค์ฯ

ยิ่งได้เห็นประโคมพิณพาทย์ดนตรีวัง ก็ยิ่งขลังในจริต แรงพลังบันดาลให้บารังคิด มาสเตอร์พีซนวนิยาย “สารามณี”ฯ

ที่แหกกฎทุกๆ อย่างของวังหลวง พ่อนักเขียนเลือดบารังปนรัสเซีย ภาษาดี เขมรได้ ลาวก็เกรียน แต่งตำราภาษาบารังเรียน จนเบื่อเขียนเรื่องเดิมๆ เพิ่มนิยาย แต่สมัย “เนียะกดตรา” เสมียนนั่น รู้เรื่องวังเข้านอก-ออกในได้ แถมแต่งเมียนางละครนั่นปะไร มีต้นทุนมากมายด้านชาววังฯ

แต่เมื่อลงมืออ่านประโลมโลกย์ กลับมีโชคเห็นสังคมเขมรกว้าง คนเขมร เนียะดำแร เนียะไนสาต คนหาปลา ชาวนาบ้าง ที่ยากจน เนียะระบำ-นางละครย้อนสมัย นาฏลักษณ์นางใน ฮาเร็มนั่น ในตู้กล่องเรือและสามัญฯ

ถูกบรรยายบอกเล่าใน “สารามณี” (Saramani Danseurs Khmer, 1919)

เครดิต : The Diplomat

นายกมเลาะ โรล็องด์ เมเยร์ แท้จริงแล้ว เขาฉายแววนักวิจัยในงานเขียน อีกสหมิตรวิชาการที่ล้วนต่างเคารพกัน ล้วนแต่อยู่แถวหน้าคนสำคัญ เป็นอัญมณีวิชาการ อาทิเจ้าหน้าที่ “อภิรักษ์องกอร์” อันดับที่ 1 ฌ็อง โกรเมร์ อีกอ็องรี มาแชล-โกรริเยร์ ก็สนิทเป็นสหาย

นี่แสดงให้เห็นว่า พวกบารัง ต่างให้ความสำคัญ 2 สถาน “ราชสำนักปัจจุบัน” และ เปรงกาล “นครทม-นครวัด”-“พนมเปญ”ฯ

จากประโลมโลกย์ยุคนั้นถึงยุคนี้ สังคมมีวิเคราะห์มาร่วมสมัย เมื่อวิทูเขมรยุค ’70 ปลาย เขาได้ให้มุมมองวรรณกรรมฯ

ว่าแต่งเรื่องพื้นฐานความจริง หาใช่แต่จินตนาการแต่ล้วนไม่ เนากนุงการ์ฉลองกัด แต่กระไร ชาวเขมรมากมายที่ยากจน ตกทอดมาเป็นเรื่องเขมรแดง และประหลาดเหมือนกับดักอันสับสน เจ้าเป็นไพร่ บ่าวเป็นนายมีให้ยล จงดูยุคแขมร์กระฮอมนั่นกระไรฯ

โดยเมื่อครั้งที่ พล พต อนุมัติให้ พระกรุณานโรดม สีหนุ เสด็จจากกรุงพนมเปญไปกรุงปักกิ่งวันที่ 6 มกราคม ค.ศ.1979 และบินต่อไปที่กรุงนิวยอร์ก เพื่อทำหน้าที่ ปกป้องเก้าอี้ในองค์การสหประชาชาติของรัฐบาลกัมพูชาประชาธิปไตยหรือเขมรแดง

เผยให้เห็นว่า นักวิชาการเขมรหลังยุคเขมรแดงบางฝ่ายใช้ “สารามณี” วิพากษ์สังคมแบบชนชั้นอันนำมาซึ่งประวัติศาสตร์อันรันทดและมุมมองต่องานเขียนชิ้นนี้ว่ามีคุณค่าเชิงสังคมกัมพูชาซึ่งแลกมาด้วยชีวิตที่สูญหายของนายบารังคนหนึ่ง

ผู้ซึ่งวิจัยราชสำนักและจารีต อย่างตรงไปตรงมา

เครดิต : BAM blog

เรื่องที่ 2 : การสำรวจถิ่นฐาน จัดระเบียบยุคต่างๆ ของกลุ่มปราสาทหินเหนือตนเลสาบจรดเทือกเขาพนมดงรักและฝั่งตะวันตก กัมพูชากลางและใต้หรือก๊อกซินจีนที่สืบค้นมาตั้งแต่ศตวรรษ19-20 แต่อุปสรรคในการพัฒนาชาวเขมรปัจจุบัน ทำให้เกิดงานวิจัยแขนงอื่นซึ่งตามมา

จากบันทึก นาย Lecl?re (Adh?mard Lecl?re, 1886-1913) ที่รวบรวมมาจาก มนตรีบาล กองเลขาซึ่งเรียกว่า หลวงยกกระบัตร หรือ “โยกบัตร” ประจำอำเภอ “จโรยจังวา” สังกัดในพนมเปญ ชื่อเต็มว่า หลวงพิภัภข์พาลี

จำนอลกาลการ์เงียแคมโบซัวส์ แต่นายทมบารัง ยังขุ่นมัว ตีค่าตัวคนเขมร เกณฑ์ต่ำตมฯ

โดยเฉพาะคณิตศาสตร์ยากสอนสั่ง มีเกณฑ์ต่ำ เขมรตก จะยกสร้าง รวมอินโดจีนทั้งหมดที่ยกนาม จนกระทั่ง สั่งหลวงยกกระบัตรมารายงาน วิทยา-ตราสารด้านคณิตฯ ก็จุดติดในวิเจีย-ศาสตร์เขมร จำนอลกาล จำนวนนับ จำนวนตาม เลขข้างเคียง นำมาเรียง คู่-คี่ มีวิทูฯ

จะบวกลบกลับหาญคูณเรียบง่าย เรสิด็องส์ก็เข้าใจในพื้นฐาน ความมีรากแบบเขมร จำนอลกาล แลนั้นมา นาย Lecll?re จึงนิยมฯ

สยบยอม ชมว่าขอม “มีนอร์มมาก” อีกละตินนั่นต่างหากที่เป็นสอง จำนวนนับอย่างหลัก “ศูนย์” ก็เป็นรอง แต่เขมรมีมาก่อนตอนองกอร์ฯ

“ชั่ง ตวง วัด” อีกนั้นช่างละเอียด จากนิ้วยันอกตัว แขนขาด้วย อะไรนี่ วิธี “วัด” กัมพูชา? จะเรียนรู้อะไรให้จับมา ใช้แขนขา กายมนุษย์เป็นองค์นำฯ

จับ รวม-แยก-แจกเหมือนเบี้ย ไม่เพลียจิต แยบคายคิดกระบวนโบราณนี่ แต่นั้นมา นาย Lecl?re จรลี นำไปตีความใช้ในแผนงานฯ

ว่าบารัง ริจะสอนคนเขมร ให้รู้เกณฑ์หลักการอันสับสน ทำไม่ได้ ติดกับ-อันอับจน เพราะไม่ค้นเรื่องแขมร์แก่นแท้เองฯ

จำนวนนับก็เรื่องหนึ่งซึ่งแตกต่าง จึงลงมือเขียนบทความตามวิสัย เกี่ยวกับชาติขอมแขมร์แลวิไล เผื่อจะได้ อนุวัติ-พัฒนาฯ

ฉันอ่านแล้ว ให้พินิจถึงตอนนี้ งานวิจัยคือสิ่งสร้างสังคมใหม่ พึงรู้เขา-เราให้ดี ตินนานัย เช่นบารังที่เปิดใจรู้แขมร์ ไม่ทะนงว่าเหนือใครในวิทยา เปิดใจรับจับมา พาผสม เรื่องคณิตวิทยาฯ น่าชื่นชม แต่ยังค้นสืบต่อไปในเดือนปีฯ

ว่าเขมรวิทยานี่แปลกนัก ยังอีกเรื่องนักษัตร 12 นั่น สุริยะ-จันทร์คติ คืออะไรเกิดก่อนกัน? โหราศาสตร์ จักรราศีนั่นก็ตามมา นาย Lecl?re แทบสยบหมดฤทธิ์เดช หลังสังเกต “ศักราช” ต่างๆ ว่า “มหาสักร์” และ “จุลศักราช”-ตรา มีก่อนหน้ามาก่อน “พุทธ” ปฏิทินฯ ศักราช “คริสตัง” มาหลังสุด แต่กลับผุดบังคับ “ศาสตร์” มากมายหนา พออ่านจบ ยกกระบัตรที่เขียนมา นายบารังนำปัญญามาวิจัยฯ

จากนั้นมา มุมมองและท่าทีการพัฒนากัมพูชาและราชสำนัก ก็แตกต่างไปจากเดิม

เครดิต : Siemreap.net

เรื่องที่ 3 : เถรวาท

ฉันอยากกล่าวว่า พุทธเถรวาทมีส่วนท้าทายภารกิจพิชิตอินโดจีนแคว้นกัมพูชาของบารังเป็นอย่างมากในการทุ่มสรรพกำลังเชิงวิจัย ที่น่าทึ่งกว่านั้น คือการไม่แทรกแซงของฝ่ายบริหารรัฐบาลอินโดจีน ไม่ต่างจากอยุธยาที่บารังเคยอ่อนใจในเรื่องนี้

แต่สิ่งที่เกิดในกัมพูชาในฐานะอาณานิคมแล้ว ความพยายามเอาคาทอลิกเข้ามาแทนเช่นอันนัมอย่างประสบความสำเร็จนั้น คณะรัฐบาลอินโดจีน ล้มเหลวและยอมรับความจริงในทางลับในความจริงที่ว่า เถรวาทอาจเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาศักยภาพแคว้นเขมร

จากภาพรวมเศรษฐกิจอินโดจีนส่วนนี้ต่อกว่าทุกแคว้นยกเว้นลาว

งานวิจัยทางลับเกี่ยวกับพุทธศาสนาจึงถูกนำมาใช้อย่างรอบด้าน โดยมิพักว่า จะผลาญเวลา “เนิ่นนาน” เพียงใด

โดยบุคคลชั้นหัวกะทิทางปัญญาเท่าที่จะระดมมาได้ สำหรับสำนักวิจัยที่ฮานอย (โรงเรียนฝรั่งเศสบูรพทิศ) ปารีส ไซ่ง่อน พนมเปญ และกรุงเทพฯ น่าประหลาดที่เกือบทั้งหมดเป็นยิวนับถือโยดาห์ มีอำนาจในการวางแนวทางพัฒนา เพื่อให้คุณแก่ตนและเถรวาทเขมรโดยมิว่าจะด้อยค่าสยามนิกายหรือไม่

เราจะเห็นว่า การที่นักศาสนศาสตร์ หลุยส์ ฟิโนต์ ต้องเดินทางผ่านทั้งเขมร ไทย พม่า อินเดีย รวมทั้งศิษย์รัก คาร์เปเลส นักวิจัยหญิงชาวบารังที่เกิดในอินเดียก็ศึกษาเถรวาทสยามรวมทั้งสายทิเบตนับสิบปีก่อนสู่สนามในทางปฏิบัติ

พวกเขาให้ความสำคัญต่องานวิจัยอย่างสูงสุด จากมุมมองต่อเขมรที่เปราะบางจนไม่อาจใช้อำนาจบังคับเมื่อเทียบกับแคว้นอื่น ที่ขับเคลื่อนโดยเถรวาท-ทรัพยากรมนุษย์ที่ถือตนในสติปัญญาและคณะองค์กรที่สะสมเชิงอำนาจที่สืบทอดกันมา

สำคัญเสียยิ่งกว่าราชสำนัก-ศูนย์อำนาจเชิงปัจเจกที่ตนสามารถ “ควบคุมและบงการ” อย่างไม่ต้องลงแรงนัก และตราบจนทุกวันนี้ ผลพวงวิจัยเชิงปฏิบัติการดังกล่าวแล้ว ยังพบว่างานวิจัยทั้ง 3 ชุดของบารังที่ผ่านมา

ยังปรากฏซ้อนเงาอยู่ในทุกๆ ช่วงประวัติศาสตร์ร่วมสมัยกัมพูชา

เครดิต : WordPress.com