E-DUANG : วาทกรรม “ยอมถอย” ในสถานการณ์”ปรองดอง”

AFP PHOTO / CHRISTOPHE ARCHAMBAULT

มีคำพูดหลายคำพูด “ปรากฎ” ขึ้นภายในสถานการณ์และการไหว

เคลื่อนของ “ปรองดอง”

เห็นได้จากคำว่า “ยอมถอย”

เพราะคำๆนี้แหละจึงนำมาสู่ข้อเรียกร้องในเรื่องการเปลี่ยนของสิ่งที่เรียกว่า “กรอบคิด”

เรื่องนี้ต้องยกตัวอย่างจาก “พระพุทธเจ้า”

คงจำกันได้ว่า สมณะสิทธัตถะ ได้ตัดสินใจเข้าสู่กระบวนการอดอาหาร กระทำบำเพ็ญทุกรกิริยาในขั้นอุกฤษฎ์

กระทั่งซูบผอมเหลือแต่”โครงกระดูก”

ปฏิบัติอย่างไรก็ไม่สามารถค้นพบกระบวนการ”ดับทุกข์”ได้ตามเป้าหมาย สมณะสิทธัตถะ จีงทบทวนและสรุปออกมาได้ว่าน่าจะมิใช่ “หนทาง” อันถูกต้อง

เพราะเป็นกระบวนการ “สุดโต่ง” จนเกินไป

สมณะสิทธัตถะ จึง “ยอมถอย” จากหนทางอัน “สุดโต่ง” มาอยู่ในกระบวนการอย่างที่เรียกว่า “ทางสายกลาง”

จึงได้”บรรลุ”และกลายเป็น “สัมมาสัมพุทธเจ้า

 

ความหมายของคำว่า “ยอมถอย” ในที่นี้จึงหมายความว่า การถอยออกจาก “กรอบคิด” เดิม

ประเด็นอยู่ที่ว่า จะทำความเข้าใจต่อกรอบคิด”เดิม”อย่างไร

อย่างน้อยพลันที่คำว่า “ปรองดอง”เผยแสดงออกมา ก็นำไปสู่ความรู้สึกร่วมที่ว่าต้องมีการผ่อนปรนจึงจะเกิดสภาพ”ผ่อนคลาย”

หากไม่ผ่อนคลายก็ยากที่จะมี “ปรองดอง”

อย่างน้อยพลันที่คำว่า “ปรองดอง”เผยแสดงออกมา ก็นำไปสู่ความรู้สึกร่วมที่ต้อง “เปิดกว้าง”

หากไม่ผ่อนคลายก็ยากที่จะมี “ปรองดอง”

เห็นได้จาก แม้ยังไม่มีประกาศยกเลิก “คำสั่งคสช.” แต่พรรค การเมืองก็สามารถพบปะ หารือ เพื่อหาบทสรุปตามคำถาม 10 ข้ออันมาจาก”คณะกรรมการ”ได้

โดย “คสช.”แสร้งทำเป็น”หลิ่วตา”มองไม่เห็น

 

จากนี้จึงเห็นได้อย่างเด่นชัดเป็นลำดับว่า “ปรองดอง” มิได้มาอย่างโดดเดี่ยว เดียวดาย

หากแต่มี “เพื่อน” สนิท “มิตรสหาย”จำนวนมาก

ตรงนี้มิใช่ว่า “คสช.” เท่านั้นจะต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจ หากแต่ “ฝ่ายการเมือง”ก็จะต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจด้วย

มิตรสหาย 1 ของปรองดองคือ “เสียสละ”

หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยอม “เสียสละ” คิดแต่จะ “ได้”ฝ่ายเดียวก็ยากเป็นอย่างยิ่งที่จะ “ปรองดอง”

ดังนั้นจึงมีคำว่า “แสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง”

เพราะหากไม่มีการ “สงวนจุดต่าง” ก็ยากเป็นอย่างที่ “แสวง จุดร่วม” จะสามารถมีบทบาทขึ้นมาได้

“ปรองดอง” จึงต้อง “เปิดกว้าง”

คนที่คับแคบ เห็นแต่ประโยชน์ของตน ประโยชน์ของฝ่ายตนไม่สามารถทำงาน”ปรองดอง”ได้อย่างเด็ดขาด

เพราะ”ปรองดอง”ต้องมีมากกว่า 1