รายงานพิเศษ/โชคชัย บุณยะกลัมพ/Google ใช้ AI ในไทย คัดกรองเบาหวานขึ้นตา

รายงานพิเศษ/โชคชัย บุณยะกลัมพ https://www.facebook.com/ChokCyberAIEntertainment/

Google ใช้ AI ในไทย

คัดกรองเบาหวานขึ้นตา

 

Google และคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (United Nations Economic and Social Commission for Asia Pacific หรือ UN-ESCAP) จัด “APAC AI for Social Good Summit” งานประชุมเกี่ยวกับการใช้ AI เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม

การสร้างเครือข่ายวิจัยด้าน AI เพื่อประโยชน์ต่อสังคมในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific AI for Social Good Research Network) ซึ่งเครือข่ายนี้จะนำนักวิชาการชั้นนำจากทั่วภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกมารวมตัวกัน เพื่อทำการวิจัยเกี่ยวกับการส่งเสริมการใช้ AI จะมุ่งเน้นการพัฒนางานวิจัยที่ทันสมัยและการให้คำแนะนำด้านนโยบาย

Google ยังได้ประกาศจับมือเป็นพันธมิตรกับโรงพยาบาลราชวิถี สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ในการป้องกันการเกิดตาบอดโดยใช้ซอฟต์แวร์ที่ขับเคลื่อนด้วย AI เพื่อคัดกรองภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา (Diabetic Retinopathy) แทนบุคลากรทางการแพทย์ที่ขาดแคลน

ช่วยให้รู้ตัวตั้งแต่เนิ่นๆ จะได้ป้องกันได้ทันการณ์

Google ได้ดำเนินโครงการริเริ่มนี้แล้วในคลินิกหลายแห่งในประเทศอินเดีย โดยได้รับการสนับสนุนจาก Verily หลังจากการศึกษาย้อนหลังในประเทศไทยเป็นเวลาหลายเดือน

ตอนนี้ Google กำลังร่วมมือกับโรงพยาบาลราชวิถีเพื่อเริ่มการทดลองทางคลินิกในพื้นที่ที่ได้รับการคัดเลือกทั่วประเทศ

 

ในการเปิดเผยผลการทดสอบการนำ AI มาใช้ในการตรวจภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา (Diabetic Retinopathy) ที่พบว่ามีความแม่นยำถึง 97% เมื่อเทียบกับการให้ผู้เชี่ยวชาญวินิจฉัย จะอยู่ที่ราว 74%

นพ.ไพศาล ร่วมวิบูลย์สุข ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ โรงพยาบาลราชวิถี ซึ่งทำงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องของดัชนีผู้ป่วยเบาหวานเป็นหนึ่งในมาตรวัดสุขภาพของคนไทย

จากที่จักษุแพทย์ทั่วประเทศขาดแคลนมีเพียง 1,500  คน และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านจอประสาทตาเพียง 200 คน

จึงต้องมีการเทรนนิ่งพยาบาลในการช่วยคัดกรองผู้ป่วยเบาหวานที่มีความเสี่ยง

ระบุว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานกว่า 5 ล้านราย

ทุกรายมีความเสี่ยงต่อภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่นำไปสู่การสูญเสียการมองเห็น

โดยโรคดังกล่าวสามารถป้องกันได้ด้วยการตรวจคัดกรองเป็นประจำ

มีการสร้างแบบจำลองและอัลกอริทึ่มในการคัดกรองขึ้นมา การฝึกสอน AI นั้นจะใช้เทคนิคของ Machine Learning โดยจะป้อนข้อมูลรูปภาพจอประสาทตาให้ AI เรียนรู้ว่าแบบไหนเป็นอาการของเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ถ้าเป็นแล้วอยู่ในระดับใน 5 ระดับ ด้วยการใช้ฐานข้อมูลผู้ป่วย

จากผลการศึกษาย้อนหลังจากฐานข้อมูลผู้ป่วย 7,500 ราย รวมถึงข้อมูลภาพถ่ายจอประสาทตารวมแล้วกว่า 13,000 ภาพ โดยการนำภาพเรตินาจากฐานข้อมูลของศูนย์สุขภาพ 13  แห่ง มาทำการเปรียบเทียบผ่านระบบคลาวด์ เพื่อดูจอประสาทตาของคนไข้ที่มีความเสี่ยงหรือไม่

ซึ่งทำให้ทราบผลได้รวดเร็วว่าคนไข้ต้องรีบพบแพทย์หรือไม่ เพื่อลดโอกาสที่คนไข้จะสูญเสียการมองเห็น มาใช้ในการตรวจคัดกรองแบบเดียวกัน

พบว่าแบบจำลอง AI ตรวจจับภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาได้ดีกว่าเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการฝึกฝน และรวดเร็วกว่าถึง 95% และ AI สามารถคัดแยกผู้ป่วยได้แม่นยำถึง 97%

โดยพยาบาลแค่ทำการถ่ายรูปจอประสาทตา จากนั้นก็ส่งขึ้นระบบ Cloud ของ Google จากนั้นก็รอรับผลได้ทันที

 

เพื่อช่วยเจ้าหน้าที่ช่วยคัดกรอง จึงได้เริ่มนำระบบ AI มาใช้คัดกรองเบื้องต้นแล้วในจังหวัดปทุมธานี และจะขยายไปที่เชียงใหม่ในต้นปีหน้า เพราะส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการคัดกรองเบาหวานขึ้น อยู่ในกรุงเทพฯ

ถ้าผลการคัดกรองจากสองโรงพยาบาลนี้ถูกนำมาขยายผล หากใช้งานได้ดี ไม่เกิดปัญหาอะไรก็จะต่อยอดไปใช้กับโรงพยาบาลอื่นๆ ทั่วประเทศพร้อมไปกับการทดสอบระบบคลาวด์ ที่ใช้ในการประมวลผลว่าสามารถรองรับการใช้งานได้มากแค่ไหน

การนำ AI มาใช้ จึงช่วยให้การตรวจคัดกรองทำได้รวดเร็วขึ้น

ขณะเดียวกันการฝึกเทคนิคการแพทย์ในการตรวจคัดกรองสามารถเพิ่มจำนวนได้เร็วกว่าการเพิ่มจำนวนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทำให้โอกาสที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยสูญเสียการมองเห็นจากภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาได้มากขึ้นด้วย

โรงพยาบาลราชวิถีให้ข้อมูล

“ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานกว่า 5 ล้านราย ทุกรายมีความเสี่ยงต่อภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่นำไปสู่การสูญเสียการมองเห็น ทั้งนี้ สามารถป้องกันได้โดยการตรวจคัดกรองเป็นประจำ ผลจากการศึกษาย้อนหลังพบว่าในการตรวจคัดกรองแบบเดียวกัน แบบจำลอง AI ตรวจจับภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาได้ดีกว่าเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการฝึกฝนมาแล้ว เรารู้สึกตื่นเต้นที่ได้ร่วมงานกับ Google เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของเครื่องมือ AI ในการคัดกรองภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาที่จะช่วยป้องกันการตาบอดในผู้ป่วยเบาหวานไนไทยได้มากขึ้น”

 

Lily Peng (ลิลลี่ เพง) หัวหน้าฝ่ายผลิตภัณฑ์ วิเคราะห์ภาพถ่ายทางการแพทย์ ด้วยการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้งาน ย้ำถึงประเด็นที่กูเกิลเลือกประเทศไทยเป็น 1 ใน 2 ประเทศร่วมกับอินเดียคือ ทั้ง 2 ประเทศมีการเก็บข้อมูลการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานมาอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว

เป้าหมายของ Google คือการทำให้ทุกคนเข้าถึงประโยชน์ของ AI ได้

“เรารู้สึกตื่นเต้นที่ได้ขยายโครงการนี้มายังประเทศไทยผ่านความร่วมมือกับโรงพยาบาลราชวิถี โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยให้คนไทยได้รับการตรวจคัดกรองที่สามารถป้องกันการสูญเสียการมองเห็นได้มากขึ้น”

มร.เคนต์ วอลเกอร์ รองประธานอาวุโสฝ่ายกิจการทั่วโลกของกูเกิล กล่าวว่า ทุกวันนี้เราใช้เทคโนโลยีต่างๆ เช่น AI ในการคาดการณ์เหตุการณ์ต่างๆ ในอนาคต ซึ่งตอนนี้เอไอพัฒนาไปมาก ดีฟ เลิร์นนิ่ง ทำให้เครื่องจักรเรียนรู้ได้ตัวเอง มีการนำมาใช้ทางการแพทย์ ช่วยวินิจฉัยโรคต่างๆ เช่น มะเร็ง เบาหวานได้แม่นยำขึ้น ช่วยผู้ป่วยเข้าถึงสิทธิต่างๆ มากขึ้น แต่แน่นอนว่า เรื่อง AI ไม่มีองค์กรหรือธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งทำได้คนเดียว จึงต้องมีการจับมือกับพาร์ตเนอร์ต่างๆ ทั่วโลกในการนำเอไอทำการวิจัยและใช้ประโยชน์ต่างๆ

“AI ควรนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ แต่ไม่ควรให้เกิดผลกระทบต่อสังคม ต้องมีความโปร่งใส และสิทธิส่วนบุคคลไม่ควรถูกละเมิดในการใช้ AI เช่น เทคโนโลยีจดจำใบหน้า นำมาใช้ค้นหาคนหาย แต่ก็เป็นดาบสองคมต้องไม่ถูกนำมาใช้ในการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ต้องมีการพัฒนากฎระเบียบร่วมกันเพื่อมาควบคุมไม่ให้มีผลกระทบต่อคน”

 

ปัจจุบัน AI ได้เข้ามามีบทบาทเหมือนเทคโนโลยีใน 20-30 ปีก่อน ที่ช่วยพัฒนาโลก ซึ่ง AI จะอยู่ในสถานะนั้นในอีก 20-30 ปีข้างหน้า ซึ่งทางด้านเฮลท์แคร์ 7 ปีที่ผ่านมา มีคนใช้ AI ในการทำวิจัยเรื่องสุขภาพ จำนวนมากขึ้น

AI สามารถช่วยตัดสินใจพยากรณ์ได้เร็วมากขึ้น 48 ชั่วโมง ช่วยให้แพทย์วินิจฉัยและตัดสินใจได้เร็วและถูกต้องมากขึ้น

ขณะเดียวกันการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานเป็นสิทธิพื้นฐานของคนไทยในการใช้สวัสดิการ 30 บาทรักษาทุกโรค สิทธิประกันสังคม และสิทธิข้าราชการอยู่แล้ว เนื่องจากเป็นหนึ่งในเกณฑ์ชี้วัดดัชนีสุขภาพคนไทยของกระทรวงสาธารณสุข

นอกจากนั้นทาง Google ได้เซ็น MOU กับคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (United Nations Economic and Social Commission for Asia Pacific หรือ UN-ESCAP) จับมือเป็นพันธมิตรเพื่อแบ่งปันแนวทางปฏิบัติ, ส่งเสริมการใช้ AI รวมถึงสร้างเครือข่ายการวิจัยด้าน AI เพื่อประโยชน์ต่อสังคมในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เพื่อสร้างแนวทางที่ดีที่สุดในการจัดการกับความเสี่ยงและความกังวลต่างๆ

ภายในงานยังมีการประกาศเกี่ยวกับโครงการ AI Impact Challenge ของ Google ที่เปิดรับไอเดียและข้อเสนอแนะในการใช้ AI ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมจากองค์กรและสถาบันต่างๆ และเพื่อผลักดันให้องค์กรต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกร่วมสมัครเพื่อชิงทุนมูลค่า 25 ล้านเหรียญสหรัฐ

โครงการ AI Impact Challenge ของ Google ที่เปิดรับไอเดียและข้อเสนอแนะในการใช้ AI ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมจากองค์กรและสถาบันต่างๆ และเพื่อผลักดันให้องค์กรต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เปิดรับสมัครจนถึงวันที่ 22 มกราคม 2562