ดูมาเลเซียย้อนมองไทย นัยยะการเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์

ตอนนี้ทั่วโลกกำลังสนใจการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ทั้งชัยชนะของนายกรัฐมนตรีมหาธีร์ โมฮัมหมัด และการถูกกล่าวหาทุจริตคอร์รัปชั่นของอดีตนายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัก แห่งสหพันธรัฐมาเลเซีย

รวมทั้งการเลือกตั้งในไทยที่กำลังจะมาถึง

ความจริงทั้งสองการเปลี่ยนแปลง บอกเป็นนัยแก่เราระดับหนึ่ง

เพียงแต่ว่า เราควรดูโครงสร้างพัฒนาการการเมืองในภูมิภาคนี้ไปด้วย

 

รากเหง้าทางการเมือง

เมื่อได้รับเอกราชหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 อดีตเจ้าอาณานิคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ผลักดันเพื่อสร้างระบบการเมืองต่างๆ ที่สามารถทำงานและจัดให้เหมาะสมกันร่วมกับโครงสร้างทางการเมืองต่างๆ ของผู้นำดั้งเดิม

ยิ่งไปกว่านั้น มีการดำเนินการบ่อยมากๆ ที่มีการนำเข้า ผู้นำท้องถิ่นและปรับปรุงระบบการเมืองของเจ้าที่ดินในยุโรป

ดังนั้น อดีตอาณานิคมของอังกฤษคือมาเลเซียได้ประยุกต์การปกครองแบบรัฐสภาอังกฤษ ในขณะที่ฟิลิปปินส์ได้นำระบบประธานาธิบดีแบบสหรัฐอเมริกามาใช้

ส่วนบรูไน ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มีบางส่วนของการปกครองแบบรัฐสภาอังกฤษ แต่สุดท้ายก็ยังใช้คำว่าสุลตาน (Sultan)

ส่วนอินโดนีเซียและไทยนำเอาส่วนที่แย่ของระบบรัฐสภาอังกฤษและประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกามารวมกัน ซึ่งได้สร้างปัญหาทางการเมืองมาจนถึงปัจจุบัน

เกือบทั้งหมดของโครงสร้างการเมืองเหล่านี้เข้ากันได้กับโครงสร้างลำดับชั้นทางสังคม (hierarchies) ที่มีอยู่เดิม พวกเขาในระดับ “บน” สงวนรักษาสิทธิพิเศษของพวกเขา และมีภูมิคุ้มกันทางกฎหมาย หากมีบางสิ่งที่ผู้นำระดับบนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าใจ หรือมีสิ่งนั้นอยู่เหนือพวกเขาอันเป็นเส้นทางของทรัพยากรทางการเมืองที่เป็นอันตราย จะมีการใช้ภูมิคุ้มกันปกป้องผู้นำขึ้นมา

เราจะเห็นได้ว่า จนกระทั่งปัจจุบัน ยังไม่มีผู้นำทางการเมืองระดับสูงต้องยอมรับผิดชอบกับกฎหมายและเข้าสู่ศาล ในการสังหารหมู่คนนับหมื่นๆ คนที่ถูกสังหารในอินโดนีเซียในช่วงการกำจัดขบวนการคอมมิวนิสต์ในช่วงทศวรรษ 1960 การสังหารหมู่นักศึกษาในประเทศไทยในช่วงทศวรรษ 1970 การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (genocide) ในกัมพูชาช่วงระหว่างปี ค.ศ.1975-1979 และการสังหารเข่นฆ่าในฟิลิปปินส์ในยุคประกาศกฎอัยการศึก (Martial Law era)

ยิ่งประวัติศาสตร์ของการคอร์รัปชั่นยิ่งแย่ที่สุด อดีตผู้นำเผด็จการ ซูฮาร์โต (Suharto) ในอินโดนีเซีย

และ Ferdinand Marcos ในฟิลิปปินส์ เงินมูลค่าหลายพันล้านเหรียญสหรัฐได้หายไปในช่วงที่พวกเขาดำรงตำแหน่ง

อีกทั้งเมื่อทั้งสองคนถูกกดดันให้ลงจากอำนาจ แต่ก็ไม่ได้ถูกตัดสินเป็นคดีอาญกรรมใดๆ

ในความเป็นจริง ทั้งซูฮาร์โตและมาร์กอสยังได้รับพิธีศพอย่างสมเกียรติในฐานะวีรบุรุษของชาติด้วย

ลูกชายคนโตของอดีตประธานาธิบดีมาร์กอสคือ Ferdinand “bongbong” Marcos Jr. สามารถดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยต่อมาได้ และเขาได้แพ้การเลือกตั้งในการแข่งขันชิงชัยตำแหน่งรองประธานาธิบดีในปี ค.ศ.2015

โดยแพ้คู่แข่งขันด้วยคะแนนต่ำกว่าไม่ถึงร้อยละ 1

ในอินโดนีเซีย ผู้นำที่มาเป็นอันดับ 2 จากประธานาธิบดี Joko Widodo ในการเลือกตั้ง 2014 คือ Prabowo Subianto ลูกเขยอดีตประธานาธิบดีซูฮาร์โตและเป็นนายพลของกองกำลังพิเศษ (special forces) ที่ถูกกล่าวหาว่าละเมิดสิทธิมนุษยชนใน East Timor ในทศวรรษ 1990

อีกทั้งเขาเหมาะสมได้โอกาสชนะการเลือกตั้งในคราวต่อไปด้วย

 

บอกเป็นนัย

ย้อนกลับมาดูที่สหพันธมาเลเซีย ความจริงแล้ว อดีตประธานาธิบดีนาจิบ ราซัก ช่างเหมาะกับรูปแบบ ชนชั้นนำ (Elite) ที่สุด

นาจิบเป็นลูกเขยของอดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 2 ของมาเลเซีย ฯพณฯ Tun Abdul Razak หากพูดด้วยภาษาทั่วไป

นาจิบเขาเกิดมาเพื่อปกครอง

เขาได้เป็น chief minister ของรัฐ Pahang State ในวัยเพียง 26 ปี และได้เป็นนายกรัฐมนตรีในปี 2006 ด้วยวัยเพียง 56 ปี

หรืออีกด้านหนึ่ง นาจิบไม่เคยทำงานอยู่นอกการเมืองเลย และด้วยการมีอาชีพการเมืองเช่นนี้ เขามักได้ดำรงตำแหน่งผู้นำเสมอ

ใครก็ตามที่พิจารณาได้ว่าเป็น “บุคคลที่แตะต้องไม่ได้” ในระบบการเมืองมาเลเซีย นาจิบก็คือคนนั้นเอง

สิ่งย้อนแย้งคือ นายกรัฐมนตรีมหาธีร์ โมฮัมหมัด คือคนที่คว่ำนายนาจิบ แต่ในความเป็นจริง นายกรัฐมนตรีมหาธีร์เป็นคนสร้าง “บุรุษเหล็ก” (strong man) คนนี้ขึ้นมาเองกับมือ หากทว่า ระบบของมาเลเซียเป็นการยากต่อการท้าทายวัฒนธรรมภูมิคุ้มกันผู้นำในช่วงที่เขาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยแรกคือ ปี ค.ศ.1982 และ ค.ศ.2003

ช่วงเวลานั้น การทุจริตทางการเงินขนานใหญ่เกิดขึ้นทั่วไปในธนาคารของรัฐบาล Bank Bumiputera และธนาคารกลาง (Central Bank)

ข้อน่าสังเกตคือ นายกรัฐมนตรีมหาธีร์ โมฮัมหมัด ไม่เคยได้รับผลกระทบทางส่วนตัวใดๆ เลย แต่เขาเพียงเฝ้ามองสิ่งนี้อยู่

จนถึงทุกวันนี้ ยังไม่มีใครรู้ถึงเหตุจูงใจทางการเมืองที่กลับสู่สนามการเมืองแล้วสร้างปาฏิหาริย์ล้มอดีตนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคร่วมฝ่ายค้านได้

แต่สำหรับคนหนุ่มสาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มองว่า เป็นสิทธิของพวกเขาในการตรวจสอบผู้นำระดับสูงและโชคดี

มันช่วยกระตุ้นให้เกิดแรงกดดันและการเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคมที่สามารถตรวจสอบเหล่าผู้นำได้

อีกทั้งยังเพิ่มความเข้มแข็งแก่ความเป็นอิสระของระบบยุติธรรม หรืออย่างน้อยการออกเสียงให้กับนักการเมืองที่เขาเลือกมา

ด้วยประสบการณ์ส่วนตัว 5 ปีหลังนี้ ผมได้เดินทางและสังเกตการณ์ในมาเลเซีย พร้อมทั้งได้รับข้อมูลข่าวสารที่ไม่ใช่ของรัฐมาตลอด ตอนแรกผมประเมินว่า บุรุษเหล็ก โครงสร้างเศรษฐกิจการเมืองชนชั้นนำเข้มแข็งที่สุดและจะดำเนินอย่างนี้ไปได้อีก ทว่าผมคิดผิด

ตรงกันข้ามกัน สังคมไทยกลับประกอบสร้างบุรุษเหล็ก โครงสร้างเศรษฐกิจการเมืองชนชั้นนำที่เข้มแข็งขึ้นมา สร้างภูมิคุ้มกัน สิทธิพิเศษนานาประการ

ทว่า ผมหวังว่า ผมคงคิดผิดเช่นกัน มีสิ่งต่างๆ มากมายที่บอกเป็นนัย

โปรดติดตามด้วยใจระทึก