E-DUANG : “รัฐธรรมนูญ” กับอนาคตการเมือง”คสช.”

มี “จุดร่วม” อยู่จุดร่วม 1 ไม่ว่าจะเป็นคสช. ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมือง
​คือ จุดร่วมต่อ “รัฐธรรมนูญ”
​ไม่ว่าจะฟังจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ว่าจะฟังจาก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
​ถือว่า การมี”รัฐธรรมนูญ” คือ การนับ 1
​เป็นการนับ 1 ของจุดเริ่มต้นแห่งการก้าวไปสู่ “การเลือกตั้ง” อันมีเป้าหมายอยู่ที่ “ประชาธิปไตย”
​ในอีกด้านจึงเท่ากับเป็นการสิ้นสุดยุคแห่ง”รัฐประหาร”
​แม้ว่า “ความหมาย” แห่งประชาธิปไตยระหว่างคสช.กับพรรคการเมืองจะไม่เหมือนกัน แม้ว่า”ความหมาย”แห่งประชาธิป ไตยระหว่างพรรคการเมืองจะไม่เหมือนกัน
​แต่การนับ 1 ไปสู่”ประชาธิปไตย” เท่ากับเป็นการนับ 1 ของการสิ้นสุดแห่งยุค”รัฐประหาร”
ทรงความหมาย และ มีความสำคัญ

หากมองการก้าวไปสู่ “ประชาธิปไตย” เหมือนกับเป็นการเกิด การสิ้นสุดแห่งยุค”รัฐประหาร”จึงเท่ากับเป็นการตาย
​เป็นการตายลงช้าๆของยุคแห่ง”รัฐประหาร”
​ขณะเดียวกัน ก็เป็นการเกิดและเติบใหญ่อย่างช้าๆของ”ประ ชาธิปไตย”
​การมอง”รัฐธรรมนูญ”ว่าเป็นการนับ 1 จึงน่ายินดี
​น่ายินดีต่อพรรคการเมืองที่เรียกร้อง ต้องการเห็น”ประชาธิป ไตย” เติบใหญ่ ขยายตัว
​เพราะยิ่ง”ประชาธิปไตย”เข้มแข็งก็ยิ่งเป็นคุณ
​เป็นคุณต่อการสกัด ขัดขวาง มิให้กระบวนการ”รัฐประหาร”ได้ดำรงอยู่
​”รัฐประหาร”จึงเป็นคู่ขัดแย้งกับ”ประชาธิปไตย”

หากมองจากมุมของ “คสช.” อันเติบโตมาจากเนื้อดินแห่งกระบวน การ”รัฐประหาร”
​การมาของ”รัฐธรรมนูญ”จึงเป็น”สัญญาณ”
​1 สัญญาณบ่งบอกการมาของ”ประชาธิปไตย” และ 1 สัญญาณการอำลาจากไปของ”รัฐประหาร”และผลพวงจาก”รัฐ ประหาร”
​เพราะเท่ากับเป็นการสิ้นสุดแห่งยุค”คสช.”ไปด้วย