E-DUANG : สภาพ เสื่อมทรุด ทาง”การเมือง” มองผ่าน จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์

ชื่อและชั้นทางการเมืองของ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ในตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กำลังถูกตรวจสอบและท้าทาย ด้วยความร้อนแรง แหลมคม

ไม่เพียงแต่”พลังดูด”จากปัจจัยภายนอก หากแม้กระทั่ง”คำ ถาม”อันดำรงอยู่ภายใน

ไม่จำเป็นต้องนำชื่อและชั้นทางการเมืองไปวางเทียบกับชื่อและขั้นทางการเมืองของ นายควง อภัยวงศ์ ของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรคคนที่ 1 และคนที่ 2

หากไล่เรียงตั้งแต่ยุค พ.อ.ถนัด คอมมันต์ ยุค นายพิชัย รัตต กุล ยุค นายชวน หลีกภัย ยุค นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ยุค นายอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ ก็ก่อให้เกิด”คำถาม”ตามมามากมาย

ยิ่งกว่านั้น เมื่อผ่านสถานการณ์ขัดแย้ง แตกแยก แยกตัวภายหลังการมีมติเข้าร่วมในการขานชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีในเดือนมิถุนายน 2562

ความขัดแย้งยิ่งถูกขยายและบานปลายพลันที่ นายอภิสิทธิ์

เวชชาชีวะ ยื่นใบลาออกจาก ส.ส.และจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับมติพรรค

การเลือกตั้งหัวหน้าพรรคใหม่ได้กลายเป็น”ชนวน”สำคัญ

 

ไม่ว่าจะพิจารณาถึงการแยกตัวออกไปของ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิ ภาค ไม่ว่าจะพิจารณาถึงการแยกตัวออกไปของ นายกรณ์ จาติกวณิช รวมถึงกรณีของ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม

ล้วนมีรากฐานมาจากการต่อสู้เพื่อชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรค กับ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ทั้งสิ้น

ด้านหนึ่ง เท่ากับสะท้อนว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ต้องการขับเคลื่อนพรรคประชาธิปัตย์โดยกลุ่มและพวกของตน

ในอีกด้านหนึ่งจึงเท่ากับปฏิเสธกลุ่มฝ่ายที่อยู่ตรงกันข้าม

จึงไม่น่าแปลกใจที่เกิดสภาพเลือดไหลออกอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น นายนิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ ไม่ว่าจะเป็น นายวิทยาแ พ้วภราดัย และล่าสุดคือกรณี นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี

สะท้อนให้เห็นการแยกแตกตัวออกไปของคนเก่าแก่ที่อยู่กับ

พรรคมาอย่างยาวนานไม่ต่ำกว่า 30-40 ปี

 

กล่าวในสถานการณ์หัวหน้าพรรคทั่วไป เมื่อเข้าสู่สนามการสำรวจของโพลจากหลายสำนัก ฐานะและเกียรติภูมิทางการ เมืองก็แทบจะหลุดโผ

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คะแนนความนิยมในภาคใต้

แม้พรรคประชาธิปัตย์จะยังอยู่อันดับ 1 กระนั้น เมื่อถึงชื่อที่จะได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตี นายจุรินทร์ ลักษณวิศาฎ์ กลับอยู่ ในจุดที่เป็นรองอย่างมาก

แพ้กระทั่ง นส.แพทองธาร ชินวัตร นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์