E-DUANG : บทกวี “ท่านผู้นำ” เนื่องในวาระ “วันสุนทรภู่”

กวีนิพนธ์ “ประเทศไทย 4.0” อันดังมาจาก “ทำเนียบรัฐบาล” น่าจะเรียกเสียงจากแฟนานุแฟนของ “สุนทรภู่”อย่างคึกคัก

มองจากสายตา เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

อาจมีตำหนิบ้างเล็กน้อยเพราะนับแต่บทที่ 5 ไปยังบทที่ 6 และบทที่ 7 ระหว่าง “วรรคส่ง” กับ “วรรครับ” มีปัญหาในเรื่องสัมผัส และมีปัญหาในเรื่องคำ

วรรครับต้องมีเสียงอย่างเดียวกับวรรคส่ง

วรรครับจำเป็นต้องเป็นเสียงสูง มิใช่เสียงสามัญ

กระนั้น หากมองจากสายตาของ สุชาติ สวัสดิ์ศรี เจ้าของลีลาแบบ “สามบรรทัด” ก็ไม่น่าจะเป็นอะไร

เพราะบทกวี”สามบรรทัด”ไม่คำนึงถึง “สัมผัส”

ให้ความสนใจใน “เนื้อหา” ให้ความสนใจในความเด่นของคำ

 

มองจากบทสรุปของนักวิจารณ์ระดับ ชลธิรา สัตยาวัฒนา หรือ ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์

“ประเทศไทย 4.0” เป็นแบบ “อัตถนิยม”

การใช้คำบางคำอาจดำเนินไปในลักษณะกลอนพาไป อย่างเช่นประสงค์ จำนงค์หมาย หรืออย่างเช่น ช่วยเริ่ม เสริมยาวนาน

แต่ในทาง”เนื้อหา” กุมเนื่อหาใจกลางได้มั่น

ยิ่งกว่านั้น การที่ไม่คำนึงถึง”ขนบ”อย่างเคร่งครัดยังเท่ากับสะท้อนลักษณะอันเป็น”ไทยแลนด์ 4.0″อย่างทระนง องอาจ

เพราะไทยแลนด์ 4.0 เป็นยุคใหม่

มิได้เป็นยุคพายเรือแบบสุนทรภู่ ตรงกันข้าม กลับเป็นยุคเรือดำน้ำ ทั้งยังเป็นเรือดำน้ำจากจีนอีกด้วย

จึงเท่ากับเป็น “อัตถนิยมใหม่” หรือ “อัตถสังคมนิยม”

 

ไม่ว่าท่วงทำนองของกวี ไม่ว่าเนื้อหาและวิถีดำเนินในทางความคิด 2 คนนี้น่าจะให้คำตอบได้

1 ธีรยุทธ บุญมี 1 เสกสรรค์ ประเสริฐกุล

อย่างน้อยคนหลังก็เป็นคนเขียนเพลง อย่างน้อยคนแรกก็เคยเสนอความเรียงประกอบภาพเขียนอย่างวิจิตร

ยิ่งกว่านั้น คนแรกเป็นนักสังคมวิทยา

ยิ่งกว่านั้น คนหลังเป็นนักรัฐศาสตร์

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ สุชาติ สวัสดิ์ศรี ชลธิรา สัตยาวัฒนา ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ ธีรยุทธ บุญมี เสกสรรค์ ประเสริฐกุล พร้อม