ไม่มีใครชนะในวิกฤตยูเครน/โลกทรรศน์ อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์

อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์

โลกทรรศน์

อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์

 

ไม่มีใครชนะในวิกฤตยูเครน

 

วิกฤตยูเครนเวลานี้และในอนาคตมองได้หลายแง่มุม

มุมมองเก่า ย้ำแต่ภูมิรัฐศาสตร์1 ดุลอำนาจในสงครามเย็นเก่าระหว่างสหรัฐและพันธมิตรยุโรป กับรัสเซีย จีน และอิหร่าน2

มุมมองนี้มีส่วนจริงแต่ก็เพียงบางส่วน แล้วทางออกมีเพียงแค่สงคราม

หากมองอีกมุมหนึ่ง เข้าใจความสัมพันธ์ในยุโรปและไม่มีสงคราม เราจะเห็นความซับซ้อนที่น่าสนใจด้วย

คำถาม

ทั้งรัสเซียและสหรัฐได้ทั้งหมดที่พวกเขาได้จากวิกฤตยูเครนแล้ว ทำไมต้องยืนกรานสู่หนทางสงคราม

คาดการณ์ว่าสงครามในยูเครนยังไม่ได้เริ่มขึ้น แต่มหาอำนาจบรรลุวัตถุประสงค์ของเขาแล้ว ทำไมยังยืนกรานสู่สงคราม สงครามทำลายล้างนองเลือด ทั้งๆ ที่การทูตสามารถจบงานนี้ได้

ผู้แข่งขันสำคัญ รัสเซียและสหรัฐเล่นอย่างเยาะเย้ยด้วยสงครามเย็นเก่า เพื่อให้ได้ผลประโยชน์แห่งชาติ แต่จ่ายโดยยูเครน ยุโรป และความมั่นคงนานาชาติ

 

วลาดิมีร์ ปูติน ผลักดันยูเครนและผู้หนุนหลังชาติตะวันตกไปจนมุมเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เคลื่อนกำลังทหารหลายหมื่นคนเข้าใกล้ชายแดนยูเครน

การเคลื่อนตัวของปูติน นำไปสู่การที่โจ ไบเดน คาดว่ารัสเซียจะบุกยูเครนทันที อาจเป็นกลางกุมภาพันธ์นี้ อังกฤษคาดว่ารัสเซียวางแผนจัดตั้งรัฐบาลหุ่นเชิดที่เมืองคีฟ อันทำให้เกิดวิกฤตซ้ำซ้อน

ความตึงเครียดทะยานขึ้นและลั่นกลองรบ มอสโกและวอชิงตันอ้างได้อีกถึงบทบาทครอบงำดั่งเดิมในยุโรป หลังจากสงสัยและสับสนอยู่หลายปี

ในที่สุด ปูตินทำการคัดค้านอย่างจริงจังต่อตะวันตกเรื่องขยายนาโต้ (NATO) เข้าไปในสหภาพโซเวียตเก่าคือ ยูเครนและจอร์เจีย เป้าหมายของรัสเซียทำเพื่อเอา ยูเครนอยู่นอกนาโต้ หรือความปรารถนาและความสามารถทางทหารของนาโต้ ในทุกพื้นที่ของอดีตสหภาพโซเวียต

และมากกว่านั้น การแทรกแซงของโซเวียตต่อรัฐบาลช่วงสั่นคลอนในคาซัคสถาน คือตัวอย่างที่ชี้ให้เห็น

ในทำนองเดียวกัน ไบเดน พวกสงครามเย็นแนวเสรีนิยม ในที่สุดก็ทำจริงจังกับยุโรปและรัสเซีย เขาใช้ความหวาดระแวงปูติน ทำให้ความลังเลของชาติยุโรปหลบอยู่หลังสหรัฐ

แม้แต่มหาอำนาจชั้นนำยุโรปอย่างฝรั่งเศสและเยอรมนี ที่แสวงหาความเป็นอิสระและแม้แต่เป็นเอกเทศจากกิจการความมั่นคงสหรัฐ ตอนนี้ยังก้าวตามสหรัฐ แม้ไม่กระตือรือร้นนัก

 

และด้วยความสดใส ไบเดนฟื้นคืนชีพนาโต้ นาโต้กลับมาอยู่ภายใต้การนำของสหรัฐครั้งแรก หลังชัยชนะในสงครามเย็นและการพังทลายของกำแพงเบอร์ลิน 1989 และต่อจากนั้นอีกครั้ง หลังการล่มสลายของคาบูลและความพ่ายแพ้ในอัฟกานิสถานปีที่แล้ว

หลังจาก 2 ทศวรรษที่นาโต้หลุดออกจากอาณาบริเวณอำนาจของตน สหรัฐประสบความสำเร็จ ฟื้นคืนชีพพันธมิตรทหารชาติตะวันตก และวางตัวลงบนพื้นที่ ปฏิบัติการดั้งเดิมของตนในยุโรป ภายใต้ข้ออ้างการประกอบสร้างของสงครามเย็นใหม่ (New Cold War)

ดังนั้น ทำไมปูตินและไบเดนยังดื้อรั้นเร่งไปสู่สงคราม หลังจากปรับที่ยืนของตนทั้งระดับชาติและนานาชาติแล้ว และวางท่าทางทางยุทธศาสตร์เข้มแข็ง เหมือนผู้คุ้มครองอย่างเป็นทางการด้านความมั่นคงในยุโรป ในเมื่อความไม่ลงรอยสามารถตกลงกันได้โดยวิถีทางการทูต

สงครามไม่ก่อประโยชน์ต่อสหรัฐและรัสเซีย มันจะขาดการควบคุมอย่างรวดเร็ว

ปูตินอาจไม่มีแผนการรุกรานอย่างเต็มที่ และยึดครองยูเครน ไม่มีกองกำลังหลายหมื่น แต่แม้การจู่โจมเล็กน้อยในยูเครนตะวันออกจะเหนี่ยวไกกิริยาและปฏิกิริยา ด้วยสหรัฐจะแซงก์ชั่นโดยไม่คาดการณ์ความพินาศทางเศรษฐกิจของรัสเซีย

นี่เองคือ ทำไมปูตินจึงแสวงหาความสนับสนุนจากผู้นำแข็งแกร่งจีน สี จิ้น ผิง โดยกำหนดการพบปะกันในโอลิมปิกฤดูหนาวที่ปักกิ่ง ด้วยจีนยืนข้างรัสเซีย รัสเซียสามารถต่อต้านการแซงก์ชั่นของสหรัฐและบอกปัดแรงกดดันจากตะวันตกได้

แต่แม้ชัยชนะตามมาด้วยความหนักหนาในราคามัน รัสเซียที่อ่อนแอ จะบังคับมันไปเป็นพันธมิตรน้อยของจีนในเอเชีย ไม่นานเลย สหราชอาณาจักรชนะสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่เสียจักรวรรดิของตนและกลายเป็นพันธมิตรน้อยของสหรัฐ

จีนเรียกร้องแล้ว ให้ยุโรปสงบ และทำการขัดขวางการขยายตัวของนาโต้สู่พรมแดนรัสเซีย แต่จีนยังมองอำนาจผลประโยชน์ความสำเร็จของรัสเซียต้านสหรัฐในยูเครน จะเป็นหนทางความสำเร็จของจีนเองที่จะต้านสหรัฐในกรณีไต้หวันและทั่วเอเชีย

ยังมีอีกเหตุผลหนึ่ง ทำไมไบเดนจึงควรเลี่ยงสงครามในยูเครน สงครามซึ่งทำให้เกิดความกล้าหาญแก่รัสเซียและเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่จีน สงครามนำมาสู่การร่วมมือกันระหว่างปักกิ่งและมอสโก ไม่เพียงสร้างความรำคาญระดับภูมิภาค แต่ระดับโลก สหรัฐ และทั้งหมดผูกมัดไปสู่การทำลายระเบียบระหว่างประเทศ

ตรงกันข้าม การทูตคือการเดินในสวนที่มียาสารพัด มอบหน้าที่ให้กับยุโรปพยายามและเป็นสะพานเชื่อมความแตกต่างระหว่างสหรัฐและรัสเซีย

 

มุมมอง ระบบความสัมพันธ์ในยุโรป

ความจริง ชาติมหาอำนาจยุโรปไม่มั่นใจต่อการทะยานขึ้นที่จะทำให้พวกเขาสูญเสียทั้งหมดจากสงครามที่เกิดขึ้นในยุโรป 2 ทศวรรษที่ผ่านมา เยอรมนีและฝรั่งเศสแสดงความกล้าหาญคัดค้านการรุกรานและยึดครองอิรักปี 2003 ที่เปลี่ยนไปเป็นความพินาศ ไม่เพียงต่ออิรักและตะวันออกกลาง แต่ความพินาศแก่สหรัฐและยุโรปด้วย

เยอรมนีปฏิเสธส่งอาวุธไปยูเครน สร้างความงุนงงและโกรธแค้นต่อชาติพันธมิตร แต่ดูจากประวัติศาสตร์และความซับซ้อนแล้วเข้าใจได้

ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 รัสเซียบุกเข้าไปบริเวณนั้น มีคนตายราว 30,000 คน นาซีฆ่าคนเป็นล้านในยูเครนและรัสเซีย จนเรียกว่า ความน่าสะพรึงกลัวศตวรรษที่ 20 ซึ่งมีอิทธิพลต่อนโยบายต่างประเทศเยอรมนีในปัจจุบัน เยอรมนีคือชาติของสันติที่สุด3

สมัยนายกรัฐมนตรี Angela Markel นายกฯ แมร์เคิลเชื่อเรื่องการเจรจาการทูตเป็นหนทางดีที่สุดในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง ไม่ส่งอาวุธไปบริเวณขัดแย้ง ความสัมพันธ์เยอรมนีกับรัสเซียไม่เหมือนชาติตะวันตกอื่นๆ คนเยอรมันหลายพันรายทำธุรกิจที่นั่น แมร์เคิลเติบโตหลังม่านเหล็ก เรียนรัสเซียในโรงเรียน สามารถพูดสื่อสารกับปูตินสม่ำเสมอ เมื่อรัฐมนตรีคนอื่นๆ สื่อสารไม่ได้

การไม่ส่งอาวุธไปบริเวณขัดแย้ง ทดสอบรัฐบาลผสมของเยอรมนีด้วย

รัฐบาลผสมพรรค Social Democrat, Green และ Free Democrats นายกรัฐมนตรีคนใหม่ Olaf Scholz ซึ่งมีแนวทางสายกลางมาก ช่วงวิกฤตยูเครน ด้านรักษาพยาบาลทหารที่บาดเจ็บและส่งคนไปช่วย

รัฐมนตรีต่างประเทศจากพรรค Green นาง Annalena Baerbock ส่งความช่วยเหลือทางการเงินไป เธอเชื่อว่ามีประสิทธิภาพกว่าส่งอาวุธ ยังมีประเด็นท่อส่งก๊าซธรรมชาติ 2 ท่อเข้ายุโรปผ่านเยอรมนี

นายกรัฐมนตรี Scholz ชี้ว่า หากรัสเซียบุกยูเครน จะทำทุกวิถีทางนำเข้าสู่โต๊ะเจรจา รวมทั้งเรื่องท่อก๊าซด้วย

 

เส้นทางสันติ

เป็นที่แน่แท้ มหาอำนาจยุโรปสามารถยุติความแรงขึ้นโดยวีโต้ การขยายนาโต้ไปทางตะวันออก นี่ช่างง่ายดาย

ปูตินและไบเดนได้แสดงลัทธิเสี่ยงภัยสงครามอย่างชาญฉลาด ทั้งสองคนไม่ควรปล่อยให้สงครามอยู่เหนือการควบคุม เพราะความภูมิใจส่วนตัวและของชาติ ยุทธศาสตร์ร่วมทำให้สงบ เพื่อเลี่ยงอีกความวิบัติจากสงครามในยุโรปและวิกฤตการณ์โลก

สันติภาพยูเครน

1Steven Rosenberg, “Ukraine Crisis : Vladimir Putin’s geopolitical jigsaw”, BBC 29 January 2022Ukraine crisis : Vladimir Putin’s geopolitical jigsaw – BBC News .

2Tucker Carlson. “Again Ask Why Would Side With Ukraine Over Russia” Business Insider, 26 January 2022. Tucker Carlson Again Asks Why US Would Side With Ukraine Over Russia (businessinsider.com)

3Jenny Hill, “Why Germany isn’t sending weapons to Ukraine” BBC 29 January 2022 Why Germany isn’t sending weapons to Ukraine – BBC News