ผ่าโครงสร้าง การรับมือของภาครัฐ ต่อ “วิกฤตสังคมผู้สูงอายุ” พร้อมหรือไม่ ? อะไรที่ติดขัด ?

ผ่าประเด็น! “การรับมือของรัฐบาลต่อสังคมผู้สูงอายุ” ช่วยเหลือ ดูแล เพียงพอต่อความเป็นอยู่ที่ดีของผู้สูงอายุ แล้วหรือยัง!?

การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ เป็นอีกหนึ่งโจทย์ที่มีทั้งความยากและความท้ายทายสำหรับรัฐบาลในการบริหารประเทศ เพราะจากการสำรวจและประเมินสถานการณ์ของกระทรวงการคลังพบว่า คนสูงอายุส่วนใหญ่ไม่มีเงินเก็บเพียงพอ ที่จะซื้อสภาพความเป็นอยู่ที่ดีให้กับตัวเองหลังเกษียณได้ ดังนั้นแน่นอนว่าหน้าที่ในการแก้ปัญหาและการเข้ามาให้ความช่วยเหลือนั้นก็ไม่ใช่ของใครที่ไหนแต่คือรัฐบาล ผู้จัดเก็บภาษีของประเทศนั่นเอง

เมื่อไม่นานมานี้ นางพัชรี อาระยะกุล ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้ออกมาให้สัมภาษณ์กับ “มติชนสุดสัปดาห์” ถึงประเด็นความเหลื่อมล้ำและการรับมือกับสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทยว่า ในขณะนี้ทางกระทรวงเองมีการจัดทำการวิเคราะห์และหาแนวทางในการแก้ปัญหาในเรื่องนี้อยู่ และมีการพยายามที่จะนำเสนอแนวคิดเหล่านี้ต่อรัฐบาล

ซึ่งในปัจจุบันนี้ ระบบการจัดการและดูแลผู้สูงอายุของรัฐบาลยังเป็นแบบสงเคราะห์อยู่ ไม่ได้มีการกวาดเก็บภาษีรายได้แบบที่ต่างประเทศได้มีการดำเนินการ นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้การความดูแลและช่วยเหลือของรัฐบาล ที่มีต่อผู้สูงอายุยังไม่ดีพอที่จะทำให้พวกเขาเหล่านั้นมีคุณภาพชีวิตที่ดีหลังเกษียณได้

โดย ณ ตอนนี้ สิ่งที่รัฐบาลได้มีการทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบและให้ความช่วยเหลือแก่ผู้สูงอายุ ก็จะเป็นในเรื่องของการจ่ายเบี้ยยังชีพแก่ผู้ที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ซึ่งนี่ถือเป็น “หลักประกันรายได้ยามชรา” ของพวกเขา นอกจากนี้จะมีในส่วนของการให้เงินช่วยเหลือ สนุบสนุน แก่ผู้สูงอายุที่ได้รับความเดือดร้อน เป็นจำนวนเงิน “ 3,000 บาท” โดยเมื่อมีการมายื่นเรื่องแจ้งความประสงค์ในเงินส่วนนี้ ก็จะมีส่วนของกระบวนการสังคมสงเคราะห์เข้าไปทำการตรวจสอบก่อน ว่าสมควรได้รับความช่วยเหลือจริงหรือไม่ ใครควรได้ก่อนหรือหลัง

นอกจากการให้ความช่วยเหลือในเรื่องรายได้แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่รัฐบาลได้ให้ความดูแลคือ เรื่องของที่พักอาศัย ว่ามีความเหมาะสม ปลอดภัย และสะดวกสบายในการใช้งานหรือไม่ เช่น บ้านที่มีบันได มีราวจับหรือไม่ ผู้สูงอายุสามารถนั่งชักโครกได้หรือไม่ เป็นต้น โดยในการเข้าช่วยเหลือนี้จะเป็นในแง่ของการเข้าไปปรับปรุงบ้านให้เหมาะสมกับความเป็นอยู่ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับ “งบประมาณ” ในแต่ละปีด้วย ว่าสามารถช่วยได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งต้องบอกตามตรงว่าการช่วยเหลือนี้ “ไม่สามารถให้ได้ทุกคน”

และส่วนสุดท้ายที่รัฐบาลได้เข้ามามีบทบาทในการช่วยเหลือดูแล คือเรื่องของการกู้เงินสูงสุดจำนวน 30,000 บาทเพื่อไปประกอบอาชีพ ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้สูงอายุแต่ละบุคคล ข้อดีของเงินกู้ตรงนี้คือไม่มีดอกเบี้ย โดยผู้ที่จะมีสิทธิ์เข้ามาติดต่อขอความช่วยเหลือในเงินส่วนนี้ ต้องมีเงื่อนไขคือเป็นผู้ที่ยังมีศักยภาพพอที่จะประกอบอาชีพได้อยู่นั่นเอง

อีกประเด็นหนึ่งที่ทางกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์เห็นความสำคัญ และเห็นสมควรว่าจะต้องมีการผลักดันคือ การนำศักยภาพของผู้สูงอายุมาใช้ในการทำงานสร้างอาชีพและรายได้ให้กับตัวเอง เช่น สามารถให้ผู้สูงอายุทำงานหลังเกษียณอายุได้ตามปกติ แต่จะลดเวลาในการทำงานต่อวันลงเหลือเพียง 2-3 ชั่วโมงต่อวันเป็นต้น และอีกเรื่องที่สำคัญคือต้องทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองนั้น “มีศักดิ์ศรีและมีคุณค่าอยู่” โดยการเตรียมความพร้อมให้แก่พวกเขา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการสร้างนิสัยการออมตั้งแต่ที่ยังมีงานทำอยู่ มีสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตที่ดี ไม่ป่วย ไม่พิการ เพื่อไม่ให้เป็นภาระกับลูกหลานในอนาคต

ซึ่งนอกเหนือจากประเด็นต่างๆเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ ที่รัฐบาลได้เข้ามามีบทบาทแล้วนั้น นางพัชรี ยังกล่าวอีกว่า ช่วงเวลาที่ผ่านมานี้ถือเป็นช่วงวิกฤติของปัญหาผู้สูงอายุ เพราะเนื่องจากมีการระบาดของโควิด 19 เข้ามาเกี่ยวข้อง จึงทำให้มีปัญหาในเรื่องของสุขภาพและความเครียดเพิ่มเข้ามาอีกด้วย

จากข้างต้นที่กล่าวมาจะเห็นว่า แม้ว่าสังคมไทยจะเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบมาเป็นระยะเวลาพอสมควรแล้ว แต่การช่วยเหลือและการจัดการดูแลผู้สูงอายุเหล่านี้ ยังต้องมีการพัฒนาในเรื่องของรัฐสวัสดิการให้ดีกว่าที่เป็นอยู่ เพราะ ณ ปัจจุบันการแก้ปัญหาเหล่านี้ยังไม่สามารถตอบโจทย์ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างที่ควรจะเป็นได้


แต่ที่แน่ ๆ แต่งานนี้ “ดูแลผู้สูงอายุ” ได้เต็มที่! กับ งาน Healthcare ที่ทุกคนรอคอย กลับมาแล้ว!

สุดยอดการตรวจสุขภาพฟรี ครบทุกมิติ ที่งาน ‘Healthcare 2022 จักรวาลผู้สูงวัย’ พบ 14 โรงพยาบาลชั้นนำรัฐ-เอกชน นำโดย โรงพยาบาลจุฬาภรณ์, ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ, คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล, มูลนิธิศูนย์ถันยรักษ์ฯ, โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน), สำนักการแพทย์กรุงเทพมหานคร (โรงพยาบาลตากสิน โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ โรงพยาบาลสิรินธร), โรงพยาบาลแพทย์รังสิต, โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน, โรงพยาบาลหัวเฉียว, คณะการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และโรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง ในเครือ THG

เป็นการกลับมาครั้งสำคัญของอีเวนต์สุขภาพอันดับ 1 ของประเทศหลังผ่อนคลายจากโควิด เพื่อส่งเสริมสุขภาพดีคนไทยห่างไกลโรคอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมทุกโรคร้าย ทั้งมะเร็ง หัวใจ ไวรัสตับอักเสบ อัลไซเมอร์ กระดูก กล้ามเนื้อ โรคตา ฟันและโรคในช่องปาก พร้อมฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ให้กลุ่มเสี่ยง ฟรี!
งาน ‘Healthcare 2022 จักรวาลผู้สูงวัย’ โดยเครือมติชน จัดยิ่งใหญ่ 30 มิถุนายน-3 กรกฎาคม 65 เวลา 10.30-20.00 น. ที่สามย่านมิตรทาวน์ฮอลล์ ชั้น 5 ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์
หนึ่งปีมีครั้งเดียว รับจำนวนจำกัดต่อวัน มาก่อนได้สิทธิ์ตรวจก่อน!
อ่านเพิ่มเติม : https://www.matichon.co.th/publicize/news_3408605