ในประเทศ/ฝ่าดงระเบิดการเมือง ปฏิกิริยา ‘โกตี๋-3 นายพล’ ‘ไปป์บอมบ์’ ลูกที่ 4 โผล่

ฝ่าดงระเบิดการเมือง

ปฏิกิริยาโกตี๋-3 นายพล

ไปป์บอมบ์ลูกที่ 4 โผล่

คดีระเบิดโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า วันที่ 22 พฤษภาคม

ซึ่งมีหลักฐานเชื่อมโยงไปถึงระเบิดหน้ากองสลากเก่าวันที่ 5 เมษายน และหน้าโรงละครแห่งชาติ วันที่ 15 พฤษภาคม ว่าน่าจะเป็นฝีมือคนร้ายกลุ่มเดียวกัน

โดยมีจุดประสงค์ทางการเมืองในห้วงครบวาระ 3 ปีการรัฐประหารของ คสช.

ผ่านมา 2 สัปดาห์ การสืบสวนสอบสวนทั้งในส่วนของตำรวจและทหารดำเนินไปอย่างเข้มข้น

ในส่วนของตำรวจพล...จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร. มีคำสั่งแต่งตั้งพนักงานสืบสวนสอบสวนคลี่คลายคดีระเบิดทั้ง 3 ลูก ประกอบด้วย นายตำรวจ บช.. บช.. บช.. บก.. ตำรวจภูธร และพนักงานสอบสวนแต่ละกองบัญชาการ ทั้งสิ้น 201 นาย ก่อนเพิ่มชื่อ พล...ศานิตย์ มหถาวร ผบช.. เข้ามาภายหลัง รวมเป็น 202 นาย มี พล...ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รอง ผบ.ตร. เป็นหัวหน้าพนักงานสืบสวนสอบสวน

ในส่วนของทหารหน่วยข่าวกรองของกองทัพศูนย์รักษาความปลอดภัยตลอดจนสภาความมั่นคงแห่งชาติต่างเข้ามามีส่วนร่วมในการคลี่คลายคดีระเบิดด้วยเช่นกันโดยทำงานแยกส่วนจากพนักงานสืบสวนสอบสวนของตำรวจ

เนื่องจากเป็นเหตุการณ์กระทบต่อความมั่นคงในความรับผิดชอบดูแลของคสช. และกองทัพ โดยเฉพาะระเบิดลูกที่ 3 เกิดขึ้นภายในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ซึ่งเป็นพื้นที่ทหาร

ทั้งยังพุ่งเป้าไปที่ห้องวงษ์สุวรรณที่ตั้งชื่อตามนามสกุลของ พล..ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง และ รมว.กลาโหม

ดังนั้นไม่ว่าจะตำรวจหรือทหารจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องติดตามจับกุมตัวมือระเบิดที่มาเหยียบจมูกคสช. ถึงถิ่นครั้งนี้ให้ได้

เพื่อเรียกศรัทธาความเชื่อมั่นด้านความมั่นคงในสายตาของประชาชนกลับคืนมา

ในเบื้องต้นทั้งฝ่ายตำรวจและทหาร จะประเมินสาเหตุแรงจูงใจของกลุ่มมือระเบิดสอดคล้องต้องกันว่ามาจากการเมือง

แต่วิธีการสืบเสาะให้ได้มาซึ่งตัวคนร้ายแตกต่างกัน

ตำรวจให้ความสำคัญที่วัตถุพยานและพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์เป็นหลัก

ขณะที่ฝ่ายทหารดูเหมือนมุ่งตรงไปยังตัวบุคคลในเครือข่ายการเมืองฝ่ายตรงข้ามโดยเฉพาะคนที่มีประวัติเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลคสช. ด้วยวิธีรุนแรง

เช่นกรณีพล..เฉลิมชัย สิทธิสาท ผบ.ทบ. และเลขาธิการ คสช. ออกมาระบุถึง นายวุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ หรือโกตี๋ ผู้ต้องหาคดีความมั่นคง และคดีมาตรา 112 ซึ่งหลบหนีอยู่ในต่างประเทศ ว่าอยู่ในข่ายเชื่อมโยงเหตุระเบิดโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

ก่อนมีรายงานข่าวปล่อยชื่อย่อ 3 นายพลทหารนอกราชการ.-.-.” ตามมาอีกระลอก รวมถึงลูกน้องนายทหารยศพันเอก ที่ไปมีชื่ออยู่ในสมุดเยี่ยมของโรงพยาบาล ก็ตกเป็นเป้าถูกเพ่งเล็งเช่นกัน

ขณะที่พล...ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รอง ผบ.ตร. หัวหน้าพนักงานสืบสวนสอบสวนของตำรวจ ระบุข้อมูลการสืบสวนของตำรวจค่อนข้างสอดคล้องกับทางกองทัพ แต่ในสำนวนการสอบสวน พยานหลักฐานต่างๆ ยังไปไม่ถึง จึงยังชี้ไม่ได้ว่าเป็นกลุ่มการเมืองหรือกลุ่มใด

หลังจากมีชื่อตกเป็นผู้ต้องสงสัยโกตี๋วุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ ได้ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการทางเว็บไซต์ยูทูบ Thais Voice ของจอม เพชรประดับ

ปฏิเสธไม่เกี่ยวข้องกับเหตุระเบิดโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าทั้งกล่าวด้วยว่าถ้าหากพวกตนทำคงไม่ระเบิดโรงพยาบาลแต่จะระเบิดทำเนียบรัฐบาลหรือบ้านคนในรัฐบาลเพราะไม่ต้องการให้ชาวบ้านเดือดร้อน

พร้อมตั้งข้อสังเกตว่าเหตุระเบิดที่เกิดขึ้นเป็นฝีมือของคนบางกลุ่มที่ทำกันเองหรือไม่เนื่องจากจุดเกิดเหตุเป็นพื้นที่ทหารคนธรรมดาระดับตาสีตาสาคงไม่สามารถทำได้

ขณะเดียวกัน พล..พัลลภ ปิ่นมณี อดีตรองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (ผอ.รมน.) และอดีตที่ปรึกษานายกฯ สมัยรัฐบาล น..ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งตรงกับชื่อย่อ.พานกล่าวว่า

ตนเป็นทหารมาตลอดชีวิตอยู่ในสนามรบตั้งแต่ยศร้อยตรีถึงพลเอกรู้ดีว่าในการทำสงครามจะไม่มีการยุ่งเกี่ยวกับโรงพยาบาลหรือแพทย์พร้อมยืนยันว่าไม่เคยรู้จักกับโกตี๋

สำหรับนายพล.ช้างเป็น พล..ชัยสิทธิ์ ชินวัตร ที่ออกมาปฏิเสธอย่างแข็งขันว่า เป็นใครไม่รู้ แต่ไม่ใช่ตนเองแน่นอนผมเป็นทหารเก่า เป็นอดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุดและอดีตผู้บัญชาการทหารบก มีแต่ปราบระเบิด ไม่ใช่ทำระเบิด

ส่วนนายพล.ม้ารายงานข่าวระบุ เคยถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจกองปราบปรามควบคุมตัวดำเนินคดีอาวุธสงครามเมื่อปี 2557 มาแล้วครั้งหนึ่ง ถ้าใครเกาะติดสถานการณ์ช่วงนั้น อาจเดาออกว่าคือใคร

การบุกปิดล้อมตรวจค้นบ้านพักนายสุชาติลายน้ำเงินอดีตส..ลพบุรี พรรคเพื่อไทย ด้วยกำลังเจ้าหน้าที่ทหารติดอาวุธครบมือ

รวมถึงการสกัดตรวจค้นขบวนรถและจับกุมนายชาดาไทยเศรษฐ์อดีตส..อุทัยธานี พรรคชาติไทยพัฒนา แม้เจ้าหน้าที่อ้างว่าเป็นไปตามนโยบายปราบปรามผู้มีอิทธิพลเพื่อลดปัญหาอาชญากรรม

แต่เมื่อมากระตือรือร้นในช่วงนี้ทำให้ถูกมองว่าเป็นการสร้างเงื่อนปมชี้นำให้สังคมสงสัยมากขึ้นว่าอดีตนักการเมืองมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุระเบิด 3 ครั้งในกรุงเทพฯ หรือไม่

กรณี พล..ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และ รมว.กลาโหม เผยว่า ขณะนี้ทหารได้เชิญตัวคนที่อยู่ในข่ายต้องสงสัยอาจพัวพันระเบิดโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า มาพูดคุยแล้ว 40-50 คน

รวมกับที่พล...ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล ระบุในทางสืบสวนสอบสวนของตำรวจ มีการรายงานกลุ่มคนต้องสงสัยว่าอาจเกี่ยวข้องในการวางระเบิดหรือร่วมทีม จำนวนกว่า 200 คน เป็นข้อมูลของนครบาลส่งมากว่า 100 คน ในส่วนของสันติบาล 80-90 คน

นั่นทำให้คดีระเบิดโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าที่เชื่อมโยงไปถึงคดีระเบิดอีก 2 ลูกก่อนหน้า กลายเป็นคดีที่มีผู้ต้องสงสัยมากที่สุด 200-250 คน

แต่ทั้งหมดยังไม่มีหลักฐานชี้ชัดถึงตัว

อย่างไรก็ตามการที่มีข้อมูลผู้ต้องสงสัยจำนวนมากจากหลายสายไหลมารวมกันส่งผลให้เกิดความสับสนกันเองภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

จนสื่อบางสำนักหยิบยกไปเป็นประเด็นพาดหัวเกี่ยวกับภาพความขัดแย้งระหว่างพล...จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร. กับ พล...ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล

หลังจากพล...จักรทิพย์ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าคดี ว่าสามารถระบุตัวคนวางระเบิดได้แล้วว่าชื่อนามสกุลอะไร เป็นใครมาจากไหน แต่ยังไม่ขอบอก

สวนทางกับคำให้สัมภาษณ์ของพล...ศรีวราห์ ในเวลาต่อมาของวันเดียวกัน ว่าพอใจผลการสืบสวนสอบสวนคดีเพียง 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

ทั้งยืนยันในการสืบสวนสอบสวนของตำรวจชุดคลี่คลายคดียังไม่พบหลักฐานชัดเจนพอจะระบุตัวคนร้ายได้ทั้งหมดยังเป็นเพียงผู้ต้องสงสัยและยังไม่ขออนุมัติศาลออกหมายจับใครทั้งสิ้น

ยังดีที่พล...จักรทิพย์ ดับชนวนเรื่องนี้ได้รวดเร็ว ด้วยการยืนเคียงคู่กับ พล...ศรีวราห์ ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนในวันรุ่งขึ้น ว่าทุกอย่างเป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อน

ด้านพล...ศรีวราห์ ก็กล่าวเช่นเดียวกัน ว่าการนำเสนอข่าวของสื่อ ทำให้เกิดความเข้าใจผิด ยืนยันว่าไม่มีเรื่องงัดกับ ผบ.ตร. แน่นอน ทุกอย่างจึงเป็นอันจบข่าว

แต่แล้วแนวทางการสืบสวนที่เริ่มเข้ารูปเข้ารอย ดูเหมือนจะกลับมายุ่งยากอีกครั้ง

เมื่อมีการตรวจพบระเบิดไปป์บอมบ์ลูกที่ 4 ในป่าหญ้ารกร้างหลังร้านอาหารใกล้สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินศูนย์วัฒนธรรม ถนนรัชดาภิเษก

แม้จะสรุปในเบื้องต้นว่าเป็นระเบิดที่คนร้ายนำมาทิ้งเพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจค้นจับกุมไม่ได้หวังผลให้เกิดการระเบิดและไม่เกี่ยวข้องกับระเบิด 3 ลูกก่อนหน้านี้

ถึงกระนั้นการอธิบายลักษณะระเบิดที่บรรจุในท่อเหล็กต่อจุดสายชนวนว่าเป็นแบบเดียวกับเหตุระเบิดย่านมีนบุรีเมื่อปี 2557 และระเบิดทางเดินเชื่อมรถไฟฟ้าบีทีเอส หน้าห้างสยามพารากอน เมื่อปี 2558

ก็เท่ากับเป็นการตอกย้ำให้เห็นภาพความรุนแรงทางการเมืองที่ยังดำรงอยู่อย่างต่อเนื่องในยุคสมัยรัฐบาลคสช. ที่มีกลุ่มคนจำนวนหนึ่งพร้อมก่อเหตุระเบิดได้ทุกช่วงเวลา ไม่ว่าในปี 2557, 2558 จนถึงปี 2560

ซึ่งทั้งหมดยังจับมือใครดมไม่ได้