E-DUANG : บทเรียน จากกรกฎาคม 2563 กับ ความเป็นจริง มกรา 2564

ไม่ว่าการดำรงอยู่ของ ทนายอานนท์ ไม่ว่าการดำรงอยู่ของ รุ้ง ปภัสยา ไม่ว่าการดำรงอยู่ของ พริษฐ์ เพนกวิน ไม่ว่าการดำรงอยู่ของ ไผ่ ดาวดิน ไม่ว่าการดำรงอยู่ของ โตโต้ ปิยะรัฐ

มิได้เป็นการดำรงอยู่บนความว่างเปล่า มิได้เป็นการดำรงอยู่อย่างไร้รากฐาน

1 เป็นการดำรงอยู่บนพื้นฐานแห่ง “ความคิด” ขณะเดียวกัน 1 เป็นการดำรงอยู่บนพื้นฐานแห่งการเคลื่อนไหวที่เป็นจริง นั่นก็คือ การสำแดงออกในทาง “การเมือง”

ยิ่งกว่านั้น เมื่อการเคลื่อนไหวดำเนินไปในสถานการณ์ที่แน่นอนทางการเมือง ภายในกระบวนการเคลื่อนไหวนั้นๆก็กลายเป็น “การจัดตั้ง”ขึ้นอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้พ้น

เหมือนที่สังคมสัมผัสได้จากการปรากฏขึ้นของ”เยาวขนปลด แอก” เหมือนที่สังคมสัมผัสได้จากการปรากฏขึ้นของ”แนวร่วมธรรม ศาสตร์และการชุมนุม”

จากเดือนกรกฎาคมก็ค่อยๆพัฒนาและเติบใหญ่กลายเป็น”คณะราษฎร 2563”ในเดือนตุลาคม

 

เป็นความจริงที่การเกิดขึ้นของ”เยาวชนปลดแอก”เมื่อเดือนกรกฎาคม 2563 เป็นกระบวนการอย่างเป็นไปเองในทางธรรมชาติที่แม้กระทั่งกลุ่มที่ริเริ่มก็เกิดความตระหนกตกใจ

ลองย้อนหวนไปทบทวนแต่ละท่วงท่าอาการของแต่ละคนในคืนวันนั้นเมื่อเวทีก่อรูปขึ้นหน้าอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

เปรียบเทียบกับเวที ณ ลานพญานาค มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ในวันที่ 10 สิงหาคม ก็จะสัมผัสได้ในความแตกต่างเป็นอย่างสูง

อย่าได้แปลกที่เมื่อ”เยาวชน/ประชาชนปลดแอก”จัดเวที ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ในวันที่ 16 สิงหาคม จะอลังการงานสร้างเพียงใด

ทั้งหมดนั้นคือพัฒนาการ ทั้งหมดนั้นคือความจัดเจนที่เพิ่มขึ้น

เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดไม่ว่า ณ ท้องสนามหลวง เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในวันที่ 14 ตุลาคม 2563

 

มีความต้องการจากบางส่วนให้รักษาความเป็นธรรมชาติ ความไร้เดียงสา ที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม 2563 แต่หากมองจากประสบ การณ์ในเดือนธันวาคม 2563 ย่อมเป็นไปไม่ได้

นี่คือความเป็นจริงจากประสบการณ์และการเคลื่อนไหวที่เป็นจริงในสนามทางความคิด ในสนามทางการเมือง