ส่องยอดยูทูบ “มติชนทีวี-มติชนสุดสัปดาห์” อีกหนึ่งดัชนีชี้วัด “การเมืองร้อนแรง”

หลายคนอาจตั้งคำถามว่า การเมืองไทยที่กำลังกลับมาคึกคักในช่วงไม่กี่สัปดาห์นี้จะก่อให้เกิด “ประชาธิปไตยแท้จริง” ขึ้นในสังคมได้หรือไม่? และจะสามารถปิดฉาก “ระบอบเผด็จการครึ่งใบ” ลงได้เมื่อไหร่?

เวลาเท่านั้นที่จะให้คำตอบกระจ่างชัดต่อประเด็นดังกล่าว

แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับก็คือ ภายหลังการเปิดรัฐสภา คนไทยนั้นเฝ้าติดตามและถกเถียงปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับนักการเมืองกันอย่างเยอะแยะมากมายจริงๆ

ตั้งแต่ประเด็นเรื่องความขัดแย้งหรือดราม่าเล็กๆ น้อยๆ ระหว่าง ส.ส. ไปจนกระทั่งถึง “เกมต่อรองอำนาจ” อันมหัศจรรย์พันลึกในภาพใหญ่

หลักฐานสำคัญประการหนึ่งที่ช่วยยืนยันถึงความสนใจของคนไทยต่อ “เรื่องการเมือง” ก็คือ จำนวนผู้บริโภคข่าวสารออนไลน์

บทความชิ้นนี้ขออนุญาตอ้างอิงสถิติผู้ชมวิดีโอของช่องยูทูบ “มติชนทีวี” (matichon tv) ที่เพิ่งมียอดผู้ติดตามทะลุหลัก 2 ล้านคน (เพราะการเมืองร้อนๆ ช่วงเปิดสภานี่แหละ)

ซึ่งจะเห็นได้ว่าคลิปข่าวและไลฟ์สดที่จัดเป็น “ข่าวฮิต” ของ “มติชนทีวี” ตลอด 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมาล้วนเป็น “ข่าวการเมือง” ทั้งสิ้น

ดังรายละเอียดต่อไปนี้

(ไลฟ์) “สู้จนนาทีสุดท้าย! ส.ส.ประชุมเลือก “ชวน หลีกภัย” 258 เสียง เป็นประธานสภาผู้แทนฯ”

ยอดผู้เข้าชม 5.6 แสนคน (เผยแพร่เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม)

“”ปารีณา” กับคำหลุด “อีช่อ” ไม่จบ คนโพธารามวอนเป็นเรื่องส่วนตัว อย่าเหมารวม”

ยอดผู้เข้าชม 4.8 แสนคน (เผยแพร่เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม)

(ไลฟ์) “”สุชาติ ตันเจริญ” เฉือน ส.ส.หญิง อนาคตใหม่ 2 คะแนน นั่งรองประธานสภาผู้แทนฯ คนที่ 1″

ยอดผู้เข้าชม 3.7 แสนคน (เผยแพร่เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม)

“มาแล้ว! ชูวิทย์วิเคราะห์รัฐบาลใหม่ ลางไม่ดี อายุสั้น สภา 30 วัน”

ยอดผู้เข้าชม 3.6 แสนคน (เผยแพร่เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม)

(ไลฟ์) “แกนนำพรรคพลังประชารัฐ-ภูมิใจไทย แถลงข่าวจัดตั้งรัฐบาลสุดชื่นมื่น”

ยอดผู้เข้าชม 3.4 แสนคน (เผยแพร่เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม)

(ไลฟ์) “ดุเดือด! เลือกรองประธานสภาคนที่ 2 ศุภชัย ชนะ ประสงค์ 256 ต่อ 239 ประท้วงวุ่น”

ยอดผู้เข้าชม 3.3 แสนคน (เผยแพร่เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม)

“อึ้ง! ส.ส.พลังประชารัฐ สารภาพกลางสภา เหตุขอเลื่อนประชุมเลือกประธาน”

ยอดผู้เข้าชม 3.3 แสนคน (เผยแพร่เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม)

(ไลฟ์) “เพื่อไทย แถลงด่วน! เลือกตั้งรองประธานสภา ไม่โปร่งใส เรียกร้องเก็บบัตร ห้ามทำลาย”

ยอดผู้เข้าชม 3.2 แสน (เผยแพร่เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม)

นอกจากการเติบโตอย่างต่อเนื่องของช่องยูทูบ “มติชนทีวี” แล้ว แฟนพันธุ์แท้นิตยสาร “มติชนสุดสัปดาห์” ก็น่าจะพอทราบกันว่านิตยสารฉบับนี้ไม่เพียงมีเว็บไซต์และโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มหลักๆ เช่น เฟซบุ๊ก-ทวิตเตอร์

หากยังมีช่องยูทูบ “Matichon Weekly” ของตนเองด้วยเช่นกัน

ช่องยูทูบ “มติชนสุดสัปดาห์” กำลังไปได้ดีมากๆ ในช่วงการเมืองเริ่มร้อนระอุ นักการเมืองเริ่มมีบทบาท สภาเริ่มมีสีสัน และพรรคการเมืองแห่งความหวังอย่าง “อนาคตใหม่” คล้ายจะถูกตัดตอนโดยกลไกอำนาจรัฐ

ส่งผลให้ช่องยูทูบนี้มียอดผู้ติดตามล่าสุดทะลุหลัก 1แสนราย จวนจะได้รางวัล “โล่เงิน” เต็มที

คลิปเด่นระดับท็อปฮิตตลอดช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาของช่อง “มติชนสุดสัปดาห์” เป็นคลิปสั้นแนวสัมภาษณ์พิเศษ ซึ่งมีประเด็นสนทนาหลักๆ ว่าด้วยชะตากรรมของพรรคอนาคตใหม่, การตัดสินใจทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์, ระบอบอำนาจของ คสช. และแนวทางการต่อสู้ของคนรุ่นใหม่

ดังรายละเอียด-สถิติต่อไปนี้

“เสี่ยตือฟันธง! เกิดผลในหมู่ประชาชนแน่! แนะอย่าเล่นแบบนี้ ในเมื่อ อนค.เข้ามาตามระบบ”

ยอดผู้เข้าชม 1.1 ล้านคน (เผยแพร่เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม)

“ประชาธิปัตย์ จะไปทางไหน? ไปฟัง “สุขุม นวลสกุล” วิเคราะห์ จนเห็นเป็นภาพ!”

ยอดผู้เข้าชม 4.5 แสนคน (เผยแพร่เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม)

“โอกาส และทางรอด “อนาคตใหม่” ในมุม “สุขุม นวลสกุล””

ยอดผู้เข้าชม 4.4 แสนคน (เผยแพร่เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม)

“จากใจ “จอห์น วิญญู” : ถ้า “คนรุ่นใหม่” ท้อ! ก็เข้าทางพวกสืบทอดอำนาจ ลั่นใกล้หมดเวลาแล้ว!”

ยอดผู้เข้าชม 3.5 แสนคน (เผยแพร่เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม)

“คุยเปิดอก “จอห์น วิญญู” #5ปีคสช. “ประชาคมโลกเขาไม่ได้โง่” น่าเสียดายอะไร?”

ยอดผู้เข้าชม 2.5 แสนคน (เผยแพร่เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม)

“”สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล” สับแหลกเกมการเมือง วิเคราะห์ทุกเรื่องที่คุณอยากรู้!”

ยอดผู้เข้าชม 2 แสนคน (เผยแพร่เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม)

สิ่งที่เราได้เห็นจากรายงานสรุปและตัวเลขข้างต้นคือ การเมืองในสภาที่มีชีวิตชีวา และจำนวนคนดูข่าวออนไลน์ที่พุ่งสูงนั้นมีปฏิสัมพันธ์ข้องเกี่ยวกันแน่ๆ

ด้วยเหตุนี้ คำถามที่ว่า ผู้ชมจำนวนมากเหล่านั้นจะรู้สึก/มีความคิดเห็นอย่างไรต่อข่าวที่พวกเขาเสพ? พวกเขาจะมีปฏิกิริยาอย่างไรต่อตัวละครทางการเมืองจากหลากพรรคหลายกลุ่มในคลิป? และกิจกรรมการดูวิดีโอออนไลน์จะแปรเปลี่ยนกลายสภาพเป็นพฤติกรรมออฟไลน์ในรูปแบบไหนบ้าง?

จึงเป็นปริศนาอันน่าสนใจและน่าติดตาม (ซึ่งบทความชิ้นนี้ยังไม่มีคำตอบจะมอบให้)

ต้องบอกว่าน่าสนใจและน่าติดตามไม่แพ้เงื่อนปมสลับซับซ้อนของดีลการจัดตั้งรัฐบาลระหว่าง คสช. กับบรรดานักการเมือง และกระบวนการพยายามประคับประคอง “ระบอบประชาธิปไตยไม่เต็มใบแบบไทยๆ” ของชนชั้นนำเสียงส่วนน้อยในสังคมเลยทีเดียว