การย้ายถิ่นฐานและการพลัดถิ่น ในเอเชียตะวันตกและแอฟริกาเหนือ (จบ)

จรัญ มะลูลีม

มุมมุสลิม | จรัญ มะลูลีม

 

การย้ายถิ่นฐานและการพลัดถิ่น

ในเอเชียตะวันตกและแอฟริกาเหนือ (จบ)

 

แง่มุมของการอพยพและการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์เมืองในภูมิภาค

– การอพยพและการพัฒนาเมืองของโลกและอารยธรรมในภูมิภาค : จากมุมมองทางประวัติศาสตร์

– บทบาทของการย้ายถิ่นฐานในการให้กำเนิดเมืองระดับโลก ซึ่งเป็นการเปิดช่องทางสำหรับกระแสการย้ายถิ่นฐานในอนาคต

แง่มุมของสตรีท่ามกลางการย้ายถิ่นฐานและการพลัดถิ่นในภูมิภาค WANA

– ประเด็นของโอกาสในการทำงานที่เท่าเทียมกัน แรงงานรับใช้ในบ้าน งานที่มีคุณค่า สิทธิของแรงงานในประเทศเจ้าบ้าน และนัยของสตรี การย้ายถิ่นฐานในประเทศผู้ส่งออกแรงงาน

แง่มุมการย้ายถิ่นและการพลัดถิ่น : วิกฤตผู้ลี้ภัย

– วิกฤตผู้ลี้ภัยหลังการก่อตั้งประเทศอิสราเอลระหว่างและหลังสงครามต่างๆ ของอิสราเอลในประเทศอาหรับ

– วิกฤตผู้ลี้ภัยที่เลวร้ายที่สุดในโลกซึ่งในเวลาที่ผ่านมาเป็นหัวข้อสนทนาที่ถูกละเลยอย่างมากท่ามกลางกระแสอาหรับสปริง/การลุกฮือ

– เหตุใดประชากรผู้พลัดถิ่นจึงไม่ลี้ภัยในประเทศ GGC ที่มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์

– การปรับตัวของผู้ลี้ภัย ความยืดหยุ่นในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19

ปัญหาและความท้าทายระหว่างและหลังการระบาดใหญ่ของโควิด-19

– การเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ในประเด็นการย้ายถิ่นฐานระหว่างและหลังการระบาดใหญ่ของโควิด-19

– ความวิตกกังวลและปัญหาการรับผู้อพยพ การปรับตัว ความยืดหยุ่นของผู้อพยพในประเทศอาหรับในช่วงการปิดตัวของโควิด-19

– การอพยพกลับและความหมายโดยนัยต่อประเทศต้นทางจากการอพยพไปยัง WANA และโดยเฉพาะอย่างยิ่งไปยังประเทศ GCC กำลังเกิดขึ้น

การย้ายถิ่นของอินเดียไปยังกลุ่มประเทศ GCC

– รูปแบบ ปัญหา โอกาส และประเด็นที่เกี่ยวข้องของชาวอินเดียที่เข้าและออกจากกลุ่มประเทศ GCC

– พลวัตของการย้ายกลับ

ทั้งหมดนี้คือหัวข้อของการประชุมนานาชาติว่าด้วยการย้ายถิ่นในภูมิภาคเอเชียตะวันตกและแอฟริกาเหนือ ข้อกังวลระดับโลกและผลกระทบต่ออินเดีย

ทั้งนี้ มีบทสรุปจากสำนักงานประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยซึ่งรายงานถึงการประชุมครั้งนี้เอาไว้ว่า การประชุมนานาชาติสองวันเรื่อง “การย้ายถิ่นฐานและการพลัดถิ่นในภูมิภาคเอเชียตะวันตกและแอฟริกาเหนือ – ข้อกังวลระดับโลกและผลกระทบต่ออินเดีย” ซึ่งจัดโดยภาควิชาเอเชียตะวันตกและแอฟริกาเหนือศึกษา มหาวิทยาลัยมุสลิม Aligarh มีแง่มุมสำคัญว่าด้วยการย้ายถิ่นและการพลัดถิ่นในภูมิภาคข้างต้นจากผู้เข้าร่วมที่น่าสนใจดังนี้

ศาสตราจารย์นาซิม อาลี นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมุสลิมอลิการ์ ได้เน้นย้ำถึงความท้าทายและโอกาสที่เกิดจากการย้ายถิ่นฐานและการพลัดถิ่นในภูมิภาค เขาเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการแก้ปัญหาต้นตอของการย้ายถิ่นและการทำงานเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อผู้พลัดถิ่นในความเจริญเติบโตและในการมีส่วนร่วมต่อการพัฒนาประเทศบ้านเกิดของพวกเขา

รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมุสลิมอลิการ์ ศาสตราจารย์ Mohd Gulrez แสดงความขอบคุณต่อผู้จัดและผู้เข้าร่วมที่ทำให้การประชุมประสบความสำเร็จ เขาเน้นย้ำถึงความสำคัญของการวิจัยเชิงวิชาการและบทบาทของการวิจัยในการกำหนดนโยบายและกลยุทธ์เพื่อจัดการกับความท้าทายที่เกิดจากการย้ายถิ่นฐานและการพลัดถิ่น

ศาสตราจารย์ ดร.จรัญ มะลูลีม (ภาควิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการทำความเข้าใจปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมและการเมืองที่ขับเคลื่อนการย้ายถิ่นฐานในภูมิภาคและผลกระทบต่อประเทศเจ้าภาพและประเทศบ้านเกิด

นอกจากนี้ เขายังเน้นย้ำถึงความสำคัญของการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและการเจรจาเพื่อส่งเสริมความเข้าใจที่ดีขึ้นระหว่างอินเดียกับภูมิภาคเอเชียตะวันตกและแอฟริกาเหนือ

ศาสตราจารย์ Faik Celik (ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย Kocaeli และหัวหน้าแผนกการค้าต่างประเทศ ประเทศตุรกี) ได้กล่าวถึงพลวัตการเปลี่ยนแปลงของการย้ายถิ่นฐานและผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก

ก่อนหน้านี้ Prof. Rashid Aziz Faridi (ภาควิชาภูมิศาสตร์) ผู้ร่วมประชุมได้นำเสนอรายงานการประชุมและให้ภาพรวมของการดำเนินการตั้งแต่ต้นจนจบการประชุม ในขณะที่ Prof. Rakhshanda F. Fazli ผู้จัดการประชุมจากคณะเอเชียตะวันตกและแอฟริกาเหนือเป็นผู้กล่าวปิดและขอบคุณผู้ร่วมประชุมทุกท่าน