จีนสมัยราชวงศ์ซ่ง (9)  ไท้ต่างด้าวท้าวต่างแดน (ต่อ) / เงาตะวันออก วรศักดิ์ มหัทธโนบล

วรศักดิ์ มหัทธโนบล

เงาตะวันออก 

วรศักดิ์ มหัทธโนบล 

  

จีนสมัยราชวงศ์ซ่ง (9) 

ไท้ต่างด้าวท้าวต่างแดน (ต่อ) 

 

นเมื่อระบบต่างๆ เข้าที่เข้าทางแล้ว ช่วง ค.ศ.1035-36 กองทัพเซี่ยเรือนแสนก็กรีธาเข้าตีชนชาติต่างๆ ตามชายแดนด้านเหนือ ครั้นถึง ค.ศ.1038 ทัพทังกุตก็กลายเป็นภัยคุกคามของซ่งจนซ่งต้องร่วมมือกับทิเบตเข้าต่อต้าน แต่ก็ประสบความสำเร็จเพียงเล็กน้อย 

จนปลายปีเดียวกัน เหวยหมิงหยวนเฮ่าก็ตั้งตนเป็นจักรพรรดิแห่งมหาราชวงศ์เซี่ย (ต้าเซี่ย) ขณะอยู่ในวัย 32 ชันษา จักรวรรดิเซี่ยจึงถือกำเนิดขึ้น และเพื่อมิให้ซ้ำกับราชวงศ์ที่มีชื่อเดียวกันนี้ในยุคต้นประวัติศาสตร์ ราชวงศ์นี้จึงถูกเรียกว่า ซีเซี่ย หรือ เซี่ยตะวันตก 

ราชวงศ์เซี่ยตะวันตกย่อมมีหลี่หยวนเฮ่าหรือเหวยหมิงหยวนเฮ่าเป็นจักรพรรดิ มีซิงชิ่งเป็นเมืองหลวง (ปัจจุบันคือเมืองอิ๋นชวนในเขตปกครองตนเองหนิงเซี่ย) ควรกล่าวด้วยว่า ชื่อของราชวงศ์นี้คือ เซี่ย เพียงคำเดียว แต่ที่เรียกว่า ซี่เซี่ย เป็นการเรียกในชั้นหลัง เนื่องจากที่ตั้งของราชวงศ์นี้อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองซ่ง 

ประวัติศาสตร์จึงเรียกว่า ซี่เซี่ย อีกทั้งยังหลีกเลี่ยงไม่ให้ซ้ำกับราชวงศ์ที่มีชื่อเดียวกันนี้ในยุคต้นประวัติศาสตร์อีกด้วย 

  

ลังก้าวขึ้นเป็นจักรพรรดิองค์แรกแล้ว การศึกที่มีกับซ่งก่อนหน้านี้ก็ยังคงเป็นภารกิจหนึ่งของหลี่หยวนเฮ่าต่อไป และด้วยแสนยานุภาพที่สั่งสมมายาวนาน ทัพเซี่ยตะวันตกก็สามารถกดดันให้ซ่งยอมทำสนธิสัญญาสันติภาพได้สำเร็จ 

โดยซ่งยอมส่งบรรณาการให้แก่เซี่ยตะวันตกเพื่อแลกกับสันติภาพที่ได้มา ซึ่งไม่ว่าจะมองจากแง่มุมใดก็ยากที่จะเห็นถึงความเสมอภาคของสนธิสัญญานี้ แต่การที่ซ่งยอมตามสนธิสัญญานี้จึงออกจะเป็นนโยบายที่น่าสนใจ และเป็นประเด็นที่ในที่นี้จะได้กล่าวถึงต่อไปข้างหน้า 

อย่างไรก็ตาม หากไม่นับปฏิสัมพันธ์ที่มีกับจีนหรือชนชาติอื่นแล้ว เซี่ยตะวันตกภายหลังจักรพรรดิเหวยหมิงหยวนเฮ่าไปแล้ว จักรพรรดิองค์ต่อๆ มาก็พิทักษ์รักษาและสร้างความเจริญให้แก่จักรวรรดิได้อย่างมีวุฒิภาวะ โดยมีเขตแดนครอบคลุมตลอดภาคกลางของแม่น้ำเหลือง และทางด้านตะวันตกของระเบียงกันซู่ 

การเป็นจักรวรรดิของเซี่ยตะวันตกแตกต่างจากราชวงศ์เหลียวและราชวงศ์จิน (ดังจะกล่าวต่อไปข้างหน้า) ตรงที่เซี่ยตะวันตกมิได้สมาทานวัฒนธรรมจีนดังสองราชวงศ์นั้น เซี่ยตะวันตกสร้างจักรวรรดิบนฐานวัฒนธรรมของตน ดังจะเห็นได้จากมรดกด้านสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตนในทุกวันนี้ 

จักรวรรดิเซี่ยตะวันตกตั้งมาได้ยาวนานจนเมื่อชนชาติมองโกลได้ผงาดขึ้นมาในต้นศตวรรษที่ 13 จึงถูกชนชาตินี้บุกโจมตีจนล่มสลายลงใน ค.ศ.1227 เซี่ยตะวันตกจึงนับเป็นจักรวรรดิแรกของจีนที่ถูกโค่นล้มโดยมองโกล 

ซึ่งหากนับจากเหวยหมิงหยวนเฮ่าจักรพรรดิองค์แรกแล้ว เซี่ยตะวันตกจะมีจักรพรรดิทั้งสิ้นสิบองค์ 

  

จินแห่งหนี่ว์เจิน 

านศึกษานี้ได้เคยกล่าวถึงชนชาติหนี่ว์เจิน (Jurchen) ว่ามีปฏิสัมพันธ์กับคีตันและทังกุตมาอย่างยาวนาน แต่การศึกษาถึงภูมิหลังของหนี่ว์เจินกลับเห็นได้ถึงความซับซ้อน เริ่มตั้งแต่ชื่อของชนชาตินี้ที่เรียกว่า หนี่ว์เจิน นั้นมาจากหลักฐานตัวอักษรจีนที่เรียกว่า จูหลี่เจิน (Chu-li-chen) 

แต่ชาวตะวันตกที่รู้จักชนชาตินี้จะเรียกต่างไปจากจีน คือหากเขียนผ่านตัวโรมันแล้วจะเป็น J?rched หรือ J?rchid ส่วนตัวเขียนที่ใช้กันแพร่หลายคือ N?-chen นั้นเริ่มปรากฏในต้นศตวรรษที่ 10 

คำนี้มีความสัมพันธ์กับคำว่า ลี่ว์เจิน (L?-chen) ซึ่งเป็นเสียงเรียกชนชาตินี้ของคีตัน ยิ่งในสมัยเหลียวซิ่งจง (ครองราชย์ ค.ศ.1031-1054) ที่ห้ามเรียกชื่อที่มีเสียงว่า เจิน ที่เป็นพยางค์ที่สองของพระนามเดิมว่า จงเจิน นั้น คีตันได้เปลี่ยนมาเรียกชนชาตินี้ว่า หนี่ว์จี๋ (N?-chih) แทน 

คำเรียกที่ไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกันนี้ มักนำมาซึ่งความสับสนในงานเขียนของชาวตะวันตกอยู่เสมอ 

ตราบจนศตวรรษที่ 16 ชนชาตินี้ก็เรียกตัวเองว่า Jusen อันเป็นตัวเขียนที่มีที่มาจากตัวเขียน Jurchen อีกชั้นหนึ่งในที่สุด 

  

นึ่ง คำว่า หนี่ว์ ที่เขียนว่า jur ในตัวโรมันนี้มีประเด็นที่พึงอธิบายด้วยว่า แต่เดิมตัวเขียนจะประกอบไปด้วยสัญลักษณ์น้ำสามขีดกับผู้หญิงแล้วอ่านว่า หญู แต่ต่อมาคำเรียกนี้ได้เปลี่ยนตัวเขียนโดยตัดสัญลักษณ์น้ำสามขีดออกไป คงไว้แต่สัญลักษณ์ผู้หญิงและยังคงอ่านว่า หญู่ ดังเดิม 

แต่เนื่องจากคำที่ว่า (ที่หมายถึงผู้หญิง) อ่านว่า หนี่ว์ มาแต่เดิม ดังนั้น พอเวลาผ่านไปคำเรียกจึงเปลี่ยนจาก หญู่ มาเป็น หนี่ว์ ดังที่ใช้กันในทุกวันนี้ อย่างไรก็ตาม ตัวโรมันที่ใช้เรียกชื่อของชนชาตินี้เป็นระบบเวดไจล์ (Wade-jile) แต่เนื่องจากงานศึกษานี้ยึดระบบพินอิน (pin-yin) มาโดยตลอด คำว่า Jurchen จึงคือ N?zhen ในระบบพินอิน 

กล่าวทางด้านภาษาที่หนี่ว์เจิน (N?zhen) ใช้กันแล้วกลับไม่สับสนเท่ากับคำเรียกขานชื่อ นั่นคือ ภาษาพูดของหนี่ว์เจินมีความใกล้ชิดกับภาษาทังกุต (Tungusic) 

แต่นักวิชาการบางสำนักเชื่อว่าเป็นภาษาที่ผสมผสานกันระหว่างภาษาเติร์ก (Turkic languages) กับภาษามองโกล (Mongolian languages) ภาษาเติร์กนี้ยังคงใช้พูดกันในแถบตะวันออกเฉียงเหนือของไซบีเรีย และแมนจูเรียตะวันออกในปัจจุบัน 

แต่แยกออกมาต่างหากจากชนชาติที่พูดภาษาแมนจูในเขตปกครองตนเองชนชาติซีเบ (Sibe) หรือซีป๋อ (Xibo) ในคำจีน อันเป็นเขตปกครองที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของเมืองกุลดจา (Kuldja) ในซินเจียง 

ภาษานี้ได้สลายตัวเมื่อสิ้นศตวรรษที่ 16 โดยทิ้งไว้แต่ความผูกพันใกล้ชิดกับภาษาแมนจูที่ยังคงใช้กันในแถบตะวันตกของจีน ซึ่งทุกวันนี้ชนชาติแมนจูเองก็เชื่อว่า ภาษาของตนมีความใกล้เคียงกับภาษาหนี่ว์เจินในอดีต 

รวมความแล้วจะเห็นได้ว่า ภาษาของชนชาติที่ทรงอิทธิพลในยุคนั้นจะมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ส่วนสิ่งที่ต่างไปจากนี้ย่อมเป็นลักษณะเฉพาะทางภาษาของชนชาตินั้นๆ 

  

นี่ว์เจินมีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ป่าเขาด้านตะวันออกของแมนจูเรีย ซึ่งทุกวันนี้คือจังหวัดที่อยู่ใต้แม่น้ำอามูร์ (Amur River) ทางตะวันออกไกลของอดีตสหภาพโซเวียต ต่อมาในศตวรรษที่ 10 หนี่ว์เจินก็เคลื่อนย้ายกระจายตัวไปยังที่ราบแมนจูเรียที่อยู่ใกล้กับแม่น้ำซันการี (Sungari River) หรือซงฮวา (ซงฮวาเจียง) ในคำเรียกของจีน ที่ไหลผ่านมณฑลจี๋หลินกับมณฑลเฮยหลงเจียง 

แม้จะเป็นพื้นที่ที่ติดกับจีน แต่หนี่ว์เจินก็เลือกที่จะใช้ชีวิตที่ตรงกันข้ามกับจีนซึ่งเป็นชนชาติที่ใช้ชีวิตอยู่กับที่ และเป็นชีวิตที่อยู่บนฐานของเกษตรกรรม โดยหนี่ว์เจินใช้ชีวิตอยู่บนหลังม้าหรืออูฐแล้วเร่ร่อนไปในอาณาบริเวณถิ่นฐานของตน 

การเกษตรในแบบที่ทำอยู่กับที่นั้นมีน้อยหรือแทบไม่มีเลยก็ว่าได้ ทั้งนี้ กลุ่มที่ดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์และจับปลามักจะเป็นกลุ่มที่อยู่ในป่าเขา แต่ถ้าอยู่ในที่ราบมักเลี้ยงวัวและทำการเกษตร กระนั้น หนี่ว์เจินก็มีม้าเป็นสินค้าส่งออก ในขณะที่สินค้าภายในกลับเป็นวัว 

ที่สำคัญ ผลิตผลจากการล่าสัตว์ที่ขึ้นชื่อของหนี่ว์เจินคือ การล่านกอินทรีและนกเหยี่ยว อันเป็นสิ่งที่คีตันและจีนแสวงหาอยากจะได้ 

กล่าวโดยรวมแล้ว สินค้าส่งออกของหนี่ว์เจินนอกจากม้าแล้วก็ยังมีนกอินทรี ทองคำ ไข่มุก และสินค้าจากป่าอย่างขี้ผึ้ง เมล็ดสน (pine seeds) และโสม ซึ่งเป็นสมุนไพรที่สำคัญในตำรับยาจีนและเป็นที่ต้องการของจีน เป็นต้น 

  

ล่าวในทางชาติพันธุ์แล้ว แหล่งข้อมูลของจีนเห็นพ้องต้องกันว่า หนี่ว์เจินเป็นส่วนหนึ่งของชนชาติม่อเหอ หรือที่เรียกกันว่า เกาหลีมัลกัล (Korean Malgal) อันเป็นชนชาติที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ตรงแนวชายแดนเกาหลีกับแมนจูเรีย 

โดยทั่วไปแล้วหนี่ว์เจินไม่มีเอกลักษณ์รวมทางชนชาติที่เป็นของตนเอง นอกเสียจากการรวมตัวเป็นกลุ่มก้อนอย่างเห็นได้ชัดและแตกต่างจากชนชาติอื่น โดยในสมัยถังนั้น หนี่ว์เจินเป็นกลุ่มชนที่ขึ้นต่ออาณาจักรป๋อไห่ (Bo-hai kingdom) ที่ตั้งอยู่ทางใต้ของแมนจูเรีย 

จนถึงศตวรรษที่ 10 ม่อเหอในกลุ่มที่ถูกเรียกว่า ห้าชาติ (อู่กว๋อ, Five Nations) ที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของมณฑลจี๋หลินในปัจจุบัน ได้แยกตัวออกจากกลุ่มของตนมาเป็นชาวหนี่ว์เจิน (N?zhen people) ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นกลุ่มการเมืองหนึ่ง 

ส่วนม่อเหอที่เหลืออยู่อีกเจ็ดเผ่าที่มีชื่อว่า ม่อเหอแห่งแม่น้ำดำ (Black Water of Mo-he) ได้เคลื่อนย้ายไปยังตอนกลางและใต้ของแม่น้ำอามูร์หรือแม่น้ำเฮย (Amur River, เฮยสุ่ย) โดยม่อเหอแห่งแม่น้ำดำนี้ต่อมาถูกถือกันว่าเป็นต้นตระกูลของหนี่ว์เจิน 

อนึ่ง คำว่า เฮย ในชื่อแม่น้ำเฮยหรือเฮยสุ่ยในที่นี้หมายถึง ดำ