E-DUANG : ปัจจัย คำวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญ “เส้นแบ่ง” แหลมคม ทางการเมือง

การอ่านคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรณีคำปราศรัยของ”อานนท์ รุ้ง ไมค์”ในวันที่ 10 สิงหาคม เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายนกำลังกลายเป็น”เส้นแบ่ง”สำคัญในทางการเมือง

ไม่ว่าจะมองจากด้านของโจทก์ซึ่งเป็นผู้กล่าวหา ไม่ว่าจะมองจากด้านของ”อานนท์ รุ้ง ไมค์”ซึ่งเป็นผู้ถูกกล่าวหา

คำถามก็คือจะเกิด”สถานการณ์”อะไรตามมา

หากประเมินจากท่าทีของ นายณัฐพร โตประยูร อย่างแรกที่สุดก็คือ ท่าทีที่จะขยายผลไปสู่การฟ้องร้องกล่าวโทษต่อบทบาทของผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องโดยเฉพาะพรรคก้าวไกล

ความหมายก็คือ อาจมีการนำคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนำไปสู่การฟ้องร้อง กล่าวหากระทั่งการยุบพรรคก้าวไกลเหมือนกับที่เคยกระทำกับพรรคอนาคตใหม่มาแล้ว

ขณะเดียวกัน การเคลื่อนไหวทางการเมืองจะเป็นอย่างไร

การเคลื่อนไหวในกรณีของ”ราษฎรประสงค์ ยกเลิก 112”จะต้องยุติลงเนื่องแต่คำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่

และจากคำวินิจฉัยนี้จะมีผลสะเทือนต่อการชุมนุมหรือไม่

 

หากดูสิ่งที่”ราษฎรประสงค์ ยกเลิก 112”ที่กระทำอยู่โดยเฉพาะการ ล่ารายชื่อผู้เห็นด้วยทางออนไลน์ที่ร่วมมือจากแอพลิเคชั่นของราษ เปษและคณะก้าวหน้า

ปรากฏว่ารายชื่อที่ทะยานเข้าสู่หลัก 200,000 คนก่อนหน้าวันที่ 10 พฤศจิกายนก็ยังทะยานไปอย่างไม่หยุดยั้ง

ความหมายก็คือ ผู้ที่เห็นด้วยยังคงเคลื่อนไหว ไม่สะดุด

ยิ่งกว่านั้น กลุ่มทางการเมืองต่างๆไม่ว่าในนามราษฎร ไม่ว่าในนามทะลุฟ้า ไม่เพียงแต่ได้ออกแถลงการณ์แสดงการไม่ยอมรับต่อคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้น

หากกิจกรรมใดที่เคยประกาศเอาไว้ก็ยังเดินหน้าต่อไปเหมือน 

กับไม่ได้ยินคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

 

ยังเร็วเกินไปที่จะคาดหมายว่าผลสะเทือนและความต่อเนื่องจากคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายนจะปรา กฎออกมาอย่างไร

แต่ที่แน่ชัดก็คือ ก่อให้เกิด”เส้นแบ่ง”สำคัญในทาง”ความคิด”

ยังเป็นความคิดที่ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัย และยังเป็นความคิดที่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัย อันเป็นพื้นฐานเดิมที่ดำรงอยู่แล้ว

เพียงแต่การเข้าปะทะและต่อสู้กันจะดำเนินไปอย่างไรเท่านั้น