E-DUANG : บทเรียน การเมืองนำ การทหาร ประสาน สถานการณ์ ทะลุแก๊ส

ในท่ามกลางความฮึกห้าวเหิมหาญของ”หน่วยควบคุมฝูงชน” หรือ”คฝ.” ไม่ว่าเมื่อตั้งแถวออกมาจากกรมดุริยางค์ทหารบก ไม่ว่าเมื่อรุกเข้าไปในแฟล็ตดินแดง

สายตาที่มองออกมาจากความจัดเจนของ พล.อ.ชวลิต ยงใจ ยุทธ และของ พล.อ.บัญชร ชวาลศิลป์ กลับเป็นอีกอย่างหนึ่ง

เมื่อ พล.อ.บัญชร ชวาลศิลป์ ไปนั่งอยู่ ณ เบื้องหน้ารับฟังคำบอกเล่าจากปาก พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เมื่อแรกที่เดินทางจาก กองพลทหารม้าไปยังพื้นที่ของกองทัพภาคที่ 2

สัมผัสได้ในความรู้สึกของ “ชาวบ้าน” ที่ไม่อยากเห็นทหารใน เครื่องแบบปรากฏตัวใน “หมู่บ้าน” สัมผัสได้ในการขยายตัวของมวล ชนในเครือข่ายของ”ทหารป่า”

ประสบการณ์ของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เมื่อประสานเข้ากับประสบการณ์ของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ

จึงได้กลายมาเป็นคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523

จึงเป็น “อาวุธ” อันมากด้วยพลานุภาพในการต่อสู้และเอาชนะ “คอมมิวนิสต์”ได้นับแต่ปี 2524 เป็นต้นมา

 

เหตุปัจจัยอะไรทำให้เกิดสภาพการณ์การเคลื่อนไหวในแบบที่เรียก ขานกันว่า”ทะลุแก๊ส”นับแต่เดือนสิงหาคมเรื่อยมากระทั่งเดือนกันยา ยนก็ยังมีความต่อเนื่อง

คำถามนี้มีแต่ทหารอย่าง พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ทหารอย่าง พล.อ.บัญชร ชวาลศิลป์ เท่านั้นที่จะตอบได้

โดยอาศัยบทเรียนความจัดเจนของ”การเมืองนำการทหาร”

หากถามว่าทำไมการเคลื่อนไหวที่เคยอยู่เพียงพื้นที่สามเหลี่ยม ดินแดงจึงได้ขยายออกไปยังพื้นที่แยกนางเลิ้งและทะลุไปยังอุรุพงษ์ในคืนวันที่ 19 กันยายน

กลายเป็นว่ามีได้จำกัดแต่เพียง”ดินแดง” เพียงจุดเดียว

คำตอบก็คือ นั่นเป็นการขยายตัวในลักษณะของ”จรยุทธ์”

 

มีความจำเป็นที่หน่วยงานด้านความมั่นคงจะต้องนำเอาแนวทาง “การเมืองนำการทหาร”อันประสานความจัดเจน พล.อ.สายหยุด เกิดผล กับ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ มาศึกษา

เพราะว่าการเคลื่อนไหวในแบบ”ทะลุแก๊ส”คือเงาสะท้อนแห่งการขยายตัวจากความขัดแย้งในทาง”การเมือง”

เนื่องแต่ได้รับผลกระทบจาก”การทหาร”ด้านเดียว มิใช่หรือ