E-DUANG : ไทยแลนด์ 4.0 กับ การปั้นตัวเลข เศรษฐกิจ

เหตุปัจจัยอะไรทำให้ “คอมเมนต์” ของ นายบรรยง พงษ์พานิช ในหัวข้อเรื่อง”การลงทุนในไทยเพิ่มหรือหดกันแน่”

เพราะว่าเขาเป็น “นายแบงก์”

หรือเพราะว่าเขาเคยได้รับ “เทียบเชิญ” จากคสช.และรัฐบาลให้ไปร่วมใน “ซูเปอร์บอร์ด”

ตั้งแต่ยุค “ปรีดิยาธร” ถึง “สมคิด”

ทั้ง 2 ประการข้างต้นอาจเป็นส่วนหนึ่งของ “เหตุปัจจัย” แต่ที่สำคัญยิ่งกว่านั้น

ยังอยู่ที่ “ข้อมูล” และ “ความเป็นจริง”

ขณะเดียวกัน กระบวนการนำเสนอยังดำเนินไปในลักษณะของการเปรียบเทียบ

แปร “นามธรรม” เป็น “รูปธรรม”

 

การเปรียบเทียบที่มีนัยสำคัญเป็นอย่างมากในทางเศรษฐกิจ คือ การเปรียบเทียบบนฐานแห่ง “ความเป็นจริง”

สัมผัสได้จาก “ตัวเลข”

เป็นตัวเลขจากการลงทุนจริงปี 2557 จำนวน 600,000 ล้าน บาท ปี 2558 จำนวน 500,000 ล้านบาท ปี 2559 จำนวน 490,000 ล้านบาท

จากนั้นก็นำไปสู่การคำนวณ เปรียบเทียบ

เท่ากับว่าปี 2558 หดตัวร้อยละ -17 ปี 2559 หดตัวร้อยละ -2

“รูปธรรม” อย่างนี้แหละ “สำคัญ”

สำคัญไม่เพียงเป็นการแยกแยะระหว่าง “คำแถลง” กับ “ความเป็นจริง”

หากแต่ยังก่อให้เกิด “จินตนาการ” กว้างไกล

 

บทบาทของ นายบรรยง พงษ์พานิช จึงเป็นบทบาทที่ตั้งข้อสังเกต ต่อคำแถลงอันมาจากรัฐบาล และมาจากคสช.

นั่นก็คือ ดำรงอยู่กับ “ความจริง” มากน้อยเพียงใด

หรือเสมอเป็นเพียงตัวเลขทางด้าน “การตลาด” ตามกระบวน การและโครงสร้าง “ประชาสัมพันธ์”

อันสรุปได้ว่าเป็นเรื่องของ “โวหาร”

เหมือนกับโวหารในเรื่อง “ไทยแลนด์ 4.0” เหมือนกับโวหารใน เรื่อง “บิ๊ก ดาต้า”

ดำเนินไปในกระบวนท่าของ “น้ำยาบ้วนปาก