จรัญ มะลูลีม : วัฒนธรรมสมัยนิยมของอินเดีย “ความหลากหลาย-การผสมผสาน”

จรัญ มะลูลีม

วัฒนธรรม คือวิถีชีวิตที่มีรูปแบบเฉพาะของผู้คน เป็นช่วงชีวิตที่มีระยะเวลาหรือมีกลุ่มก้อนของผู้คนที่มาอยู่ร่วมกันในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง วัฒนธรรมเป็นกระบวนการทั่วไปของการใช้ปัญญา จิตวิญญาณและการพัฒนาด้านที่เป็นสุนทรียภาพ วัฒนธรรมบ่งบอกถึงวิถีการปฏิบัติต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมมนุษย์

วัฒนธรรมสมัยนิยม คือสิ่งที่เป็นที่ชื่นชมของคนจำนวนมากและเป็นสิ่งที่ตั้งใจให้เกิดขึ้นเพื่อให้ผู้คนเหล่านั้นเกิดความชื่นชอบ

วัฒนธรรมสมัยนิยม หมายถึงวัฒนธรรมที่เป็นที่ชื่นชอบของคนจำนวนมากหรือเป็นวัฒนธรรมของผู้คนที่มีบทบาทครอบคลุมอยู่ในสังคมในจุดหนึ่งของช่วงเวลา

วัฒนธรรมสมัยนิยมเปิดโอกาสให้กับมวลชนที่มีความแตกต่างกันได้แสดงตัวตนร่วมกัน

วัฒนธรรมสมัยนิยมก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ที่มีอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เป็นปฏิสัมพันธ์ที่เป็นที่ต้องการและเป็นความปรารถนาและเป็น “ช่วงขณะ” ของความชื่นชอบที่ก่อรูปขึ้นในชีวิตประจำวัน

วัฒนธรรมสมัยนิยมได้รับอิทธิพลมาจากสังคมสมัยใหม่จากอุตสาหกรรมที่กระจายวัตถุดิบทางวัฒนธรรมออกไป ลักษณะเด่นของวัฒนธรรมสมัยนิยมได้แก่ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง

วัฒนธรรมสมัยนิยมได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางและเป็นธุรกิจที่มีความจริงจัง ทั้งนี้ วัฒนธรรมสมัยนิยมในอินเดียได้แก่ ดนตรี โทรทัศน์ หนังสือการ์ตูน กีฬา ภาพยนตร์ การโฆษณา แฟชั่น นิตยสาร วัฒนธรรมในโลก cyber ทั้งนี้ กีฬาและโทรทัศน์กลายเป็นตัวอย่างของวัฒนธรรมสมัยนิยมที่มีผู้บริโภคมากที่สุดในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมสมัยนิยมด้วยได้แก่ ชาติพันธุ์ เผ่าพันธุ์ เพศสภาพ วัฒนธรรมและการเซ็นเซอร์

 

วัฒนธรรมพื้นบ้านนิยม
กับวัฒนธรรมสมัยนิยม

ในบางทิศทางวัฒนธรรมพื้นบ้านนิยมก็มีความคล้ายคลึงกับวัฒนธรรมสมัยนิยมเช่นกัน เพราะล้วนมีมวลชนเข้าร่วม

วัฒนธรรมพื้นบ้านนิยมจะมีความมั่นคงมากกว่าวัฒนธรรมสมัยนิยม

ดังนั้น วัฒนธรรมพื้นบ้านนิยมจะมีพื้นที่ที่แน่นอน

ในขณะที่วัฒนธรรมสมัยนิยมจะมองหาสิ่งใหม่ๆ หรือสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้น

 

วัฒนธรรมสูง VS วัฒนธรรมสมัยนิยม

ลักษณะสำคัญของวัฒนธรรมสมัยนิยมก็คือการเข้าถึงของมวลชน

ส่วนวัฒนธรรมสูงไม่ได้เป็นผลิตผลของมวลชน หรือเพื่อมวลชนจะบริโภค

เพราะวัฒนธรรมสูงจะมาจากชนชั้นนำของสังคม เช่น วิจิตรศิลป์ โอเปร่า โรงละคร หรือสิ่งที่เกี่ยวข้องอยู่กับชนชั้นที่มีบทบาทอยู่ในทางสังคมและเศรษฐกิจ

วัฒนธรรมสมัยนิยมจะก่อตัวอยู่ในเมือง ในโรงงานอุตสาหกรรม สื่อ และเทคโนโลยีที่เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง

 

วัฒนธรรมผสมผสานของอินเดีย

วัฒนธรรมเป็นหนทางของชีวิตทั้งมวล ซึ่งบ่งบอกถึงกลุ่มก้อนของผู้คน ผลผลิตของตัวบุคคล และสังคมของมนุษย์

ด้วยเหตุนี้วัฒนธรรมจึงเป็นการเรียนรู้ เป็นการร่วมมือกันโดยกลุ่มก้อนของผู้คน

วัฒนธรรมจึงเป็นการสะสม เปลี่ยนแปลงและหลากหลาย

การผสมผสานทางวัฒนธรรม (Cultural mosaic) จึงเป็นการผสมผสานของกลุ่มชาติพันธุ์ ภาษาและวัฒนธรรมที่มีการร่วมมือกันอยู่ในสังคม

 

ข้อเด่นของวัฒนธรรมผสมผสาน

ทําผู้คนให้มีความใจกว้างมากขึ้นกับชาติพันธุ์อื่นๆ ได้รับอนุญาตให้ปฏิบัติตามวัฒนธรรมของตัวเอง เรียนภาษาที่ต่างจากภาษาของตนเองได้ ได้รับการต้อนรับ ได้รับการยอมรับจากกลุ่มก้อนของชนกลุ่มน้อย ความคิดในเรื่องความหลากหลาย จะช่วยให้เกิดความเข้มแข็ง

เปิดโอกาสให้ผู้อพยพต่อสู้เพื่อประเทศที่ตัวเองเข้ามาอยู่ เกิดความพยายามในการสร้างเอกภาพผ่านความหลากหลาย

เปิดโอกาสให้กับสาธารณชนแสดงความคิดเห็นอย่างเสรี

มีความเป็นประชาธิปไตย

สามารถช่วยแยกความขัดแย้งของกลุ่มต่างๆ ออกมาให้เห็นได้

 

ข้อด้อยของวัฒนธรรมผสมผสาน

ผู้คนไม่ค่อยจะรวมตัวกัน สูญเสียวัฒนธรรมของตนเอง วัฒนธรรมผสมผสานมุ่งเน้นความแตกต่างซึ่งจะทำให้อาชญากรรมแห่งความเกลียดชังเพิ่มขึ้น ประสบความสำเร็จน้อย เนื่องจากมีปัญหาการติดต่อกันทางสังคม มีความขัดแย้งและความรุนแรง

อินเดียเป็นประเทศที่เศรษฐกิจ วรรณะ ชาติพันธุ์ ศาสนาและภาษาศาสตร์มีความหลากหลาย โดยไม่มีหน่วยทางวัฒนธรรมเดี่ยวในอินเดีย

อินเดียสามารถแบ่งออกเป็นภูมิภาคต่างๆ ซึ่งมีความแตกต่างกันในทางภูมิศาสตร์ อากาศ เศรษฐกิจ ภาษาศาสตร์ และเส้นทางทางด้านชาติพันธุ์ซึ่งถือกันว่าเป็นความแตกต่างในทางวัฒนธรรม

อินเดียแบ่งพื้นที่ทางวัฒนธรรมออกเป็นพื้นที่ทางเหนือ พื้นที่ทางใต้ พื้นที่ทางตะวันออก พื้นที่ทางตะวันตก

และพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือ

 

พื้นที่ทางเหนือ

คําว่าวัฒนธรรมทางเหนือของอินเดียนั้นได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของรัฐอินเดียทางตอนเหนือ 7 รัฐด้วยกัน ซึ่งได้แก่ ปัญจาบ (Panjab) จัมมูและแคชเมียร์ (Jammu & Kasmir) จันติการ์ (Chandigarh) รัฐสหพันธ์ (Union Territory) เดลี (Delhi) หิมาจัลประเทศ (Himachal Prodesh) และอุตตรประเทศ (Uttra Pradesh)

วัฒนธรรมทางเหนือของอินเดียมีรากเหง้ามาจากประเพณีของอินโด-อารยันและจารีตต่างๆ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกัน

และได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมอื่นๆ จากช่วงเวลาอันยาวนานทางประวัติศาสตร์

 

เสื้อผ้า

เสื้อผ้าตามประเพณีทางเหนือของอินเดียได้แก่ ชัลวา (shalwar) กามิซ (kemeez) กากรา โชลี (gagra choli) ส่าหรี (sari) อันเป็นชุดการแต่งกายของสตรี

ส่วนเสื้อผ้าตามประเพณีของบุรุษได้แก่ กุรตา (kurta) อัชกัน (achkan) กามิซและเชิร์ตวานี (kameez and sherwani) ซึ่งเป็นสิ่งทอที่ใช้กับร่างกายด้านบน ส่วนร่างกายด้านล่างจะรวมทั้งโดตี (dhoti) ชูริดา (churida) ชัลวาร์และลุงยี (lungi) หรือโสร่ง

ปากรี (Pagri) เป็นผ้าที่ใช้พันรอบศีรษะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชนบท

 

อาหาร

แป้งสาลีเป็นอาหารหลักของอินเดียทางตอนเหนือ

อาหารมังสวิรัติเป็นอาหารหลักในเกือบจะทุกหนแห่งของอินเดียทางตอนเหนือ ยกเว้นแคชเมียร์

ส่วนอาหารมุคลัย (mughlai) ที่สืบทอดมาจากราชวงศ์มุคัลหรือโมกุลนั้นเป็นอาหารที่ไม่ใช่มังสวิรัต (non-vegetarian) ซึ่งมีกลิ่นหอม มีรสชาติหลากหลาย และมีการปรุงรสที่หลากหลายเช่นกัน

ในขณะที่อาหารปัญจาบเป็นอาหารที่ค่อนข้างเผ็ดและมีรสชาติดี

 

ดนตรี

ฮินดูสตานีคลาสสิคหรือชาตริยะ สังคีต

เป็นดนตรีคลาสสิคของอินเดียทางตอนเหนือ

 

การเต้น

ความรุ่มรวยและความหลากหลายของอินเดียทางตอนเหนือจะเห็นได้ชัดเจนจากการเต้นพื้นบ้านที่มีความหลากหลาย

เช่น บันกรา (Bhangra) ซึ่งเป็นการเต้นของบุรุษ

และกิดดา (Giddha) ที่เป็นการเต้นของสตรี

ที่มีการเต้นตั้งแต่ปัญจาบไปจนถึงเมืองกาทัดในรัฐอุตตรประเทศ