จดหมาย | ฉบับประจำวันที่ 9-15 มิถุนายน 2566

จดหมาย | ฉบับประจำวันที่ 9-15 มิถุนายน 2566

 

• ยุติธรรม

ความยุติธรรม

หัวใจของการอยู่ร่วมกันอย่างสงบ

คุณตูบปุจฉา : ประเทศ เอ๊ย ข้าวคลุกปลาทูมีอยู่จานเดียว แต่ผู้อยากหม่ำมีอยู่ 2 ตัว

แล้วเราจะทำอย่างไรดีหว่า คุณเหมียว

คุณเหมียววิสัชนา : อ๋อ ไม่ยาก แบ่งกันหม่ำตัวละคำ ผลัดกันไป เดี๋ยวก็หมดจานเองล่ะวะ เอ้าคุณตูบหม่ำคำแรกก่อน

คุณตูบตัดพ้อ : แต่ อิอิ คุณเหมียว คุณอย่าหม่ำคำโตนักซิจ๊ะ มันไม่ยุติธรรม

ความยุติธรรมต้องมาก่อน เข้าใจ๋ (ฮ่า)

ดารานำแสดง : เก้าแต้ม แมวของอีตาปิยพงศ์

และวัชรี หมาของฝรั่งเพื่อนบ้าน ที่เดาะตั้งชื่อเป็นภาษาไทยเสียไพเราะเพราะพริ้ง (บอกให้เพื่อนเปลี่ยนชื่อเป็นแนนซี่ หรือแอนนา กันถูกคนไทยที่ได้ยินเขาจะเหยียดเอา แต่เพื่อนก็ไม่ยอมเปลี่ยน โดยให้เหตุผลว่า ไอเลี้ยงหมาไทย ก็อยากตั้งชื่อเป็นไทยๆ ให้ไพเราะเพราะพริ้งมั่งซิ”

โลเกชั่น : กระต๊อบน้อย ของอีตาปิยพงศ์

ตากล้อง : อีตาปิยพงศ์ (เมืองหละปูน) เจ้าเก่า

ปิยพงศ์ (เมืองหละปูน)

ป.ล. เห็นแมะ อย่าว่าแต่คนเลย

ตูบและเหมียว ก็ยังต้องการความยุติธรรม

ดังนั้น หากอยากจะให้บ้านสงบ

ก็ต้องนำความยุติธรรมมาใช้กันให้เสมอหน้า นะพระเดชพระคุณ

 

 

คุณตูบ คุณเหมียว

แบ่งกันอย่างยุติธรรมได้

ก็ ซำ บาย จาย

แต่เหลียวหน้าแลหลัง ดีๆ เน้อ

ระวัง อ้าย “อยู่” โผล่มายึดและสวาปามข้าวคลุกปลาทูหมดชาม

ตูบและเหมียวจะอดดื้อๆ

แม้จะเลือกตั้งชนะ เอ้ย มีชามข้าวเป็นของเราเองแต้ๆ ก็เต๊อะ!!

 

• บาดแผล

สมาคมจิตเวชเด็กและวัยรุ่นและวิชาชีพที่เกี่ยวข้องระหว่างประเทศ (IACAPAP)

เรียกร้องให้มีการแก้ไขปัญหาความบอบช้ำของทารก เด็ก และวัยรุ่นทั่วโลก

ด้วยมีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าความผิดปกติทางจิตส่วนใหญ่เกิดขึ้นในวัยเด็กและวัยรุ่นช่วงก่อนอายุ 25 ปี

โดยคนหนุ่มสาวต้องใช้ชีวิตอยู่กับความสูญเสียสมรรถภาพเป็นเวลา 1 ใน 4 ของแต่ละปีเนื่องจากความผิดปกติทางจิตและการใช้สารเสพติด

ดังนั้น เพื่อจัดการกับข้อกังวลที่เร่งด่วนและระดมความช่วยเหลือจากทั่วโลก

สมาคมจิตเวชเด็กและวัยรุ่นและวิชาชีพที่เกี่ยวข้องระหว่างประเทศ (IACAPAP) สมาคมจิตเวชและจิตวิทยาวัยรุ่นระหว่างประเทศ (ISAPP) สมาคมสุขภาพจิตทารกโลก (WAIMH) และสมาคมจิตแพทย์และจิตเวชเด็กและวัยรุ่นโลก (WPA-CAP) ได้ร่วมกันประกาศให้วันที่ 23 เมษายน เป็นวันสุขภาพจิตทารก เด็ก และวัยรุ่นโลก (WICAMHD)

ทั้งนี้ ประชากรเด็กและวัยรุ่นคิดเป็นจำนวน 1 ใน 3 ของประชากรโลก

วัยเด็กและวัยรุ่นเป็นช่วงวัยที่มีพื้นฐานอันโดดเด่นด้านการเติบโต การเรียนรู้ และการลองผิดลองถูกได้อย่างอิสระ

อย่างไรก็ตาม เด็กและวัยรุ่นทั่วโลกจำนวนมากต้องประสบกับความบอบช้ำและวิกฤตปัญหาที่เป็นประสบการณ์ไม่พึงประสงค์

ซึ่งงานวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าสิ่งเหล่านั้นได้ส่งผลกระทบที่ยาวนานต่อสภาพจิตใจและร่างกายของพวกเขา

งานวิจัยยังชี้อีกว่าเด็กผู้หญิงประมาณ 15-43% และเด็กผู้ชายประมาณ 14-43% เคยได้รับประสบการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจอย่างน้อยหนึ่งครั้ง

ประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในวัยเด็ก (ACEs) ยังเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เกิดความผิดปกติทางจิตในผู้ใหญ่

ผลกระทบทางอ้อมและผลกระทบโดยรวมของประสบการณ์เลวร้ายนี้คือภาระทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นในสังคม

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการรักษาพยาบาลและการสูญเสียกำลังด้านการผลิต

เด็กๆ ในเขตสงครามและภัยพิบัติทางธรรมชาติจะมีความเสี่ยงเป็นพิเศษ

สมาคมจิตเวชเด็กและวัยรุ่นและวิชาชีพที่เกี่ยวข้องระหว่างประเทศ (IACAPAP)

 

บาดแผล และความบอบช้ำ

ที่กระทำต่อเด็ก วัยรุ่น คนหนุ่มสาว

ตามผลวิจัย จะทิ้งผลกระทบต่อสภาพจิตใจและร่างกายของพวกเขา

อย่างยาวนาน

ดังนั้น ผู้ใหญ่ คนรุ่นอาวุโส

จึงไม่ควรกระทำสิ่งที่สร้างบาดแผลไว้ในใจของคนรุ่นใหม่

แพ้ก็เก็บของกลับบ้านแต่โดยดี อย่าดื้อ (ฮา) •