รายงานพิเศษ/โชคชัย บุณยะกลัมพ/ประมูลคลื่นความถี่ 5G แสนล้าน ‘เอไอเอส’​ กวาดเรียบ 3 คลื่น

รายงานพิเศษ/โชคชัย บุณยะกลัมพ

https://www.facebook.com/ChokCyberAIEntertainment/

ประมูลคลื่นความถี่ 5G แสนล้าน ‘เอไอเอส’​ กวาดเรียบ 3 คลื่น

การประมูลคลื่นความถี่สำหรับให้บริการ 5G  ที่ “กสทช.” คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ จัดขึ้นในวันที่ 16 ก.พ. 2563 โดยมีการประมูล 3 ย่านความถี่ จากทั้งหมดที่ตั้งใจไว้ 4 คลื่น ได้แก่ 700 MHz  2600 MHz และ 26 GHz เนื่องจากคลื่น 1800 MHz ไม่มีเอกชนรายใดแสดงความจำนงจะเข้าประมูล

มีผู้แสดงความจำนงเข้าประมูลทั้งหมด 5 ราย ได้แก่ “เอไอเอส” ผ่านทางบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด “ทรู” โดยบริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด “ดีแทค” โดยบริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด “แคท” บมจ.กสท โทรคมนาคม และ บมจ.ทีโอที

โดย “เอไอเอส-ทรู” เข้าประมูลทั้ง 3 ย่านความถี่ “แคท” เข้าประมูลคลื่น 700 MHz  และ 2600 MHz ส่วน  “ดีแทค-ทีโอที” เข้าประมูล 26 GHz เพียงคลื่นเดียว

การประมูลคลื่นความถี่เพื่อรองรับ 5G ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จัดขึ้น
คลื่นความถี่ย่าน 700 เมกะเฮิรตซ์ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือแคท ชนะการประมูลจำนวน 2 ชุด มีราคา 34,306 ล้านบาท
บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (เอดับบลิวเอ็น) ในเครือบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ชนะการประมูลจำนวน 1 ชุด มีราคา 17,153 ล้านบาท
บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (ทียูซี) ในเครือบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ไม่ได้รับการจัดสรร
คลื่นความถี่ย่าน 2600 เมกะเฮิรตซ์ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (เอดับบลิวเอ็น) ในเครือบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ชนะการประมูลจำนวน 10 ชุด มีราคา 19,560 ล้านบาท
บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (ทียูซี) ในเครือบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ชนะการประมูลจำนวน 9 ชุด มีราคา 17,604 ล้านบาท และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือแคทไม่ได้รับการจัดสรร
คลื่นความถี่ย่าน 26 กิกะเฮิรตซ์ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (เอดับบลิวเอ็น) ในเครือบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ชนะการประมูลจำนวน 12 ชุด มีราคา 5,340 ล้านบาท
ส่วนบริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (ทียูซี) ในเครือบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ชนะการประมูลจำนวน 8 ชุด มีราคา 3,560 ล้านบาท
บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ชนะการประมูลจำนวน 4 ชุด มีราคา 1,780 ล้านบาท และบริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด (ดีทีเอ็น) ในเครือบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ชนะการประมูลจำนวน 2 ชุด มีราคา 890 ล้านบาท

แยกมูลค่าคลื่นที่ผู้ประกอบการแต่ละรายจะต้องจ่ายค่าคลื่นจากการประมูลครั้งนี้

“เอไอเอส” ผ่านทางบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด เป็นเงิน 42,060 ล้านบาท
“ทรู” โดยบริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด เป็นเงิน 21,449.6 ล้านบาท
“ดีแทค” โดยบริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด เป็นเงิน 910.4 ล้านบาท
“แคท” บมจ.กสท โทรคมนาคม เป็นเงิน 34,306 ล้านบาท
บมจ.ทีโอที เป็นเงิน 1,795 ล้านบาท

รวมรายได้ในขั้นตอนการจัดสรรชุดคลื่นความถี่ และขั้นตอนการกำหนดย่านความถี่ ส่งผลให้การประมูลคลื่น ความถี่ ครั้งนี้มีรายได้เข้ารัฐ รวม 100,521 ล้านบาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) รวม 48 ชุดคลื่นความถี่

แบ่งได้ตามประเภท

คลื่นความถี่ย่าน 700 เมกะเฮิรตซ์ ประมูลได้จำนวน 3 ชุด เป็นเงิน 51,460 ล้านบาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
คลื่นความถี่ย่าน 2600 เมกะเฮิรตซ์ ประมูลได้จำนวน 19 ชุด เป็นเงิน 37,434 ล้านบาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
คลื่นความถี่ย่าน 26 กิกะเฮิรตซ์ ประมูลได้จำนวน 26 ชุด จากที่นำออกประมูล 27 ชุด เป็นเงิน 11,627 ล้านบาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

“กสทช.”จะนำผลการประมูลครั้งนี้เข้าสู่ที่ประชุม กสทช. เพื่อลงมติรับรองผลอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 โดยจะมีการชำระค่าใบอนุญาตในวันเดียวกัน ซึ่งคาดว่า ผู้ชนะการประมูลในคลื่นความถี่ย่าน 2600 เมกะเฮิรตซ์ และ 26 กิกะเฮิรตซ์ จะขอเข้ารับใบอนุญาตภายในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์นี้ ขณะที่ คลื่นความถี่ ย่าน 700 เม กะ เฮิรตซ์ ปัจจุบัน ใช้ในกิจการไมโครโฟน คาดว่าจะนำมาให้ในกิจการโทรคมนาคม ได้หลังเดือนเมษายน 2564

เปิดระเบียบ-ขั้นตอน กสทช. จัดประมูล 5จี