อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์ : การปฏิรูประบบโทรคมนาคม กับการลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม ในประเทศอาเซียนภาคพื้นทวีป

อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์

ประเด็นอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและความเหลื่อมล้ำสำหรับอาเซียนภูมิภาคพื้นทวีปมีข้อสังเกตอยู่ 2 ประการ ได้แก่

ประการแรก หากดูจากการเติบโตของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ได้แก่ โทรศัพท์มือถือ ระบบและเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในประเทศภาคพื้นทวีปอาเซียนซึ่งไทยล้ำหน้ากว่าใครทั้งหมด

แต่ประเทศอื่นๆ คือ เวียดนาม ลาว กัมพูชา และเมียนมา มีความเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะสำคัญทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี

กล่าวคือ อาณาบริเวณนี้กำลังก้าวเข้าสู่ยุค Indochina Digital อย่างรวดเร็ว

นโยบายการเปิดประเทศ การพัฒนาอุตสาหกรรมการรับการลงทุนจากต่างประเทศ ช่วยให้เศรษฐกิจของเวียดนาม ลาว กัมพูชา ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่การปฏิรูปอุตสาหกรรมโทรคมนาคมใน 3 ประเทศนี้เพิ่งเริ่มกันปลายทศวรรษ 1990 นี่เอง

แต่ทว่าการลงทุนด้านโทรศัพท์มือถือของเวียดนามคือ Viettel ซึ่งเป็นบริษัทของกองทัพบกเวียดนามได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วและขยายการลงทุนไปในลาว กัมพูชา และเมียนมา

อีกทั้งยังเป็นบริษัทที่ได้รับความนิยมอันดับ 1 ในเมียนมาอีกด้วย

 

หากมิได้มองแง่มุมทางเศรษฐกิจ อาเซียนภาคพื้นทวีปนับเป็นพื้นฐานสำคัญให้บริษัทโทรคมนาคมเวียดนาม Viettel ลงทุนในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในประเทศคือลาวซึ่งผูกขาดโดย Lao Telecommunication Company (LTC) รัฐบาลลาวถือหุ้นร้อยละ 51 และ Enterprise des Telecommunications Laos (ETL) ร้อยละ 100 กัมพูชาและเมียนมาคือ Viettel Global ร่วมทุนกับ Myanmar National Telecom Holding Public Limited (MNTH)

อีกทั้งยังมีแนวโน้มของการ “เชื่อมต่อระบบสัญญาณโทรศัพท์มือถือ” Roaming ใน 4 ประเทศนี้ ซึ่งเท่ากับว่าเป็นการลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness) ให้กับ 3 ประเทศนี้และเมียนมาซึ่งจะมีผลต่อไทยโดยตรง

เทคโนโลยีโทรคมนาคม ดิจิตอลและเครือข่ายโทรคมนาคมในเวียดนาม กัมพูชา ลาว และเมียนมา จะสร้างความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันทางเศรษฐกิจ โดยใช้ Digital Economy ที่ถูกกว่าไทย

 

ประการที่สอง ปัจจุบันมีการลงทุน Fiber Optic จากบริษัท “หัวเหว่ย” ของจีนเป็นเครือข่ายรองรับดิจิตอลในอนาคต

เศรษฐกิจของอาเซียนอาจมี Fiber Optic เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ช่วยให้เกิดต้นทุนทางเศรษฐกิจที่ต่ำกว่า แต่มีประสิทธิภาพมากกว่าในภูมิภาคนี้ ทั้งๆ ที่ผู้เล่นในอาเซียนภาคพื้นทวีปคือรัฐบาลหรือกองทัพ

อาจกล่าวได้ว่า อุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยกลับไปอยู่ภายใต้มุมมองด้าน “ภัยความมั่นคง” (Threat) และเป็นอุปสรรคต่อภาคเอกชน

ตรงกันข้ามกับอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในอาเซียนภาคพื้นทวีปที่เจ้าของรายใหญ่เป็นรัฐ แต่ได้รับการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจโดยเอกชน ซึ่งจะมีความสามารถในการแข่งขันที่มากกว่าไทย

 

การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง
นโยบายและอุตสาหกรรม

ข้อค้นพบจากงานวิจัยดังกล่าวได้รับความสนใจจากหน่วยงานต่างๆ รวมไปถึงสื่อมวลชน จนนำไปสู่การเผยแพร่ผลงาน อาทิ

1) บทความเรื่อง “อุตสาหกรรมโทรคมนาคม กับความเหลื่อมลํ้าในอาเซียนภาคพื้นทวีป (1)” ตีพิมพ์ในคอลัมน์โลกทรรศน์ นิตยสารมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 2-8 มิถุนายน 2560

2) บทความเรื่อง “อุตสาหกรรมโทรคมนาคมกับความเหลื่อมลํ้าในอาเซียนภาคพื้นทวีป (2)” ตีพิมพ์ในคอลัมน์โลกทรรศน์ นิตยสารมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 9-15 มิถุนายน 2560

3) บทความเรื่อง “อุตสาหกรรมโทรคมนาคมกับความเหลื่อมลํ้าในอาเซียนภาคพื้นทวีป (3)” ตีพิมพ์ในคอลัมน์โลกทรรศน์ นิตยสารมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 16-22 มิถุนายน 2560

4) บทความเรื่อง “อุตสาหกรรมโทรคมนาคมกับความเหลื่อมลํ้าในอาเซียนภาคพื้นทวีป (4)” ตีพิมพ์ในคอลัมน์โลกทรรศน์ นิตยสารมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 23-29 มิถุนายน 2560

5) Supot Tiarawut, Panel Discussion : “Economic & Social Policy and Regulation: Impact for Society”, Converged Telecommunication Policy and Regulation Master Class, GSMA, Malaysian Communications and Multimedia Commission (MCMC) and Multimedia University (MMU), Malaysia, November 21, 2016, Bandung, Indonesia

6) สุพจน์ เธียรวุฒิ, “การคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม”, โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่องการเสริมสร้างความเชี่ยวชาญคดีปกครองเกี่ยวกับกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม รุ่นที่ 2, สำนักงานศาลปกครอง, 31 มีนาคม 2560

7) สุพจน์ เธียรวุฒิ, อภิปรายนำ เวทีระดมสมอง “การเข้าถึงบริการอินเตอร์เน็ตและความรู้พื้นฐานดิจิตอล : หลักการและข้อเสนอในการลดช่องว่างดิจิตอล”, โครงการเวทีระดมสมองเพื่อสร้างชุมชนนโยบายด้าน Digital Transformation, Friedrich Ebert Stiftung Thailand (FES Thailand) สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และโครงการอินเตอร์เน็ตศึกษา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), 15 กรกฎาคม 2560, นครปฐม

8) สุพจน์ เธียรวุฒิ, เสวนา “มุมมองการกำกับดูแลบริการเพิ่มมูลค่าบนระบบเครือข่าย (OTT)”, เวทีอภิบาลอินเตอร์เน็ตภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APrIGF) ครั้งที่ 8, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 26 กรกฎาคม 2560

9) สุพจน์ เธียรวุฒิ, เสวนาสาธารณะ “วาระประเทศไทยในยุค Digital Transformation”, งานเสวนาสาธารณะเพื่อเปิดตัวชุมชนนโยบายด้าน Digital Transformation ในหัวข้อ “Digital Transformation : โอกาสและความท้าทายสำหรับประเทศไทย”, Friedrich Ebert Stiftung Thailand (FES Thailand) สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และโครงการอินเตอร์เน็ตศึกษา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), 9 กันยายน 2560, สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)

10) สุพจน์ เธียรวุฒิ, “การคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม”, โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่องการเสริมสร้างความเชี่ยวชาญคดีปกครองเกี่ยวกับกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม รุ่นที่ 3, สำนักงานศาลปกครอง, 15 พฤศจิกายน 2560

ในส่วนของ สปป.ลาว ได้เสนอรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ให้แก่เจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกิจการโทรคมนาคม ได้แก่ กรมแผนการและการร่วมมือ กระทรวงโทรคมนาคม ไปรษณีย์ และการสื่อสาร และรัฐวิสาหกิจผู้ให้บริการโทรคมนาคม เช่น Lao Telecommunications Company (LTC) และ Enterprise des Telecommunications Lao (ETL) เพื่อนำไปใช้ประโยชน์

ในระหว่างการวิจัย กระทรวงโทรคมนาคม ไปรษณีย์ และการสื่อสาร ได้ออกระเบียบตามข้อตกลงว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโทรศัพท์ อินเตอร์เน็ต และหลักการส่งเสริมการขายใหม่ ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 4 เมษายน 2560 ทำให้เกิดความไม่พอใจแก่ผู้ใช้บริการ

สอดคล้องกับผลการวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่าเป็นผลจากค่าบริการอินเตอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือที่เพิ่มสูงขึ้นมากกว่าปัญหาค่าบริการโทรศัพท์มือถือ ทำให้กระทรวงโทรคมนาคม ไปรษณีย์ และการสื่อสาร ยกเลิกระเบียบข้อตกลงดังกล่าวจนกว่าจะมีการปรับปรุงคุณภาพการให้บริการอินเตอร์เน็ตให้ดีขึ้น

Digital Economy กำลังเกิดขึ้นทั่วภูมิภาคอาเซียน ด้วยต้นทุนที่ถูกกว่าไทย ภาคเอกชนไทยจะเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันอย่างไร

ส่วนรัฐบาลปัจจุบันของไทย

ขอให้ท่านโชคดีครับ

——————————————————————————————
หมายเหตุ : งานวิจัยโครงการ จุฬาคลัสเตอร์อาเซียน ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากฝ่ายวิจัย ทุนรัชาดาภิเษกสมโภศ ประจำปี 2559 ผู้ร่วมโครงการวิจัยคือ อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์ (หัวหน้าโครงการวิจัย) ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้ทรงคุณวุฒิด้านอุตสาหกรรมโทรคมนาคมซึ่งได้ทำงานเชิงนโยบายสาธารณะและเทคโนโลยีด้านโทรคมนาคมให้กับภาครัฐและภาคเอกชนไทยมาอย่างต่อเนื่อง พร้อมด้วยนักวิจัยประจำศูนย์เชี่ยวชาญ (Center of Excellence) แม่น้ำโขงศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือ อดิสร เสมแย้ม ณัฐพล ตันตระกูลทรัพย์ นิสา อุชชิน ณัฐช์นิชา ตั้งวีรัตน์กร ขนิษฐา คันธะวิชัย และ ดร.มุกดา ประทีปวัฒนวงค์