ย้อนอดีตความทรงจำ “ทักษิณ ชินวัตร” ประชาธิปไตยแบบไทยๆ ส่วนผสม “ทหาร” และ “การเมือง”

(Photo by PORNCHAI KITTIWONGSAKUL / AFP)

ตอนที่ “ทักษิณ ชินวัตร” ยังเป็นนักธุรกิจ และเกิดเหตุการณ์รัฐประหารรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ในวันที่ 23 กุมภาพันธุ์ 2534 โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ รสช.

“ทักษิณ” เคยให้สัมภาษณ์เรื่อง “ประชาธิปไตย แบบไทยๆ” เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2535

ครั้งนั้นเขายืนยันถึงความเชื่อมั่นว่าระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ นั้นต้องมีส่วนผสมระหว่าง “ประชาธิปไตย” และ “ทหาร” ไม่มีทางที่เมืองไทยจะมี “ประชาธิปไตย 100%” และนี่คือบทสัมภาษณ์ในวันนั้น

“การเมืองไทยควรจะเป็นอย่างไร” 

ทฤษฎีการเมืองมันเป็นทฤษฎีสากลก็จริงอยู่ แต่ไม่สามารถนํามาใช้ได้ 100% ในทุกประเทศ เพราะสิ่งแวดล้อมไม่เหมือนกัน เราจึงพูดตลอดเวลาว่า “ประชาธิปไตย” แบบไทยๆ แต่ทุกคนไม่สามารถนิยามว่าประชาธิปไตย แบบไทยๆ คืออะไร

ผมไปพูดที่จุฬาฯ ว่า “ประชาธิปไตยแบบ ไทยๆ คือประชาธิปไตยที่มีส่วนผสม 2 ส่วน คือ ส่วนผสมของประชาธิปไตยและส่วนผสมของทหาร เพราะบ้านเรามีวิวัฒนาการมาแบบนี้

เราจะ ignore ต่อทหารไม่ได้ แต่ส่วนผสม 2 ส่วนนี้เป็นสารเคมีที่ผสมกันยากมาก แต่จําเป็นต้องอยู่ร่วมกัน ส่วนผสมของมันไม่ใช่ 50 ต่อ 50 แต่มันจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพ

สภาพในวันนี้ (มีนาคม 2535) ต้องยอมรับ ว่าเมื่อประชาธิปไตยเสียท่าแล้ว เราต้อง ยอมรับอํานาจของทหารให้อยู่ในระบอบการ ปกครองนี้ในเปอร์เซ็นต์ที่…

“เกินกว่า 50”

เกินไม่ได้ เพราะคนไทยลิ้มรสประชาธิปไตยกันแล้ว เขาควรจะมีส่วนผสมอยู่ประมาณ 30% แต่ไม่ได้หมายถึงจํานวนรัฐมนตรีนะ หมายถึง อิทธิพลที่ควรจะมีอยู่ประมาณ 30%

ในอนาคตทหารจะเข้ามามีส่วนร่วมในประชาธิปไตยมากขึ้น เขาเข้าใจประชาธิปไตยมากขึ้น ประชาธิปไตยก็อาจเพิ่มส่วนผสมขึ้นมาเป็น 90% ก็ได้ แต่ไม่มีคําว่า 100% ถ้า 100% เมื่อไรมันจะสั้นมาก

นี่ไม่ได้หมายความว่าผมไม่รักประชาธิปไตยนะ แต่เราต้องยอมรับความเป็นจริง เราต้องการไปสู่จุดมุ่งหมาย เราต้องยอมรับอะไร บางอย่างซึ่งมันเป็นไปได้แค่ไหน (จากหนังสือ “ทักษิณ ชินวัตร อัศวินคลื่นลูกที่สาม)

นี่คือ “ความคิด” ของ “ทักษิณ” ในวันที่ยัง เป็นเพียงนักธุรกิจ

ยังไม่มีอํานาจทางการเมือง

ยังไม่ได้เป็น “นายกรัฐมนตรี

(Photo by PORNCHAI KITTIWONGSAKUL / AFP)

15 ปีผ่านไป จากนักธุรกิจ ทักษิณ กระโดดลงสู่สนามการเมือง และก้าวขึ้น มาเป็นนายกรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้งเมื่อปี 2544

ดูเหมือนว่าเขาจะลืมเลือนเรื่องประชาธิปไตยแบบไทยๆ ที่เคยพูดไว้ และเชื่อมั่นว่า “ประชาธิปไตย” พุ่งขึ้นถึงระดับ 100% แล้ว

นั่นคือ ส่วนผสมของ “ทหาร” เป็น 0

ต้องไม่ลืมว่าในช่วงที่ “ทักษิณ” ก้าวขึ้นมา เศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะย่ําแย่และไร้ความหวัง

“ทักษิณ” ดึง “ความเชื่อมั่น” ของประชาชน ให้กลับคืนมาด้วยนโยบายแก้ปัญหาเศรษฐกิจ แบบ “ดูอัลแทร็ก”

เมื่อเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้น กระแสความนิยม ในตัว “ทักษิณ” ก็พุ่งสูง

จนเกิดปรากฏการณ์ “ทักษิณฟีเวอร์” ช่วงเวลานั้น พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ดํารงตําแหน่งผู้บัญชาการทหารบก

แต่ “ทักษิณ” กับ “สุรยุทธ์” ขัดแย้งทาง ความคิดเรื่องการแก้ไขปัญหาชายแดนไทย-พม่า

1 ตุลาคม 2545 “ทักษิณ” ตัดสินใจโยก พล.อ.สุรยุทธ์ ขึ้นไปเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด และแต่งตั้ง พล.อ.สมทัต อัตตะนันทน์ เป็น ผู้บัญชาการทหารบก

แม้จะเป็นการโยกย้ายตําแหน่งสูงสุดของ “ทหารบก”

แต่…ไม่มีปฏิกิริยาจากฝ่ายทหาร

(Photo by PORNCHAI KITTIWONGSAKUL / AFP)

“ทักษิณ” ก้าวรุกไปอีกขั้น ด้วยการเข้ามา “ถ่วงดุล” อำนาจในกองทัพ

เริ่มจากการค้นเพื่อนร่วมรุ่นเตรียมทหาร 10 ให้ขึ้นมาดํารงตําแหน่งคุมกําลังในกองทัพ

ก่อนที่จะดัน พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร แบบ “เขย่งก้าวกระโดด” ขึ้นมาเป็น “ผู้บัญชาการทหารบก ในปี 2546

แม้จะมีเสียงวิจารณ์เรื่อง “นามสกุล” อย่างมาก

แต่ด้วยกระแส “ทักษิณฟีเวอร์” ทําให้เก้าอี้ นายกรัฐมนตรีของเขายังมั่นคง

ปี 2547 ตั้ง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ขึ้น มาเป็น “ผู้บัญชาการทหารบก” แทน พล.อ.ชัยสิทธิ์

เหมือนจะสร้างวัฒนธรรมใหม่ของตําแหน่งสูงสุดของกองทัพบก

คือให้ดํารงตําแหน่งเพียง 1 ปี ไม่ให้มีการสร้างฐานอํานาจในกองทัพ หรืออาจมีเป้าหมายที่ต้องการให้เพื่อนรุ่น เดียวกันมีโอกาสเป็น “ผู้บัญชาการทหารบก” เร็ว

จากนั้น พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ขึ้นมาเป็น “เบอร์ 1” ของกองทัพบกต่อจาก พล.อ.ประวิตร ในวันที่ 1 ตุลาคม 2548

เป็นช่วงเวลาที่บารมีของ “ทักษิณ” เริ่มสั่น คลอน และกระแส “ทักษิณ ออกไป” มาแทน “ทักษิณฟีเวอร์”

ไม่ว่ากระแสจะเริ่มแปรเปลี่ยนอย่างไร แต่เพราะการอยู่ในอํานาจนานถึง 5 ปีทําให้ “ทักษิณ” เกิดความเชื่อมั่นในตัวเองมากเกินไป และลืมนึกถึง “ความเชื่อ” เรื่อง “ประชา ธิปไตยแบบไทยๆ” ของเขาในอดีต

ลืมนึกถึงส่วนผสมของ “ทหาร” ที่ต้องมีใน ระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ

วันที่ 19 กันยายน 2549 ส่วนผสมของ ทหารที่ “ทักษิณ” ต้องการให้เหลือ 0%

ก็กลายมาเป็น 100% อีกครั้ง

ในโฉมหน้าของ “คณะปฏิรูปการ ปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” 

(Photo by SAEED KHAN / AFP)
(Photo by STR / chanel five / AFP)
(Photo by EMMANUEL DUNAND / AFP)